ดร. ซุนยัดเซ็น นักปฏิวัติผู้ช่วยชีวิตประเทศจีน'

ดิฉันมีเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ของการบริหารจัดการของ ดร. ซุนยัดเซ็น บุรุษผู้ตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางชีวิตจาก 'นายแพทย์ผู้รักษาชีวิตคน' มาเป็น 'นักปฏิวัติผู้ช่วยชีวิตประเทศจีน' ท่านผู้นี้คงเป็นบุคคลเพียงคนเดียว ที่ทั้งชาวจีนทั้งสองฝั่ง กล่าวได้เต็มปากว่า หากไม่มีเขาก็อาจไม่มีประเทศจีนในวันนี้ มาเล่าให้ฟังค่ะ
ดร. ซุน ยัต เซน (Sun Yat Sen)หัวหน้าพรรคก๊ก มิน ตั๋ง เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน คริตส์ศักราช 1866 ที่เมืองเซียงซัน กวางเจา มณฑลกวางตุ้ง เป็นผู้นำในการล้มล้างสถาบันกษัตริยและการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐ ในแบบฉบับของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวัยเด็ก ดร.ซุน ยัต เซน ศึกษาอักษรศาสตร์ของจีนตามแนวทางขงจื๊อ สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรคัมภีร์โบราณ เมื่ออายุ 12 ปีได้ติดตามมารดาเดินทางไปเกาะฮาวาย ได้พบเห็นเรือกลไฟ และความกว้างใหญ่ไพศาลของมหาสมุทร ก่อเกิดศรัทธาต่อวิชาการตะวันตก มุ่งมั่นที่จะศึกษาให้เข้าใจในสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆของโลก และเข้าศึกษาในเมืองฮอนโนลูลู สถาบันการศึกษาสูงสุดของฮาวายในขณะนั้น ตั้งใจว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนี้แล้ว จะเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอมริกาเ แต่พี่ชายสังเกตเห็นว่า ซุนยัตเซ็นเริ่มสนใจธรรมะของพระเยซู เกรงว่าจะเข้ารีต ครอบครัวจะตำหนิเอาได้ที่ดูแลน้องชายไม่ดี จึงจัดแจงส่งเค้ากลับเมืองจีนในวัย 18 ปี
แต่เมื่อกลับมาบ้านครอบครัวรับรู้ก็ไม่ได้ตำหนิประการใด ซุนยัตเซน พักอยู่ที่บ้านหลายเดือนก่อนไปศึกษาภาษาอังกฤษต่อที่ฮ่องกง ต่อมาครอบครัวมีปัญหาจึงลาออกเดินทางไปฮาวายอีกครั้ง เขาหยุดเรียนภาษาอังกฤษหันไปค้นคว้าคัมภีร์และประวัติศาสตร์โบราณของจีน
เมื่ออายุ 21 ปี ซุนยัตเซนกลับ บ้านเกิด ศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่ที่โรงพยาบาลกวางตุ้ง กับหมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน และย้ายเข้าวิทยาลัยแพทย์ฮ่องกง 5 ปี จบการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมในวัย 26 ปี ดร.ซุน ยัต เซ็น ตื่นตัวกระตือรือร้นสนใจสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา วิชาความรู้ก็มีกว้างขวางรอบด้าน ศาสตร์ของจีนโบราณเขานิยมชมชอบวรรณคดีของยุค 3 จักรพรรดิ ส่วนศาสตร์ตะวันตก เขาชื่นชอบทฤษฎีของชาร์ลส์ ดาร์วิน ตำราด้านธรรมชาติ การเมือง การปกครอง ก็อ่านอยู่ประจำ ด้านศาสนาเขานับถือพระเยซู ส่วนบุคคลที่เทิดทูนคือพระเจ้าทัง พระเจ้าอู่ของจีน และประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน ของสหรัฐอเมริกา
ปีคริสต์ศักราช 1909 ดร.ซุน ยัดเซน ในฐานะหัวหน้าพรรคก๊ก มิน ตั๋ง นำล้มล้างสถาบันกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปฏิวัติโค่นราชวงศ์ชิงของชาวแมนจู แล้วสถาปนาการปกครองระบอบสาธารณรัฐ จัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยขึ้นที่กรุงนานกิง (เมืองหลวงในขณะนั้น) ตั้งนายหยวน ซี ข่าย เป็นประธานาธิบดีคนแรก เพื่อหลีกทางให้หยวนซื่อข่ายที่ต้องการจะขึ้นมาเป็นผู้นำแทน ไม่เช่นนั้นจะเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น และตัวเค้าเองได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 2 ระหว่าง คริสต์ศักราช 1921-1925
ระหว่างการปกครองครองจีน ของดร. ซุน ยัต เซน มีแนวคิดประชาธิปไตย ลัทธิไตรประชา นำทางประชาชนให้ยึดหลัก เอกราช หลักอํานาจอธิปไตย หลักความยุติธรรมในการครองชีพ แต่เวลาของเขาน้อย มีบทบาทปกครองจีนในช่วงสั้นๆ ก่อนประเทศเข้าสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นสาธารณรัฐประชาชนที่นำโดยประธานเหมาเจ๋อตุง ดร.ซุน ยัต เซน เป็นผู้นำของสมาคมมสัมพันธมิตรแห่งประเทศจีน มีจุดประสงค์ที่จะให้ประชาชนชาวจีนได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และต้องการที่จะสถาปนาจีนเป็นสาธารณรัฐ มีแนวคิดค่อนไปทางสังคมนิยม เน้นที่จะให้ความสำคัญกับคนจน ชนชั้นใช้แรงงาน แต่ไม่แรงถึงคอมมิวนิสต์แบบลัทธิเหมา
ดร. ซุน ยัตเซน ถึงแก่อนิจกรรมวันที่ 12 มีนาคม คริส์ตศักราช1925 ที่กรุงปักกิ่ง ด้วยโรคมะเร็งตับ ด้วยอายุ 59 ปี ก่อนเสียชีวิต ดร.ซุนได้ทิ้งคำสั่งเสียไว้ว่า
“ข้าพเจ้าดำเนินงานปฏิวัติ ประชาราษฎร์มาเป็นเวลาถึง 40 ปี มีเป้าหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งอิสรภาพและความเสมอภาคของประเทศจีน ด้วยประสบการณ์เป็นเวลา 40 ปี จึงรู้ซึ้งว่า การจะบรรลุเป้าหมายนี้ จะต้องปลุกมวลชนให้ลุกขึ้น และร่วมมือกับประชาชาติที่ให้ความเสมอภาคแก่เรา ร่วมกันบากบั่นต่อสู้ บัดนี้ การปฏิวัติยังไม่ประสพความสำเร็จ ขอให้สหายทั้งหลายจงปฏิบัติตามบทประพันธ์ แผนการสร้างชาติ หลักนโยบายยสร้างชาติ และ แถลงการณ์การประชุมสมัชชาผู้แทนทั่วประเทศครั้งที่ 1 ของข้าพเจ้าบากบั่นต่อไป เพื่อให้บรรลุผลถึงที่สุด เมื่อเร็วๆนี้ได้เสนอ ให้เปิดการประชุมสภาประชาราษฎร์และยกเลิกสนธิสัญญาอันไม่เสมอภาค ซึ่งสมควรให้สำเร็จลุล่วงไปในเวลาสั้นที่สุดนี่เป็นยอดปรารถนาของข้าพเจ้า”
ดร.ซุน ยัด เซน ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจ ในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยประเทศชาติ และประชาชนชาวจีน ให้รอดพ้นจากการถูกกดขี่ขูดรีดจากชนชั้นปกครอง และจักรวรรดินิยมตะวันตก ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ และเพียรพยายามอย่างไม่ย่อท้อ จนได้รับชัยชนะในที่สุดและกลายเป็นนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่แห่งแผ่นดินจีน

Comments are closed.