หยิบมาเล่า....การประเมินคุณภาพรอบสาม

ในแวดวงการศึกษาทุกท่านคงรู้กันเป็นอย่างดีว่า การประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งมีทั้งการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอก แต่ในคราวนี้ดิฉันขอนำเรื่องราวในแวดวงการประกันชคุณภาพการศึกษาภายนอก มาเล่าสู่กันฟังใน KM Blogนี้นะคะ

การประกันคุณภาพภายนอก ซึ่ง สมศ.ได้ดำเนินการประเมินภายนอกรอบแรก(พ.ศ. 2544-2548) และประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ. 2549-2553) เสร็จสิ้นไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินคุณภาพรอบสาม(พ.ศ. 2554-2558) โดยในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ในระดับอุดมศึกษานี้ สมศ.ได้กำหนดตัวบ่งชี้ จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ ซึ่งครอบคลุมทั้ง 4 มาตรฐานตามที่กฎกระทรวงฯกำหนด โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มตัวบ่งชี้ ได้แก่กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน 15 ตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ 2 ตัวบ่งชี้และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม 1 ตัวบ่งชี้ ทั้งนี้ในส่วนของมทร.พระนคร ได้มีการดำเนินการในการเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพรอบสาม ซึ่งจะมีในปีการศึกษา 2556 นี้

ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม  การรับรองมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา  ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้การรับรองมาตรฐานสถานศึกษา ดังนี้

๑.      การรับรองมาตรฐานระดับอุดมศึกษา  การรับรองมาตรฐานของสถานศึกษารอบสาม

ระดับอุดมศึกษา  จะพิจารณาข้อมูลจากการประเมินตัวบ่งชี้ที่เชื่อมโยงไปสู่การรับรองมาตรฐานของสถานศึกษา ดังนี้

๑.๑ การประเมินระดับตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้แต่ละตัวจะมีคะแนนต่ำสุดคือ ๐ และสูงสุดคือ ๕

๑.๒ การประเมินกลุ่มตัวบ่งชี้  สมศ. กำหนดเกณฑ์ไว้ ๒ ข้อ คือ

๑) คะแนนเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ที่ ๑ – ๑๑  มีค่าตั้งแต่ ๓.๕๑ ขึ้นไป

๒) คะแนนเฉลี่ยของตัวบ่งชี้ทุกตัวรวมกัน มีค่าตั้งแต่ ๓.๕๑ ขึ้นไป  โดยใช้ทศนิยม ๒

ตำแหน่ง

๑.๓ ความหมายของระดับคุณภาพ  ค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวบ่งชี้หรือในภาพรวม

สามารถแปลความหมายของระดับคุณภาพ ดังนี้

ช่วงคะแนน                                             ระดับคุณภาพ

๔.๕๑ – ๕.๐๐                                               ดีมาก

๓.๕๑ – ๔.๕๐                                                  ดี

๒.๕๑ – ๓.๕๐                                               พอใช้

๑.๕๑ – ๒.๕๐                                            ต้องปรับปรุง

๐.๐๐ – ๑.๕๐                                        ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

๒.  การรับรองมาตรฐานระดับคณะ/เทียบเท่า  ใช้เกณฑ์ ๒ ข้อ ในข้อ ๑.๒ และแปลความหมายตามข้อ ๑.๓

๓.  การรับรองมาตรฐานระดับสถาบัน  สถาบันจะได้การรับรองเมื่อ

๓.๑ ผลประเมินระดับสถาบันได้คะแนนเฉลี่ยเป็นไปตามเกณฑ์ ๒ ข้อ ในข้อ ๑.๒

๓.๒ คะแนนผลการประเมินระดับคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่าเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้                       ๓.๒.๑ สถาบันที่มีจำนวน ๑ – ๓ คณะทุกคณะต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

๓.๒.๒ สถาบันที่มีจำนวน ๔ – ๙ คณะ มีคณะที่มีผลการประเมินคุณภาพในระดับ

พอใช้ได้เพียง ๑ คณะเท่านั้น

๓.๒.๓ สถาบันที่มีคณะหรือหน่วยงานเทียบเท่าจำนวนตั้งแต่ ๑๐ คณะขึ้นไป มีคณะ

เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่ร้อยละ ๙๐ ของจำนวนคณะทั้งหมด

หมายเหตุ :   หากสถาบันได้รับการรับรองมาตรฐาน แต่มีคณะที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานตามเกณฑ์

ข้างต้น ให้เป็นการรับรองมาตรฐานสถาบันแบบมีเงื่อนไข

โดยจากการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม  จำนวน ๔๗ แห่ง (จำนวน ๓๙๗ คณะ) พบว่า สถาบันอุดมศึกษาได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสถาบันจำนวน ๔๕ แห่ง (ร้อยละ ๙๕.๗๔) และมีสถาบันที่ได้รับการรับรองแบบมีเงื่อนไขจำนวน ๒ แห่ง (ร้อยละ ๔.๒๖) โดยสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานมากที่สุด คือ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎและสถาบันเฉพาะทาง ร้อยละ ๑๐๐ รองลงมา คือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ร้อยละ ๘๘.๒๔ ตามลำดับ  และสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการรับรองแบบมีเงื่อนไข คือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนร้อยละ ๑๑.๗๖ รายละเอียดดังนี้

 

 

ลำดับ

 

สังกัด

จำนวนทั้งหมด

(แห่ง)

รับรอง

รับรองแบบมีเงื่อนไข

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมหาวิทยาลัยราชภัฎ

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สถาบันเฉพาะทาง

 

๒๑

๑๗

๒๑

๑๕

๑๐๐.๐๐

๑๐๐.๐๐

๑๐๐.๐๐

๘๘.๒๔

๑๐๐.๐๐

๐.๐๐

๐.๐๐

๐.๐๐

๑๑.๗๖

๐.๐๐

  รวม

๔๗

๔๕

๙๕.๗๔

๔.๒๖

จากผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยรายตัวบ่งชี้จำแนกตามประเภทสถาบันพบว่า สถาบันอุดมศึกษา

ส่วนใหญ่  มีคแนนรายตัวบ่งชี้อยู่ในระดับคุณภาพดีและดีมาก  ทั้งนี้เมื่อพิจารณาคะแนนรายตัวบ่งชี้ที่ ๓ ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ  พบว่า อยู่ในระดับพอใช้ ต่างจากสถาบันอื่น คือ  มหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎ  และมหาวิทยาลัยเอกชน  ที่อยู่ระดับดี  ส่วนตัวบ่งชี้ที่ ๔ , ๕ , ๖ , ๗ และ ๑๔ ของสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ  และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน  พบว่า มีคะแนนรายตัวบ่งชี้ที่สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้และต้องปรับปรุง รายละเอียดดังนี้

 

 

 

 

ตัวบ่งชี้

ค่าน้ำหนัก

คะแนน

ประเภทสถาบัน / คะแนนเฉลี่ย   (ระดับคุณภาพ)

ม.ในกำกับรัฐ

ม.รัฐ

ม.ราชภัฎ

ม.เอกชน

๓.   ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ดั้บการตีพิมพ์หรือเผยแพร่๔.   ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับ

ปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่

๕.   งานวิจัยหรืองานสร้งสรรค์ที่ได้รับ

การตีพิมพ์หรือเผยแพร่

๖.   งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ที่นำไปใช้ประโยชน์

๗.   ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรอง

คุณภาพ

๑๔.   การพัฒนาคณาจารย์

๓.๓๔

(พอใช้)

๔.๖๓

(ดีมาก)

๔.๒๐

(ดี)

๔.๕๒

(ดี)

๓.๗๒

(ดี)

๓.๕๐

(พอใช้

๔.๔๕

(ดี)

๔.๔๒

(ดี)

๔.๔๒

(ดี)

๔.๑๗

(ดี)

๓.๖๙

(ดี)

๓.๖๖

(ดี)

๔.๐๖

(ดี)

๑.๗๕

(ต้องปรับปรุง)

๒.๐๑

(ต้องปรับปรุง)

๔.๑๙

(ดี)

๒.๗๐

(พอใช้)

๒.๑๙

(ต้องปรับปรุง)

๓.๙๕

(ดี)

๓.๔๖

(พอใช้)

๒.๖๑

(พอใช้)

๓.๐๖

(พอใช้)

๓.๑๘

(พอใช้)

๒.๒๓

(ต้องปรับปรุง)

ด้านวุฒิการศึกษาของอาจารย์ทั้งหมด  จำนวน ๕๖,๙๗๘ คน  พบว่า ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับ

ปริญญาโท ร้อยละ ๕๘.๐๑ (๓๓,๐๕๕ คน)  มีวุฒิการศึกษาปริญญาเอกเพียงร้อยละ ๓๑.๑๔ (๑๗,๗๔๘ คน)  และส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งอาจารย์ ร้อยละ ๖๗.๑๑ (๓๘,๒๓๘ คน) มีวุฒิศาสตราจารย์เพียงร้อยละ ๑.๐๑ (๕๗๗ คน)  และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลไม่ตำแหน่งศาสตราจารย์เลย

สำหรับสัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อผู้เรียน  พบว่า ในภาพรวมมีจำนวนอาจารย์ต่อจำนวนผู้เรียน คือ

๑ : ๓๓ โดยมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีสัดส่วนน้อยที่สุด คือ ๑ : ๑๘ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎมีสัดส่วนมากที่สุด คือ ๑ : ๕๒

ข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษาระดับอุดมศึกษามี ๒ ประเด็น คือ การพัฒนาบุคลากร  และผลงานวิชาการ  ภาครัฐต้องเร่งสร้างระบบและกลไกงานวิจัย  เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในบริบทของความเป็นไทย  เนื่องจากฐานคิดตะวันตกและฐานคิดตะวันออกมีความแตกต่างกัน  ทำอย่างไรให้งบประมาณเพียงพอต่อการวิจัย  ให้งบประมาณแล้วต้องอย่าให้โซ่ตรวน  ไม่ให้บั่นทอนขวัญและกำลังใจของคณาจารย์สร้างระบบบ่มเพาะ  ระบบพี่เลี้ยงให้เหมาะสมกับธรรมชาติของแต่ละศาสตร์  และการให้งบประมาณวิจัยควรต้องให้งบประมาณการวิจัยระยะยาว ๓ – ๕ ปี  และให้การสนับสนุนที่เป็นระบบ  พัฒนาให้มีสัดส่วนเวลาของการสอนและการสร้างงานวิจัยที่เหมาะสม  สร้างเงื่อนไขของการพัฒนาโดยการกำหนดตัวบ่งชี้ให้เพิ่มตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้เกิดผลดีต่อทุกฝ่าย  ผู้บริหารต้องบริหารจัดการให้ครูอาจารย์มีผลงานทางวิชาการเพิ่มขึ้น  สถานศึกษาต้องสร้างบรรยากาศทางงานวิชาการเพิ่มขึ้น  ขอให้ผู้บริหารคำนึงถึงบาป บุญ คุณ โทษ  โดย สมศ. ได้ปรับ SWOT เป็น  CP- SWOT PLUS บาปส่งผลต่ออนาคตและเครดิตของสถานศึกษา  และจะเป็นคุณถ้าครูอาจารย์มีความเชี่ยวชาญและมีสัดส่วนที่เพียงพอ  แต่คงจะเป็นโทษมาก  ถ้ามีหลักสูตรแต่ไม่มีครูอาจารย์  สถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชนมีพันธกิจในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ  จึงอยากฝากทั้งรัฐและเอกชนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย

Ref. : จุลสาร สมศ. / หน้า 7 – 8 / เดือนสิงหาคม 2555

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *