Category Archives: การบริหารจัดการ

การบริหารงาน...ในยุคไร้พรหมแดน

ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไร้พรมแดน ส่งผลให้โลกแคบลง เทคโนโลยี และความรู้ทาง วิทยาการใหม่ๆเกิดขึ้น และถูกส่งต่อไปทั่วโลก อย่างไร้ขีดจำกัดผ่านช่องทาง อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีและ การรับรู้อย่างรวดเร็วเหล่าส่งผลในด้านความ เป็นส่วนตัวน้อยลง ความผิดพลาดในอดีตที่ถูกเก็บเอาไว้ เป็นความลับได้รับการเปิดเผยมากขึ้น ความโปร่งใส จริยธรรม ถูกตั้ง
เป็นประเด็นอย่างเข้มข้นในการ บริหารงานองค์กรในทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม ความสำคัญตกอยู่ที่ผู้นำองค์กร ได้แก่ กรรมการบริษัทซึ่งเป็น ผู้กำหนด นโยบาย และ CEO ผู้วางกลยุทธ์ในการ
ดำเนินการ จำเป็นต้องตระหนักในความเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ด้วย และต้องปรับ ตัวให้ทันยุค เพราะทุกวันนี้หมดยุคเถ้าแก่เป็น
จอมบงการหรือ อัศวินม้าขาว แล้ว อีกทั้งกฎหมายเกี่ยวกับ สังคมก็รุนแรงมากขึ้นในการคุ้มครองความปลอดภัย และสวัสดิภาพ
ของผู้บริโภค
ผู้นำยุคเก่า มีสถานะเป็นแบบเถ้าแก่ ใช้อำนาจตัดสินในทุกเรื่อง ไม่มีการกระจายอำนาจ เข้าไปยุ่งทุก เรื่องจนลูกน้องเกร็งไม่ต้อง
ทำอะไร อิงสามัญสำนึกของผู้นำอย่างเดียว ขาดการฟัง ความคิดเห็นของลูกน้อง อาศัยโชคชะตาและหมอดูเข้าช่วย ความสำเร็จ เกิดขึ้นก็ภูมิใจจนเคลิ้ม พอล้มเหลวก็โทษโชคชะตาหรือ คนอื่นทำให้เกิด ไม่มีการวางแผนและคำนวณผลลัพธ์ล่วงหน้าอย่างดี
บางคนทำธุรกิจตามใจชอบเหมือน เลือกเบอร์แทงหวย ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ที่จะได้เป็นที่ตั้ง บ้างก็เอาเปรียบลูกค้า ยังไม่พอ หัน มาเอาเปรียบพนักงานด้วยเพื่อกอบโกยความร่ำรวย ชอบใช้สินบนกับผู้มีอำนาจ เพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จะได้ เห็นได้ดาษดื่นทั่วไปในบ้านเมืองเราไม่เว้นแม้แต่ผู้นำ ประเทศที่ร่ำรวยเงินทองมาจากสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งการฉวยโอกาสร่ำรวย จากการลดค่าเงินบาท อย่างไร้ยางอาย แต่กลับอ้างตนเป็นผู้นำยุคใหม่ (น่าจะเป็นผู้นำแบบเก่าที่เคลือบตัวแบบใหม่)ส่วนเถ้าแก่ ที่ประสพความสำเร็จมากก็มี หากถ้า มองลึกลง ไปในความสำเร็จของคนเหล่านั้น มักพบว่า ความเป็นผู้นำที่มีคุณธรรมและไม่เอา รัด เอาเปรียบผู้คน ลูกค้า รักและมีน้ำใจกับลูกน้อง ไม่ทอดทิ้งยามลำบาก ล้วนมีในคนเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในธุรกิจ แบบยั่งยืนไปได้หลายรุ่นจนถึงปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี แนวทางการบริหารในโลกที่ไร้พรมแดน ที่มีความเปลี่ยนแปลงและเข้าถึงอย่าง รวดเร็ว รวมทั้งการแข่งขันที่ดุเดือด รุนแรง ผู้นำในยุคใหม่จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ ตามให้ทัน และปรับตัว ให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นให้ได้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

ผู้นำองค์กรทั้งเก่ง...ทั้งดี

แม่ทัพใหญ่ นำทัพต่อสู้ให้อยู่รอดและประสบชัยชนะได้นั้นเป็นเรื่องไม่ธรรมดา โดยเฉพาะในยุคนี้สมัยนี้ สภาพเศรษฐกิจที่ประสบปัญหากันทั่วโลก สังคมที่มีประชากรโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทรัพยากรธรรมชาติมีจำกัด มีสภาพขาดแคลน มีไม่พอ ทั้งยังเกิดภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะโลกร้อน การเกิดภัยทางน้ำเช่นคลื่นยักษ์ การเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ทำลายบ้านเมืองเช่นที่เกิดที่ประเทศจีน ภาวะการขาดแคลนพลังงาน น้ำมันแพง สิ่งแวดล้อมภายนอก เกิดผลกระทบที่สำคัญต่อองค์กร สิ่งแวดล้อมภายใน ยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน การขัดแย้งกันที่นำไปสู่ความแตกแยก การขาดความสามัคคี ปัญหาด้านจิตใจนั้นใหญ่กว่าปัญหาด้านวัตถุเป็นอันมาก ผู้นำองค์กรต้องมีทั้งความเก่งและความดี มีการปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอ และรวดเร็วทันกับความเปลี่ยนแปลง คอยเสริมดี เพิ่มดี เติมดีอยู่เสมอ พื้นฐานแห่งความสำเร็จ คือ ความตั้งใจ ความเพียร สนใจใส่ใจ และหมั่นทบทวนพิจารณาเพื่อปรับปรุงอยู่เสมอ การนำองค์กร อย่างมีขั้นตอนมีดังนี้ค่ะ
ขั้นตอนที่ 1. เป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางให้แก่องค์กร กำหนดวาระในการเปลี่ยนแปลง (Strategic Change Agenda) และกำหนดกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 2. เป็นผู้นำในการวางแผนกลยุทธ์ จัดทำแผนที่กลยุทธ์ (Strategy Maps) กำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมในการปรับปรุงพัฒนา และเพื่อดึงให้คนในองค์กรมาร่วมมือกัน
ขั้นตอนที่ 3. เป็นผู้นำในการสร้างความสอดคล้อง (Alignment)ให้เกิดกับทุกหน่วยงาน สื่อสารถึงทิศทางและกลยุทธ์ให้กับทุกคนในองค์กร
ขั้นตอนที่ 4. เป็นผู้นำในการสนับสนุนให้มีการปรับปรุงกระบวนการที่จำเป็นต่อการดำเนินกลยุทธ์ และเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์เข้ากับแผนดำเนินงานและงบประมาณ
ขั้นตอนที่ 5. เป็นผู้นำในการติดตามผลดำเนินงาน ติดตามผลในการดำเนินกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 6. เป็นผู้นำในการปรับปรุงกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับข้อมูลและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนดังกล่าวนั้นเป็นการบริหารกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเป็นวงจร หรือที่เรียกว่า Close loop management system ซึ่งในขั้นตอนดังกล่าวเปรียบเสมือน Master Plan จะผูกเครื่องมือในการบริหารย่อยทั้งหมดอีกหลายชนิด
ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญของกองทัพ คือ ขวัญและกำลังใจ หรือพลังจิตของคนในองค์กรเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ หากผู้นำสูญเสียพลังใจแล้วคงไม่สามารถรบได้ถึงร้อยครั้ง อาจสูญสิ้นตั้งแต่การต่อสู้ในครั้งแรก แต่หากมีพลังใจที่ดีแล้ว สู้ไม่ถอย จะเกิดความพร้อมทั้งแรงกายและแรงใจ อีกทั้งสติปัญญา สามารถบรรลุความสำเร็จได้ในที่สุด

การทำงานประเภท ข้าคนเดียว

ยุคนี้หมดสมัยแล้วนะค่ะสำหรับการทำงานประเภท ข้าคนเดียว เพราะองค์กรจะประเมินคุณค่าของคุณ จากความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นนอกจากจะต้องแสดงบทบาทวิศวกร นักออกแบบ นักการตลาด นักวิจัยต่างๆแล้ว คุณยังต้องมีความสามารถในการแสดงบทบาทอื่นๆอีกด้วย นั่นหมายถึงว่า คุณต้องเก่งแบบผู้ตาม เก่งแบบผู้นำ และไม่ลืมทำงานเป็นทีมที่เรามักเรียกกันติดปากว่า Teamwork ค่ะ
การเก่งแบบผู้ตาม เชื่อว่าหลายคนที่ตอนเป็นเด็ก เป็นวัยรุ่น เคยถูกพ่อแม่ว่าแกมประชดคล้ายๆแบบนี้ว่า ชอบทำตามเพื่อนนักเหรอ นี่ถ้าเพื่อนไปตาย ก็จะไปตายกับเค้าด้วยใช่ไหม? คำกล่าวนี้นอกจากจะบอกถึงความเป็นผู้ตามที่ไม่ค่อยดีแล้ว ยังแสดงให้เห็นอีกด้วย คนส่วนใหญ่ไม่อยากยอมรับบทบาทผู้ตามสักเท่าไหร่ ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดความเข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของผู้ตามที่เก่งค่ะ การเป็นผู้ตามที่เก่ง หมายถึง การเข้าไปมีส่วนร่วมช่วยพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ อย่างกระตือรือร้น โดยมีความคิดเป็นของตนเองในเรื่องเป้าหมาย การทำงาน การตัดสินปัญหา และวิธีทำงานต่างๆ มีความสามารถในการทำงานกับผู้นำ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กรได้ ถึงแม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะมีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ทั้งคู่ก็มีบทบาทสำคัญในการวางแผนกระบวนงาน และทำให้งานเหล่านั้นดำเนินไปจนถึงที่สุด จากการวิจัยของ Robert E. Kelly พบว่า ความสำเร็จขององค์กร 90% เกิดจากการทำงานของผู้ตาม ส่วนอีก 10 % ที่เหลือเป็นผลงานของผู้นำ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ตามมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้นำเลย
เทคนิคในการทำงานของคนเก่งแบบผู้ตาม สำหรับพนักงานทั่วไปนั้น อาจจะคิดว่าการเชื่อฟังทำตามคำสั่ง ไม่คุกคามผู้นำ และไม่ทำอะไรเกินเลยหน้าที่ คือเทคนิคในการเป็นผู้ตามที่ดี แต่สำหรับคนเก่งงานแล้ว เทคนิคการทำงานแบบผู้ตามของเราก็คือ การรู้จักนำตัวเอง และแสดงออกถึง ความเชื่อมั่นในตัวเอง จะทำให้ผู้นำ เกิดความไว้วางใจที่จะมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบต่างๆให้แก่เรา เกิดความเคารพในความคิดของเรา จากนั้นเราต้องมี ความมุ่งมั่นและพันธะหน้าที่ต่อประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัวซึ่งคำว่า ส่วนตัว ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเราคนเดียว แต่รวมถึงหัวหน้าผู้บังคับบัญชาเราด้วย การซื่อสัตย์ต่อหัวหน้าเป็นสิ่งที่ดี แต่การทุ่มเททำอะไรตามความต้องการ ตามเป้าหมายของหัวหน้าโดยไม่ลืมหูลืมตานั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะบางครั้งเป้าหมายของหัวหน้า ก็อาจไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของทีมหรือองค์กรก็เป็นได้ ซึ่งหน้าที่ของเราในส่วนนี้ก็คือ พยายามดึงผู้นำให้หันกลับมามองเป้าหมายของส่วนรวมค่ะ การปฏิบัติตนต่อมาก็คือ รู้จักพัฒนาความสามารถ และสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ตัวเอง เพื่อจะได้มีอำนาจในการสั่งงานตัวเองสูงสุด คนที่ได้ตำแหน่งสูงๆมาโดยไม่ชอบธรรม ไร้ความสามารถอย่างไม่คู่ควรกับตำแหน่งนั้น เวลาพูดอะไรคนก็มักไม่เชื่อถือ ไม่ทำตาม ตัวอย่างเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าความน่าเชื่อถือ เป็นสิ่งที่ต้องแลกมาด้วยความสามารถอันแท้จริงของเรา คนอื่นๆจะประเมินความสามารถของเรา จากการรู้จักบริหารตนเอง ทักษะและความสามารถในงานต่างๆ รู้จักแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองตลอดเวลา ไม่ต้องรอเจ้านายมาสั่งให้ไปงานสัมมนานั้นสิ ไปเข้าร่วมโครงการอบรมนี้ซิ แต่จะเป็นฝ่ายบอกเจ้านายเองว่ามีโปรแกรมอะไร ที่ตนเห็นว่าจะพัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานและของตัวเราเองได้ ส่วนการ ปฏิบัติงานอย่างมีสำนึกผิดชอบชั่วดี ควบคุมอัตตา อารมณ์ ของตนเองในการทำงานร่วมกับผู้นำ คนเก่งงานจะทำหน้าที่ผู้ตามของตนเองให้สมบูรณ์แบบ โดยการทำงานร่วมกับผู้นำให้ได้เป็นอันดับแรก ทำให้งานของผู้นำง่ายขึ้น ไม่ใช่คอยเป็นหอกข้างแคร่ แต่ต้องให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้นำอย่างเต็มอกเต็มใจ แต่อย่างไรก็ดี เมื่อมีการทำงานร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปความขัดแย้งก็ดูเหมือนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อมันเกิดขึ้น เราก็ต้องพยายามควบคุมอัตตาของตัวเองไว้ เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งนั้นลุกลามใหญ่โต ซึ่งการจะทำให้ผู้นำยอมรับฟังความคิดเห็นที่ตรงกันข้ามกับความคิดของเขา และไม่ทำให้เกิดผลเสียใดๆต่อหน้าที่การงานของเราตามมานั้น เราต้องพยายามเข้าใจและมองผู้นำในแง่บวก ค้นหาข้อเท็จจริง แสวงหาข้อแนะนำ ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และต้องรู้จักวิธีโน้มน้าวจิตใจผู้นำรวมทั้งการหาแนวร่วม เพราะว่าหลายเสียงย่อมดีกว่าเสียงเดียว แต่การแสวงหาแนวร่วมนี้ต้องเป็นไปด้วยเหตุ ด้วยผล มิใช่การใช้จิตวิทยามวลชนและมีอาการ พวกมาก ลากไปค่ะ

ผู้นำแบบ ....โจเซฟ สตาลิน

ดิฉันมีเรื่อง วิธีการบริหารจัดการของนักปฏิวัติคนสำคัญผู้ร่วมมือกับ นิโคไล เลนิน ปฏิวัติการเปลี่ยนแปลง การปกครองประเทศรัสเซียให้เป็นสังคมนิยม ต่อมาได้เป็นผู้นำสูงสุดของ ประเทศสหภาพโซเวียตและเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมถึงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในประเทศแถบยุโรปตะวันออกอีกด้วยซึ่งบุคคลท่านนี้ก็คือ โจเซฟ สตาลิน มาเล่าให้ฟังค่ะ
โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อนี้เขาตั้งขึ้นมาเองขณะทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ (stalin ในภาษารัสเซียแปลว่า เหล็กกล้า) เขาเกิดที่ รัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐของจักรวรรดิรัสเซียสมัยนั้น เป็นลูกของช่างทำรองเท้า ส่วนมารดาเป็นคนรับจ้างซักรีดเสื้อผ้าให้กับบ้านเศรษฐีม่ายคนหนึ่ง พ่อของเค้าเป็นคนอ่อนแอผิดกับแม่ซึ่งเข้มแข็ง ความอ่อนแอของพ่อนี่เองที่ทำให้เขาสงสารพ่อและเกียจแม่ สตาลิน หนีออกจากบ้าน หลังจากทะเลาะกับบิดา แล้วถูกตบด้วยรองเท้า เค้าได้รับการศึกษาที่ไม่มากนัก ด้วยฐานะยากจนและหัวไม่ดี ต่อมาในช่วงปี 1900 สตาลิน เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ และปล้นธนาคารในบ้านเกิดของเขาเอง เพื่อเอาเงินไปสนับสนุนพรรค แต่เขาถูกจับได้และถูกเนรเทศไปอยู่ไซบีเรีย บ้างก็ว่าสมัยเขาอยู่จอร์เจีย เค้าได้แต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่ง (ซึ่งไม่มีบันทึกชื่อในประวัติศาสตร์) และมีลูกชายด้วยกัน 1 คน เมื่อสตาลิน กลับมาจากไซบีเรีย เค้าได้ทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ต่อ และตำแหน่งการงานก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ เขาเป็นคนมีความมักใหญ่ไฝ่สูงมาก จน เลนิน ก็รู้สึกกลัวคนๆ นี้ เพราะเขาเป็นคนไม่มีการศึกษา กิริยาท่าทางก็หยาบคาย แต่ความก้าวหน้าของเขาเป็นได้ จากความจงรักภักดีต่อพรรคของเขานั้นเอง ช่วงราวๆปีคศ. 1910-1920 นี้เอง สตาลินแต่งงานแบบมีบันทึกในประวัติศาสตร์ มีลูกชาย 1 คน (ต่อมาทำหน้าที่เป็นนักบินในสงครามโลกครั้งที่ 2) และลูกสาวอีก 1 คน (ต่อมาแต่งงานกับชาวยิว และลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในอเมริกาหลัง สตาลินตาย)
เมื่อ เลนินตายปี 1923 เขาเสนอชื่อชื่อตัวเองเข้ารับตำแหน่งประธานพรรคคอมมิวนิสต์ตอนนั้นคู่แข่งของเขาคือ ลีออง สตรอยคอฟ ลังเลเพียงเสี้ยวนาทีในการตัดสินใจเสนอชื่อตนเอง ลีออง เลยต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ เม็กซิโก เพื่อรักษาชีวิตตนเอง แต่เขาก็ถูก สตาลิน ส่งคนไปฆ่า
ในปี 1940 ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง ผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาถูกเรียกว่า บิดาแห่งชาวสหภาพโซเวียตทั้งปวง เมื่อศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมายในรัฐคอมมิวนิสต์ บทบาทของพระเจ้าก็ถูกเล่นโดยสตาลิน เขานำระบบ คอมมูน มาใช้ ทุกคนถูกห้ามมีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างรวมทั้งตัวบุคคลเป็นของพรรค หรือคอมมูน ผู้ต่อต้านถูกส่งไปค่ายกักกันและเสียชีวิตราว 10 ล้านคน ไม่มีการสำรวจประชากรว่า ระหว่างที่เขาเป็นผู้นำประชากรโซเวียต้องตายไปเท่าไร ในช่วงที่มีการปฏิวัติระบบ นารวม มีคนอดตายอีกเป็นล้านๆ คน โดยประชาชนเสียชีวิต 20 ล้านคน ทหารเสียชีวิต 10 ล้านคน เขาสั่งพัฒนาประเทศต่อไปอย่างไม่รีรอ
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นกับรัสเซีย สตาลินก็นำสหภาพโซเวียตเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้ โซเวียตอยู่ในฐานะผู้ชนะสงคราม และกลายเป็นหนึ่งในสองอภิมหาอำนาจของโลก สหภาพโซเวียตจึงกลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจของโลก คู่กับสหรัฐอเมริกาและเป็นการเริ่มต้นของยุคสงครามเย็นที่มีความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ
สตาลินเสียชีวิตในปี 1953 เมื่ออายุได้ 74 ปี ด้วยเส้นเลือดในสมองแตกขณะเถียงกับ ครุฟซอฟ เรื่องเนรเทศยิวกลุ่มใหม่ไปไซบีเรีย งานศพของเขา มีคนเหยียบกันตายราว 3,000 คน
หลังสตาลินตาย ครุฟซอฟ ผู้นำคนใหม่ได้ผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้ง ประณาม ขุดคุ้ย ความโหดร้ายของเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุกๆ ที่ ที่มีรูปปั้น สตาลินถูกทุบทิ้ง เพลงชาติถูกลบชื่อของเขาออก ศพของเขาถูกย้ายจากข้างๆ เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงวังเครมลิน

สิ่งที่ผู้นำพึงมีก็คือ ความรู้

ไม่มีใครสามารถเลียนแบบบรรดาผู้นำเก่งๆอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เจงกิสข่าน ซีซาร์ มหาตมะ คานที ที่ดิฉันได้เคยนำศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการของผู้นำเหล่านั้น มาเล่า ให้ท่านผู้ฟัง ฟังมาหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ไม่มีใครสามารถเป็นผู้นำให้เหมือนคนเหล่านี้ได้เช่นกัน แต่สิ่งที่เราทำได้ก็คือ ปรับปรุงเอากลยุทธ์ในการเป็นผู้นำของพวกเขาเหล่านั้นมาใช้ให้เหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นตัวของเราเองนั่นแหละดีที่สุดค่ะ ในขั้นแรกเราต้องเข้าในในบทบาทผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ก่อนนะค่ะ ว่ายุคนี้เป็นยุคที่อาศัยความรู้เป็นฐานสำคัญในการดำเนินงาน ผู้นำต้องทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ตาม ผู้ร่วมทีมอย่างเป็นระบบเดียวกัน ไม่มองว่าตนเองอยู่เหนือผู้อื่น รู้ว่าหน้าที่ของตนที่แท้จริง คือ ต้องพยายามทำให้ผู้ร่วมงานทุ่มเทความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อผลประโยชน์ขององค์กร มีผู้กล่าวไว้ว่า การมีอำนาจบังคับ ไม่ใช่สิ่งบ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ แต่ความเชื่อถือไว้วางใจผู้ร่วมงานต่างหาก คือตัวบ่งบอกที่ชัดเจน นอกจากนี้ บทบาทผู้นำยังเป็นหัวโขนที่เราต้องรู้จักใส่ และรู้จักถอดให้ถูกกาลเทศะ ยกตัวอย่างเช่น ในการทำงานเป็นทีม ที่ประกอบด้วยสมาชิกและผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ถึงแม้ว่าโดยตำแหน่งแล้วเราจะเป็นผู้นำ แต่ในบางเรื่องบางงานที่เราไม่มีความรู้ดีพอ เราก็ควรปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเป็นผู้นำแทนเรา แต่ในบางเรื่องที่เรามั่นใจว่า ถ้าปล่อยไปเช่นนั้นแล้วจะเสียหาย เราต้องตัดสินใจลงมือโดยทันที
นอกจากนี้สิ่งที่ผู้นำพึงมีก็คือ ความรู้ เพราะผู้นำจะต้องมีความรู้ความชำนาญและมีการตัดสินใจ อันเป็นที่ยอมรับของทีม สามารถใช้ความรู้ต่างๆมาประเมินวิเคราะห์อนาคตของทีมได้อย่างแม่นยำ ความรู้ความสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ และความน่าเชื่อถือก็จะทำให้ผู้ร่วมงานยอมรับฟังเรา ดังคำกล่าวที่ว่า คนส่วนใหญ่ยอมให้นำได้ แต่มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ยอมให้บังคับได้ ค่ะ และสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ผู้นำต้องมีก็คือ มนุษยสัมพันธ์ ผู้นำต้องเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ของผู้ตาม เพื่อที่จะได้รู้ว่า ทำอย่างไรผู้ร่วมงานจึงจะยินดีทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงานและ การเอาใจเขา มาใส่ใจเรา คือสิ่งสำคัญที่ทำให้เราเข้าใจผู้ตามและผู้ร่วมงานคนอื่นๆ โดยผู้นำต้องมีความสามารถในการทำให้งานดำเนินไปด้วยดี จนสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่วางไว้ค่ะ

คำว่า “leadership” (ภาวะผู้นำหรือการเป็นผู้นำ) กับคำว่า “management” (การบริหารจัดการ)

ในภาษาอังกฤษคำว่า “leadership” (ภาวะผู้นำหรือการเป็นผู้นำ) กับคำว่า “management” (การบริหารจัดการ) มักพบว่าสามารถใช้แทนกันได้ก็ตาม แต่โดยสาระในแง่กระบวนการและแนวคิดแล้ว แท้จริงมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ เมื่อพูดถึงการบริหารจัดการ ก็มักมองถึงการดำเนินการตามหน้าที่หลัก (functions) ซึ่งเป็นกลไกปกติขององค์การ เช่น การวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การอำนวยการ (directing) และการกำกับควบคุม (controlling) ในขณะที่ภาวะผู้นำหรือการเป็นผู้นำ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal aspects) โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันถือว่า ภาวะผู้นำหรือการเป็นผู้นำเกี่ยวข้องกับเรื่องความเปลี่ยนแปลง (change) การสร้างแรงดลใจ (inspiration) การสร้างแรงจูงใจ (motivation) และการใช้อำนาจเชิงอิทธิพล (influence) เป็นต้น โดยปกติคนที่อยู่ในองค์การจะแสดงบทบาทใดบทบาทหนึ่งในสามบทบาทที่สำคัญต่อไปนี้คือ 1) บทบาทเป็นผู้ผลิต (producer) 2) บทบาทเป็นผู้บริหาร (manager) 3) บทบาทเป็นผู้นำ (leader) แต่ละบทบาทล้วนจำเป็นต่อความสำเร็จขององค์การทั้งสิ้น
ท่านผู้ฟังค่ะ ถ้าไม่มีผู้ผลิต ก็ไม่อาจทำให้ความคิดดี ๆ และการตัดสินใจที่สำคัญลงสู่การปฏิบัติได้ พูดง่าย ๆ คือ งานที่รับผิดชอบจะไม่สำเร็จ ถ้าไม่มีผู้บริหารบ้าง ผลก็คือจะเกิดความขัดแย้งด้านบทบาทหน้าที่ของผู้ทำงานเนื่องจากขาดความชัดเจน ผลคือ ทุกคนพยายามแย่งกันเป็นผู้ผลิต ต่างคนต่างทำงานแยกอิสระจากกัน แทบไม่มีระบบและขั้นตอนการทำงานที่ดี แต่กรณีถ้าขาดผู้นำ ก็จะขาดวิสัยทัศน์ และทิศทางของการทำงาน ส่งผลให้คนค่อย ๆ เบี่ยงเบนไปจากภารกิจที่ต้องรับผิดชอบในที่สุด
แม้แต่ละบทบาทต่างมีความสำคัญต่อองค์การก็ตาม แต่บทบาทที่มีความสำคัญที่สุดก็คือ ผู้นำ โดยเฉพาะถ้าขาดผู้นำกลยุทธ์ (strategic leadership) ก็เชื่อได้ว่าเหมือนผู้คนที่ร่วมเดินป่าเพื่อจะเดินทางกลับให้ถึงบ้านในตอนเย็น ก็คงหลงวนเวียนอยู่ในป่านั่นเอง เพราะขาดผู้นำทาง ขาดผู้กำหนดวิธีการเดินทาง รวมทั้งขาดคนปลอบประโลมให้กำลังใจยามท้อแท้ให้หันกลับมาสู้เอาชนะอุปสรรคจนบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด จึงกล่าวได้ว่า บทบาทของผู้นำมีความสำคัญมากในการสร้างความต่อเนื่องไปสู่ความสำเร็จโดยการเป็นผู้นำ (leadership) จะเกี่ยวกับเรื่องกำหนดทิศทาง (direction) คอยช่วยให้ทุกคนมั่นใจว่า การเดินป่าครั้งนี้ไม่มีใครหลงทางอย่างแน่นอน ในขณะที่การบริหาร (management) เกี่ยวข้องกับความเร็ว (speed) ในการเดินทาง ผู้อ่านลองจินตนาการดูว่า คนเดินป่าที่เดินได้รวดเร็ว แต่ไม่รู้ทิศทางจะเป็นอย่างไร ในองค์การนั้น การเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำจึงเกี่ยวกับเรื่องวิสัยทัศน์ (vision) และการทำให้พันธกิจ (mission) มีความชัดเจนไม่ถูกละเลย หรือเบี่ยงเบนไปโดยผู้ปฏิบัติงาน นั่นคือ สามารถบรรลุผล (result) หรือความมีประสิทธิผล (effectiveness) นั่นเอง ส่วนการบริหารจัดการเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้าง (structure) และระบบ (system) เพื่อช่วยให้บรรลุผลที่ดีหรือมีประสิทธิภาพ (efficiency) โดยเน้นเรื่องการวิเคราะห์ต้นทุนกำไร (cost-benefit analysis) นโยบาย ขั้นตอนวิธีการ และการใช้หลักเหตุผลเชิงตรรกวิทยา เป็นต้น ภาวะผู้นำจะยึดการมองเกณฑ์ที่สูงสุด (top line) ในขณะที่การบริหารจัดการมองที่เส้นเกณฑ์ที่ต่ำสุด (bottom line) ในการทำงาน ภาวะผู้นำได้รับอำนาจ (ในลักษณะการมีอิทธิพล) มาจากการที่ตนประพฤติดีประพฤติชอบ มีหลักการและค่านิยมที่ดีในการปฏิบัติงาน ส่วนการบริหารจัดการได้อำนาจมากับตำแหน่ง หน้าที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติงานเกิดผลผลิตได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่องค์การกำหนด

การบริหารแบบ ท่านประทานเหมาเจ๋อตุง

ดิฉันมีเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ของการบริหารจัดการแบบ เหมาเจ๋อตุง ผู้นำในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าสู่ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ปลุกเร้าให้ประชาชนจีนต่อสู้กับความยากจน และยึดมั่นในการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ มาเล่าให้ฟังค่ะ
เพิ่งครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมาเมื่อต้นเดือนนี้เอง เมื่อพูดถึงการสถาปนาประเทศจีน บุคคลซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ก็คือท่านประธานเหมา หรือว่าประธานาธิบดีเหมา เจ๋อตุง ผู้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม คริตส์ศักราช 1949 เหมา เจ๋อ ตุง เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นในปี คริตส์ศักราช 1921 และเป็นแกนนำหยุดงานประท้วงของคนงานเหมืองแร่ที่อันหยวน เขียนหนังสือเรื่อง "พลังปฏิวัติเบ่งบานออกมาจากปากกระบอกปืน" ก่อตั้ง กองทัพแดงกรรมกร และชาวนา ตามด้วยกองทัพปลดแอกประชาชน ปฏิบัติการ ป่าล้อมเมือง ที่มีชัยเหนือเจียง ไค เช็ก
ประธาน เหมา เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ปีคริตส์ศักราช 1893 ในครอบครัวชาวนา โดยอาศัยอยู่ในเขตชนบทเสาซัน อำเภอเซียงถัน มณฑลหูหนาน เมื่ออายุได้ 8 ขวบ ได้เข้าเรียนโรงเรียนประถมในหมู่บ้าน ร่ำเรียนหลักคำสอนลัทธิขงจื้อ ปลูกฝังความคิดตามจารีตโบราณ ท่านเหมาสอบเข้าเรียนที่วิทยาลัยครูหูหนัน ป็นนักศึกษาที่ขยันเรียน ขณะเดียวกันก็สนใจการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม และได้เข้าร่วมในการต่อสู้การคัดค้าน หยวนซื่อข่าย หรือประธานาธิบดีเผด็จการ สมัยนั้นและเริ่มได้รับอิทธิพลทางความคิดลัทธิมาร์กซ์ เวลาว่างจะเขียนบทความลงหนังสือของวิทยาลัยครู โดยใช้นามแฝงว่า "เอ้อสือ ปาวาเซิง" หรือ "นายยี่สิบแปดขีด" ตามชื่อของท่านเหมา ที่เมื่อเขียนเป็นภาษาจีนแบบตัวเต็มรุ่นเก่า จะมีทั้งหมด 28 ขีด งานเขียนก็มักวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของราชสำนักชิง ซึ่งเป็นชาวแมนจู ซะส่วนใหญ่ ต่อมา ท่านเหมาเป็นครูสอนที่โรงเรียน และเปิดโรงเรียนกลางคืน สอนเยาวชนที่ด้อยโอกาส ทำให้เป็นที่จับตาของสายลับรัฐบาล แต่นั่นก็ไม่ส่งผลกระทบอะไรเลย ต่อมาท่านเหมาสามารถรวมพล ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปีคริตส์ศักราช1921 เข้าร่วมการประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศ ครั้งที่ 1 ที่เซี่ยงไฮ้ ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการกรรมการพรรคเขต หูหนัน นำการเคลื่อนไหวในกลุ่มกรรมกร และชาวนา ได้เสนอแนวทาง "ยืนหยัดการนำของชนชั้นกรรมาชีพ ต่อการปฏิวัติประชาธิปไตย โดยอาศัยพันธมิตรกรรมกรชาวนาเป็นพื้นฐาน" มีความเชื่อมั่นอย่างสูงกับแนวทางการปฏิวัติของชาวนา โดยประกาศว่าการปฏิวัติของจีนต้องอาศัยชนชั้นชาวนาแทนที่จะเป็นชนชั้นกรรมาชีพดังที่กล่าวไว้ในลัทธิมาร์กซ์-เลนิน วิธีการของเหมาเป็นแบบ กองโจร อย่าให้ศัตรู ได้ทันตั้งตัว จงถอยเมื่อเค้ารุก จงโจมตีเมื่อเค้าหยุดพัก
ต่อมาได้จับมือกับนายพลจูเต๋อ นำกองกำลังชาวนาและกรรมกรเข้าร่วมเป็นกองกำลังจรยุทธ์ ประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐจีน-โซเวียตหรือ หรือ The Chinese Soviet Republic ในเจียงซี โดยท่านเหมาเป็นประธาน แต่คณะกรรมการกลางยังคงต่อต้าน แนวนโยบายและการทหารที่ใช้กองกำลังชาวนา และทางฝ่ายเจียงไคเช็ก ก็รณรงค์กวาดล้างกองทัพแดงให้สิ้นซาก ดังนั้น ท่านเหมาและนายพลจูเต๋อ ได้นำกองทัพแดงต้านการล้อมปราบครั้งใหญ่ 4 ครั้งด้วยความสำเร็จ แต่พ่ายแพ้การล้อมปราบครั้งที่ 5 จึงต้องทิ้งฐานที่มั่น นำกองกำลังประมาณ 100,000คน เดินทัพทางไกล 25,000 ลี้ หรือประมาณ 12,500 กิโลเมตร ไปทางเหนือซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 3 ปี ช่วงปี 1937-1945 ท่านเหมานำพรรค กองทัพและประชาชน ทำสงครามประชาชนต่อต้านญี่ปุ่นด้วยยุทธวิธี "สงครามยืดเยื้อ" จนได้ชัยชนะ และในปี 1943 ท่านเหมาได้รับเลือกเป็น ประธานคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ และได้ดำรงตำแหน่งนี้ ต่อเนื่องทุกสมัยจนถึงแก่อสัญกรรมในปี 1976 ด้วยอายุ 83 ปี ท่านเหมาได้นำกองทัพปลดแอกและประชาชนจีน ทำสงครามทำลายการรุกโจมตีของฝ่ายเจียงไคเช็ค โดยเป็น ผู้บัญชาการสู้รบในยุทธการและได้รับชัยชนะขั้นเด็ดขาด จนสามารถยึดอำนาจรัฐได้ทั่วประเทศ หลังได้รับชัยชนะแล้ว ประธานเหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่งใน วันที่ 1 ตุลาคม ปี 1949 ทำให้ชนชั้นหัวกะทิรู้สึกไม่พอใจที่คนมีความรู้ชั้นประถมปกครองประเทศ เหมาได้ทดลองใช้ระบบประชาธิปไตยครั้งแรก ให้ปัญญาชนแสดงทัศนะ เหมาให้ความเห็นว่า นี้คือ หนึ่งร้อยบุปผาได้เบ่งบาน หนึ่งร้อยบุปผาได้ชัยชนะ เค้าคาดการผิด ป้ายโปสเตอร์ขนาดใหญ่ถ้อยคำที่รุนแรง เหมาถูกสั่งคลอน เหมารู้สึกถูกคุกคาม เป็นครั้งสุดท้ายที่เหมารับฟังความคิดเห็น และเหมา กะจับพวกที่แสดงความคิดเห็น คนหลายแสนคน โดนว่าเป็นคนฝ่ายขวา เข้าเรือนจำ ถูกส่งไปใช้แรงงานชนบท จากผู้นำยอดนิยมเค้ากลายเป็นฆาตกรและเผด็จการ ที่วิตกจริตหลังการตั้งประเทศจีนใหม่ ประธานเหมาได้นำพรรคและประช าชนปรับปรุงปฏิรูปด้านต่างๆ อาทิ การปฏิรูปที่ดิน ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประชาชาติ ปรับปรุงให้อุตสาหกรรมและวิสาหกิจสำคัญเป็นแบบสังคมนิยม ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับการคุกคามจากต่างประเทศ ควบคู่ไปด้วย จากการประเมินสถานการณ์การต่อสู้ทางชนชั้นภายในประเทศผิดพลาด จนทำให้การเคลื่อนไหวขยายวงกว้างเกินที่จะควบคุมได้ สร้างความเสียหายแก่ประเทศและประชาชน ในระหว่างนั้นท่านเหมาก็ได้มองเห็นความผิดพลาด และพยายามยับยั้งความเสียหายแต่ก็ไม่เป็นผล การปฏิวัติวัฒนธรรมกินเวลาถึง 10 ปี ภายหลังการถึงแก่กรรม 5 ปี พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ทำการประเมินผลงานและความผิดพลาดของเหมาอย่างรอบด้าน และได้ข้อสรุปว่า แม้ในบั้นปลายชีวิตของเหมาจะได้ทำความผิดพลาดที่ร้ายแรง ในเหตุการณ์เคลื่อนไหวปฏิวัติวัฒนธรรม แต่ถ้าเทียบกับผลงานที่ยิ่งใหญ่ และยาวนานที่สร้างให้แก่แผ่นดินและประชาชนจีน คุณความดีของเหมา ก็มีมากกว่าความผิดพลาด ประธานเหมาเจ๋อตุงยังคงเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่เคารพรักของประชาชนจีน เค้าได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของการก่อตั้งจีนใหม่ ผู้เปลี่ยนจาก ลัทธิมาร์ก มาเป็นลัทธิเหมา และทำให้ประชากรชาวจีน เกิดความภาคภูมิและเกิดการเคารพตนเองค่ะ

การครองตน ครองคน ครองงาน

การครองตน ครองคน ครองงาน
เมื่อเข้าใจเป้าหมายของการทำงาน และความสุขที่เกิดจากความสำเร็จของงาน ตลอดจนรู้ปัญหาอุปสรรคของการทำงานแล้ว ควรจะต้องรู้หลักและวิธีการที่จะทำให้งาน
มีความมั่นคง จะต้องรู้วิธีการครองตน ครองคน และครองงาน ตามหลักการต่อไปนี้
1. การครองตน คือ การรู้จักตนเอง คนเราต้องมีเป้าหมายในชีวิตที่แน่นอน เรียกว่ามีเป้าหมายแห่งตน รู้จักควบคุมตนหรือมีวินัยแห่งตน หมายความว่า ทำงานสำเร็จได้ด้วยตนเอง การครองตนที่ดีควรใช้หลักการดังต่อไปนี้
1.1 การรู้จักตนเองด้วยความมีสติ คือ มีความมั่นคงตั้งมั่นกับเป้าหมายแห่งตน และมีความละอายเกรงกลัวต่อบาป
1.2 มีความอดทนและความสงบเสงี่ยม ให้เกียรติกับบุคคลทุกระดับชั้น
1.3 มีความขยัน ให้ความร่วมมือกับบุคคลอื่นและรู้จักช่วยตนเอง
1.4 ไม่ทำตนให้อยู่ในความประมาท เช่น การลุ่มหลงในอบายมุข พัฒนาตนเอง แสวงหาความรู้อยู่เสมอ
1.5 รู้จักการถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่อวดเก่ง อวดดี ต้องเอาดีมาอวด
1.6 มีความสำนึกในคุณงามความดีของตนเองและผู้อื่น

2. การครองตน คือ การรู้จักคนอื่น มองคนอื่นในแง่ดี ในการทำงานร่วมกับคนอื่น การครองคนเป็นเรื่องที่ยากที่สุด จึงควรทราบหลักการครองใจคน ซึ่งหลักทางพุทธศาสนาได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะในส่วนที่สำคัญ ดังนี้
2.1 การรู้จักเสียสละแบ่งปันด้วยจิตใจที่โอบอ้อมอารี เป็นการครองใจคนที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะการเป็นผู้ให้ทุกอย่างแก่บุคคลอื่น ย่อมจะได้รับผลตอบแทนที่มีค่ามากกว่าสิ่งของที่ให้ไป
นั่นคือ ทำให้เกิดความรัก ความศรัทธา
2.2 การรู้จักเลือกใช้วาจาที่อ่อนหวาน คนอื่นฟังแล้วสบายใจ อยากอยู่ใกล้ อยากคบค้าสมาคมด้วย ต้องมีความรับผิดชอบต่อคำพูดของตนเอง ตามภาษิตที่ว่า พูดเป็นนายใจเป็นบ่าวหมายความว่า ให้คิดก่อนพูด พูดแล้วต้องทำปฏิบัติตามอย่างที่พูด
2.3 พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ยกย่องชมเชยเมื่อผู้อื่นทำงานประสบความสำเร็จ ให้ความจริงใจ ให้ความช่วยเหลือในโอกาสอันควร
2.4 การทำตนให้เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย คือ การติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้ขาดช่วงตอน ก็จะทำให้การทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีน้ำใจต่อกัน

3. การครองงาน คือ การรู้จักงานที่ตนเองกำลังทำ และทำงานอย่างมีความสุข รักและชอบในงานที่ตนเองกำลังทำอยู่ มีวิธีการครองงาน ดังนี้คือ
3.1 การครองงานโดยใช้ความรู้และปัญญา กล่าวคือ ปัญญากับ
ความรู้ต่างก็เกื้อกูลต่อกัน รู้จักการค้นหาความรู้ใหม่มาช่วยพัฒนางานที่ตนเอง ทำอยู่ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
3.2 การครองงานโดยใช้หลักธรรมมุ่งมั่นสูงความสำเร็จ คือ การมีใจรัก มีความพากเพียรทำ ตั้งใจฝักใฝ่ และใช้ปัญญาไตร่ตรอง งานนั้นก็จะสำเร็จ เมื่องานสำเร็จ การทำงานก็จะมีความสุข มีความรักในงาน
3.3 การให้ความรักและความเคารพในงานอาชีพของตน
ไม่ดูถูกหรือให้ใครดูหมิ่นในงานของตน มีจริยธรรมในอาชีพ
คือการซื่อสัตย์ต่องานในหน้าที่ของตน การครองตน ครองคน ครองงาน เป็นศิลปะการทำงานให้มีความสุข บุคคลใดใช้หลักการตามที่กล่าวมาก็จะ มีความสำเร็จในการทำงาน ฉะนั้น การครองตนก็คือการรู้จักตนเอง
การครองคนคือการรู้จักผู้อื่น ส่วนการครองงานคือการมีสมาธิในการทำงาน อย่าหนีปัญหา แก้ปัญหาให้ถูกต้อง และตัวเองก็มีความสุขกับการทำงาน คนก็จะมีความสุข

ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

เราสามารถเรียนรู้ได้จากความผิดพลาด

แต่มันจะดีกว่าถ้าเรียนรู้จากความสำเร็จ

ปัญหาพนักงานเกิดความเครียด ไม่มีความสุข

หลายองค์กรอาจเคยประสบปัญหาพนักงานเกิดความเครียด ไม่มีความสุข ไม่สนใจงาน ขาดความสนุก จนคิดลาออกไปทำงานที่อื่น ซึ่งการเปลี่ยนพนักงานบ่อยๆ มีผลต่อความต่อเนื่องในการทำงาน และยังเกิดเป็นค่าใช้จ่ายในการคัดสรร และพัฒนาบุคลากรขึ้นมาทดแทนอีกด้วย เรียกว่า เสียทั้งคน เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา  ปัญหาดังกล่าวกลายเป็นประเด็นที่ท้าทายความสามารถของ HR ว่าจะผลักดันหรือแก้ไขอย่างไร ลักษณะงานที่ HR จะทำได้คือ การเสนอแนะในเชิงกลยุทธ์ ให้มีการปรับปรุงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล การพัฒนาคน การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งนี้การออกแบบระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความสุขให้แก่พนักงาน ได้แก่

1.       การสรรหาเลือกคนที่มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี มีสมรรถนะตรงกับตำแหน่งงาน

2.       จัดทำโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือน ที่ยืดหยุ่น จูงใจ ตามผลงาน

3.       จัดสวัสดิการที่อำนวยประโยชน์แก่พนักงาน สนใจด้านความปลอดภัย สุขภาพอนามัย

4.     มีระบบการประเมินผลงาน หัวข้อการประเมินที่ชัดเจน หัวหน้างานมีความรู้ และใช้วิธีการประเมินงานที่สอดคล้องกับมาตรฐาน

5.       มีการพัฒนาบุคคล ฝึกอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาตนเอง

6.     มีกระบวนการพนักงานสัมพันธ์ที่สามารถแก้ไขคลี่คลายปัญหาความต้องการ ข้อร้องเรียน หรือความขัดแย้งโดยระบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพนักงานในการปรึกษาหารือ มีกิจกรรมข้อเสนอแนะ การสำรวจทัศนคติความคิดเห็นและนำมาใช้ในการปรับปรุงงาน

7.     มีกิจกรรมด้านสันทนาการ หรือกิจกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัวนอกเวลางาน หรือมีระบบสังคมชุมชนในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ

8.       ส่งเสริมเรื่องการปฎิบัติตามระเบียบวินัย และใช้วิธีการวินัยแบบสร้างสรรค์

9.       การให้บริการด้าน HR ที่สนองความต้องการของพนักงาน รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ

10.   พัฒนาให้หัวหน้างานมีความรู้ความสามารถ ในการบริหารจัดการดูแลคนในหน่วยงาน มีความเป็นผู้นำ และช่วยสร้างความสุขในการทำงานแก่พนักงาน

กิจกรรมทาง HR ทั้ง 10 ข้อนี้เป็นความสามารถในการบริหารจัดการที่ HR ควรมี เพื่อสร้างความสุขให้แก่บุคลากรอย่างยั่งยืน   ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

สิ่งเดียวที่จะชนะโชคชะตา  คือการทำงานหนัก

สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดในชีวิตของมนุษย์ก็คือ การใช้ชีวิตลำพังในโลก

เราไม่ควรจมจ่อมอยู่กับปัญหา ไม่แบกปัญหาให้หนักอก แต่จะวางปัญหาลงด้วยสติตัดอารมณ์ออกแล้วถอยห่างออกมา ใช้วิจารณญาณในการพิจารณาปัญหานั้น ปัญหาใหญ่ก็จะคลายเป็นปัญหาเล็ก ปัญหาเล็กก็จะกลายเป็นเพียงฝุ่นผง เรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย เรื่องหนักหนาสาหัสก็จะกลับเป็นดังปุยนุ่นที่บางเบาเซียนครอบครัวดีมักบอกเราว่า สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดในชีวิตของมนุษย์ก็คือ การใช้ชีวิตลำพังในโลกใบนี้แต่เพียงผู้เดียว ไม่มีใครแบ่งปันความทุกข์ ความสุข และครอบครัว ทำหน้าที่ที่นี้ได้ดีที่สุด เราจะเป็นคนอย่างไรมีพื้นฐานมาจากครอบครัวเป็นคนมีความสุข มองโลกในแง่ดี เป็นที่รักของคนทุกคน วันๆ ผ่านไปได้ด้วยความทุกข์ใจและร้อนรน ไม่พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีสักที ไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว  

                เครื่องมือหนึ่งในการสร้างความสุขในชีวิตของคนทำงาน โดยประกอบไปด้วย  Happy 8 

Happy Body (สุขภาพดี)     มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ

Happy Heart (น้ำใจงาม)     มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันและกัน

Happy Soul (ทางสงบ)     มีความศรัทธาในศาสนาและมีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต

Happy Relax (ผ่อนคลาย)      รู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต

Happy Brain (หาความรู้)     การศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเองตลอดเวลา

Happy Money (ปลอดหนี้)     มีเงินรู้จักเก็บ รู้จักใช้ ไม่เป็นหนี้

Happy Family (ครอบครัวดี)     มีครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง

Happy Society (สังคมดี)     มีความรักสามัคคี เอื้อเฟื้อต่อชุมชนที่ตนทำงานและที่พักอาศัย

 ...เราไม่ควรจมจ่อมอยู่กับปัญหา  ไม่แบกปัญหาให้หนักอก

ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า เกียรติยศย่อมเกิดจากการกระทำที่สุจริต