การบริหารคน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารงาน

ท่านผู้ฟังคะ  การบริหารคน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารงาน ที่ระดับบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในฐานะ   หัวหน้างานควรต้องสนใจ   ว่า การนำหลักการบริหาร 14 ประการของ Henri Fayol มาประยุกต์ใช้ เป็นดีที่สุด

ประการที่ หลักอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ(Authority and Responsibility) 

ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ และอำนาจหน้าที่ควรจะมีควบคู่กับความรับผิดชอบ และเมื่อผู้ใดได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบต่องานใดงานหนึ่ง ผู้นั้นก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่เพียงพอที่จะใช้ปฏิบัติงานนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้อย่างดี

ประการที่ 2 หลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว(Unity of Command) ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนควรได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาการเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดความสับสนในคำสั่งที่เกิดขึ้น

ประการที่  3 หลักของการไปในทิศทางเดียวกัน (Unity of Direct ion ) กิจกรรมของกลุ่มควรมีเป้าหมายเดียวกัน และจะต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกันตามแผนงานที่กำหนด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบรรลุเป้าหมายขององค์การในที่สุด

 ประการที่   4  หลักสายการบังคับบัญชา (Scalar Chain) การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจากระดับสูงสุดมายังระดับต่ำสุดในองค์การ ที่จะเอื้ออำนวยให้การบังคับบัญชา เป็นไปตามหลักของการมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว และช่วยให้เกิดระเบียบ ในการติดต่อสื่อสารในองค์การอีกด้วย

 ประการที่  5 หลักของการแบ่งงานกันทำ (Division of Work or Specialization) การแบ่งงานกันตามถนัด เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของบุคลากรในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามหลักเศรษฐศาสตร์

ประการที่ 6 หลักความมีระเบียบวินัย(Discipline) การยอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงของสมาชิกภายในองค์การ โดยมุ่งให้เกิดความเคารพ เชื่อฟังและทำงานตามหน้าที่ด้วยความตั้งใจ โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องมีความยุติธรรมและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

ประการที่  7 หลักประโยชน์ของส่วนบุคคลเป็นรองจากประโยชน์ของส่วนรวม (Subordination of the Individual Interest to General Interest ) เป้าหมาย ผลประโยชน์ และส่วนได้เสียของส่วนรวมหรือ ขององค์การ จะต้องมีความสำคัญเหนือกว่าเป้าหมายส่วนบุคคล หรือของส่วนย่อยต่างๆ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหาร คนงาน และกลุ่มต่างๆ แต่ทั้งนั้นต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่างฝ่ายบริหาร คนงาน และกลุ่มต่างๆ โดยยึดถือหลักความเป็นธรรม

ประการที่ 8 หลักของการให้ผลตอบแทน(Remuneration) ต้องมีความยุติธรรมและให้เกิดความพอใจ และประโยชน์มากที่สุด แก่ทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายลูกจ้าง และนายจ้าง ให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคม

ประการที่ 9 หลักของการรวมอำนาจ ( Centralization) การจัดการจะต้องมีการรวมอำนาจ ไว้ที่จุดกลางเพื่อที่จะควบคุมส่วนต่างๆขององค์การไว้ได้เสมอ แต่ต้องมีความสมดุลระหว่างการรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะทำได้

ประการที่ 10 หลักความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Order) การจัดระเบียบสำหรับการทำงานของคนงานในองค์การนั้น ผู้บริหารจำต้องกำหนดลักษณะและขอบเขตของเขตงานให้ถูกต้อง ชัดเจน พร้อมทั้งระบุถึงความสัมพันธ์ต่องานอื่น รวมถึงการจัดหาที่ตั้งของเครื่องมือและวัสดุต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงาน

ประการที่  11 หลักความเสมอภาค (Equity) ผู้บริหารต้องมีเมตตาและให้ความยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายภายในองค์การ เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความจงรักภักดีและอุทิศตนในการทำงานให้กับองค์การ

ประการที่ 12 หลักความมั่นคงในการทำงาน (Stability of Tenure) การที่คนเข้าออกมาก ย่อมเป็นสาเหตุของการสิ้นเปลืองและทำให้การจัดการงานไม่เกิดประสิทธิภาพ ดังนั้น ทั้งผู้บริหารและคนงานจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง เพื่อเรียนรู้งานและปัญหาต่างๆ ขององค์การ

ประการที่ 13 หลักความริเริ่ม(Imitative) การเปิดโอกาสให้คนงานภายในองค์การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา จะเป็นพลังอันสำคัญที่จะทำให้องค์การเข้มแข็ง เพื่อปฏิบัติตาม แผนงานและเป้าหมายต่างๆ ให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ประการที่ 14 หลักความสามัคคี (Esprit de Corps) การเน้นถึงความจำเป็นที่ทุกคนในองค์การจะต้องทำงานเป็นกลุ่มที่เป็นหนึ่งอันเดียวกันเพื่อจะให้เกิดการบรรลุเป้าหมายขององค์การเป็นอย่างดีภายในทิศทางเดียวกัน

หลักการบริหารทั้ง 14  ประการดังกล่าว จะเห็นว่า เป็นหลักการที่ผู้บริหารเคยปฏิบัติมาก่อน แต่ต้องยอมรับว่า Fayol เป็นบุคคลแรกที่ประมวลหลักการบริหารเหล่านี้ขึ้นมาอย่างเป็นระบบ จนทำให้การบริหารสามารถถ่ายทอดเรียนรู้ต่อกันได้ และทำให้การบริหารเป็นวิชาชีพ (professional) อย่างหนึ่งด้วย การนำหลักการบริหาร 14 ประการมาใช้ในการบริหารคน เชื่อว่า การบริหารงานยอมบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Comments are closed.