ผู้นำมักจะเป็นแบบอย่าง (Role Model)

ผู้นำมักจะเป็นแบบอย่าง (Role Model)ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ความจริงจังกับงานของผู้นำย่อมทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่อาจปล่อยตัวตามสบายได้ซึ่งมักก่อให้เกิดความเครียดให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ถ้าหากผู้นำคนไหนไม่มีความจริงจัง โลเลเรื่อยเปื่อย องค์กรนั้นย่อมปั่นป่วน คนดีจะเบื่อหน่าย คนเลวจะสบายตัวไม่ต้องกลัวเจ้านายว่า อย่างไรก็ตามความจริงจังที่แสดงออกอย่างพอเหมาะจะกระตุ้นลูกน้องได้ หากมากไปลูกน้องเครียด บางคนถึงกับถอดใจก็มี บางครั้งผู้นำต้องมี อารมณ์ขัน(Sense of Humor) บ้าง เพื่อผ่อนคลายบรรยากาศที่เคร่งเครียดเกินไปในที่ประชุม แต่พบว่าบ่อยครั้งที่ลูกน้องกลับลำความรู้สึกไม่ทันขณะที่กำลังเครียดในที่ประชุม การพูดตลกของผู้นำเลยตลกอยู่คนเดียว ลูกน้องนั่งหน้าบึ้งอยู่รับมุขไม่ทัน บางทีไปนึกเอาได้ว่าเจ้านายพูดตลกหลังเลิกประชุม หรือที่บ้านเลยก็มี
การมีความคิดสร้างสรรค์(Initiative)            การคิดสิ่งใหม่ๆ ไม่ยึดติดรูปแบบเดิมๆ กล้าเสนอความคิดที่ไม่เหมือนคนอื่น ถือเป็นคุณลักษณะที่ดีของผู้นำ ที่ต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร ซึ่งสังคมวัฒนธรรมไทยโดยทั่วไปเลี้ยงลูกให้อยู่ในกรอบมาตั้งแต่เด็ก ให้การปกป้องตลอดเวลา ข้อดีคือเด็กมีความสุข อบอุ่นภายใต้โลกที่พ่อแม่สร้างให้ซึ่งบางครั้งไม่เป็นไปตามสภาพจริง ทำให้เติบใหญ่มาเป็นคนไม่กล้าคิดในสิ่งที่ต่างจากที่เคยเห็นเคยเป็น เรามักพบว่าองค์กรส่วนใหญ่มีแต่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่น่ารัก ไม่ค่อยพูดจาออกความเห็นโต้แย้งใครไม่ค่อยเป็น ยกเว้นมีความถนัดเกาะกลุ่มนินทากันนอกห้อง ชอบการรับคำสั่งที่ชัดเจน เพราะไม่ต้องรับผิดชอบกับการต้องคิดเอง ความคิดสร้างสรรค์นี้ ต้องฝึกกันมาตั้งแต่การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ผู้ใหญ่ฝึกก็ได้แต่ซึมซับยาก           การที่คนเราจะทำอะไรอย่างหนึ่งด้วยความมุ่งมั่น เพียรพยายาม และทุ่มเท การกระทำนั้นต้องเกิดจากความศรัทธาเชื่อมั่นต่อสิ่งที่กระทำ ผู้นำก็เช่นกัน ความศัทธาและเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำในการทำการใดๆ ที่ตนมุ่งหวังมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความศรัทธานี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนภายในที่ไม่มีหมดและยังบันดาล ให้มีเกิดความมุมานะ ความเชื่อมั่น ความพึงพอใจแห่งตนและการทำงานอย่างมีความสุข ผู้นำที่ดี ต้องให้ความสำคัญในการสร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นให้เกิดกับลูกน้องให้ได้ด้วย
           ความรัก เป็นตัวสะท้อนที่ละเอียดอ่อนของความเป็นมนุษย์ มันเป็นอารมณ์ที่ลึกซึ้งที่บุคคลแสดงต่อกันเป็นจุดก่อเกิดความผูกพัน สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์ ความรักต่อตนเอง และผู้อื่นอย่างมีดุลยภาพถือเป็นความรักที่ถูกต้อง โดยรู้จักการให้และการรับ บางคนถูกเลี้ยงมาในสภาพแวดล้อมที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ในวัยเด็กด้วยเหตุไดก็ตาม ทำให้เกิดภาวะกระหายรัก(Love Hunger) เมื่อเติบใหญ่ขึ้นมามักจะรักใครไม่เป็นรวมไปถึงรักตัวเองก็ไม่เป็นด้วย ความกระหายรักมากมักทำให้ตีความหมายของ ความรักผิดไปจากความเป็นจริง ทำให้มองเน้นไปในด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม เพราะสามารถเข้าใจในสิ่งที่เห็นได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องไปหาความหมายให้เสียเวลา เปรียบได้เหมือนคนที่หิวโหย เมื่อเห็นอะไรที่มองคล้ายกับอาหารก็จะรีบตะกรุมตะกรามจับเข้าปากทันทีโดยไม่มีการใคร่ครวญใดๆ ดังนั้นคนเหล่านี้จะมีความสุขพอใจในการได้รับ วัตถุ สิ่งของ กำนัล คำชม ป้อยอ โดยไม่มีการไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งและด่วนสรุป เหมาเข้าข้างตัวเองทันที่ว่าเขารักและศรัทธาตน จนกลายเป็น ความหลงมากกว่า บุคคลเช่นนี้มักไม่สามารถเป็นผู้นำที่ประสพความสำเร็จได้ เพราะหากได้เป็นผู้นำ คนประเภทนี้มักจะยอมสูญเสียทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งการชื่นชม สิ่งของกำนัลหน้าตาชื่อเสียง(จอมปลอม)ที่มีผู้หยิบยื่นให้ ในที่สุดจะถูกหลอกจากบุคคลรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัวผู้นำที่ดีต้องรู้ที่จะรักตนเองและรักผู้อื่นอย่างมีดุลยภาพและใช้ความรัก บวกกับความจริงใจในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารลูกน้องอย่างเหมาะสมกับแต่ละสถาณการณ์           การเป็นผู้บริหาร ต้องมีความรู้อยู่สองอย่าง คือความรู้ในเนื้อหางาน(Techniques) และความรู้ในวิธีบริหารจัดการ(Management) ความเป็นผู้รู้เทคนิคในการบริหารถือเป็นศาสตร์ ที่สำคัญของผู้นำที่ต้องมีเพิ่มเติมจากความรู้ในวิชาชีพ บางครั้งองค์กรอาจสูญเสียผู้ทำงานที่ดีแต่ได้ผู้บริหารที่ไม่ได้เรื่องเพราะการมอบหมายงานที่ผู้นำมองผิดมุมไปเอาคนทำงานดีแต่ขาดทักษะบริหารมามาเป็นผู้บริหาร       ผู้นำต้องมีการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ ให้กับลูกน้องเพื่อการทำงานที่ถูกต้อง และมีประสิทธิผล ความเป็นครูของผู้นำเกิดจากการที่ผู้นำต้องอาศัยศักยภาพของลูกน้อง ในการทำงานให้ได้ผล ดังนั้น การสร้างคนให้มีความรู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความสำเร็จ ให้กับองค์กรในระยะยาว ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจึงต้องมีบทบาทเป็นทั้งครูและผู้ชี้แนะ (Teacher & Coach)ได้           ประสบการณ์ คือความรู้ที่ได้จากการกระทำของจริงที่ผ่านมา คนที่มีประสบการณ์มักเป็นผู้มองโลกได้อย่างลึกซึ้งและกว้างไกล เป็นปัจจัยก่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของผู้คนมากมาย แม้ว่าคนเหล่านั้นไม่ได้จบการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาใดๆมาก็ตามมันเป็นการเรียนรู้จากของจริงผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก แล้วสั่งสมเป็นความรู้ในบุคคลประสบการณ์บางครั้งอาจเรียนลัดได้จากการอ่าน ค้นคว้า สังเกต ของผู้อื่นแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง           กายและใจทั้งสองส่วนก่อเกิดเป็นตัวตนของบุคคลที่สมบูรณ์แบบ ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ไม่อาจสูญเสียส่วนไดส่วนหนึ่งไปได้ การรักษากายให้เข้มแข็ง และใจให้กล้าแกร่งของผู้นำเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำพาองค์กร ลูกน้องให้เดินตาม ผู้นำกายขี้โรค ใจขี้ขลาดย่อมไม่อาจนำพาผู้ใดได้    ผู้นำที่ดี ต้องเป็นคนแรกขององค์กรที่แสดงความเสียสละ เพื่อสร้างจิตสำนึกและเป็นแบบอย่างให้กับลูกน้อง ไม่มีลูกน้องในองค์กรไหนจะยอมเสียสละเพื่อเจ้านายที่เห็นแก่ตัว ความเสียสละยังหมายถึงเมื่อใดที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมา จะแสดงความรับผิดในสิ่งที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของผู้นำอย่างกล้าหาญ โดยไม่มุ่งเพียงกล่าวโทษแต่ลูกน้อง   ขณะเดียวกัน หากเมื่อไดองค์กรประสพผลสำเร็จ การสรรเสริญยกย่องคุณงามดี ความชอบให้แก่ลูกน้องโดยไม่แย่งเอามาเป็นของตนเองแต่ผู้เดียว

Comments are closed.