Category Archives: การบริหารจัดการ

คุณเป็นผู้นำแบบไหน

คะ  ผู้นำหรือผู้บริหารนั้นมีหลายประเภท การได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้นำที่แตกต่างบุคลิกกัน อาจช่วยให้คุณในฐานะนักบริหารและเป็นผู้นำขององค์กรเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง และบทบาทที่ผู้อื่นหรือลูกน้องปฏิบัติตอบต่อคุณได้ โดยวันนี้ขอยกตัวอย่างของผู้นำบางประเภท ลองมาดูว่าคุณเป็นผู้นำแบบไหน และคุณอยากจะปรับตัวเองให้เป็นผู้นำลักษณะแบบไหนบ้าง

1. ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก / สตรีเหล็ก (Strongman)
         เป็นผู้นำที่ใช้คำสั่งหรือคำแนะนำเป็นเครื่องมือทำให้เกิดอิทธิพลต่อผู้ตาม ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจที่มากับตำแหน่งของตน ด้วยวิธีข่มขู่ให้เกรงขาม นิยมที่จะใช้คำสั่งที่ลงไปข้างล่างให้ลูกน้องหรือคนอื่นจำต้องยินยอมปฏิบัติตามอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ พฤติกรรมที่พบเห็นบ่อยในผู้นำแบบนี้ได้แก่ การออกคำสั่ง การบอกวิธีปฏิบัติ การกำหนดเป้าหมายเอง การข่มขู่ การตำหนิ การคาดโทษ เป็นต้น ตัวอย่างที่ชัดเจนของผู้นำแบบนี้ ก็คือ ผู้นำเผด็จการทหารที่ใช้อำนาจด้วยวิธีตะเพิดข่มขู่ให้ลูกน้องเกิดความเกรงกลัว

2. ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactor)
         เป็นผู้นำที่ใช้รางวัล (rewards) เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับการปฏิบัติตามของผู้ตามรางวัลหรือผลประโยชน์แลกเปลี่ยน จึงเป็นอาวุธสำคัญที่ทำให้ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตามให้ยินยอมปฏิบัติตาม ดังนั้น พฤติกรรมที่เห็นบ่อยของผู้นำแบบนี้ก็คือ การให้รางวัลเป็นวัตถุเป็นเงิน รางวัลพิเศษต่าง ๆ เมื่อพบว่าลูกน้องขยัน ทุ่มเทเอาใจใส่ในการทำงาน มีผลงานดี มีความภักดีต่อหัวหน้าหรือต่อหน่วยงาน ตลอดจนการช่วยสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าด้านหน้าที่การงานถ้าลูกน้องคนนั้น สามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่หัวหน้ากำหนดไว้ เป็นต้น

3. ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (Visionary hero)
         เป็นผู้นำที่ใช้บุคลิกภาพและความสามารถพิเศษ (charisma) ของตนเป็นเครื่องมือ เกิดอิทธิพลกระตุ้น เกิดแรงบันดาลใจแก่ผู้ตามให้อยากทำตามอย่าง ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อตัวผู้นำ ผู้นำแบบนี้บางคนก็เรียกว่า ผู้นำโดยบารมี จุดเด่นส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำที่มีศิลปะในการพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังมองเห็นภาพได้ชัดเจน และเชื่อว่าภาพในอนาคตที่ผู้นำพูดถึงนั้นสามารถไปได้ถึงแน่นอนเนื่องจากผู้นำเป็นนักคิด นักพูดและนักวาดฝันถึงอนาคตที่เป็นไปได้ เราจึงเรียกผู้นำแบบนี้ว่า ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (visionary hero) ผู้นำแบบนี้มีบุคลิกกล้าคิดกล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าท้าทายต่อสิ่งใหม่ ๆ แม้ว่าจะกระทบต่อตำแหน่งสถานภาพตนเองหรือคนอื่นก็ตาม ถ้าเชื่อว่าสิ่งที่ทำนั้นทำให้สังคมส่วนรวมดีขึ้น จึงเป็นผู้นำที่สามารถยกระดับคุณธรรมของลูกน้องให้สูงขึ้นจากทำงานเพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียว มาเป็นการมุ่งการได้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอีกด้วย ผู้นำแบบนี้คนมักยกย่องเหมือนวีรบุรุษ เช่น มหาตมะคานธี ผู้กอบกู้เอกราชให้อินเดีย มาร์ตินลูเธอร์ คิง ผู้นำที่ต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนผิวดำ มิให้ถูกรังเกียจและแบ่งแยกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากสังคม เป็นต้น แต่ก็มีข้อระวัง ถ้าผู้นำแบบนี้ไร้จริยธรรม ก็จะใช้พลังประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาตนไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนตัวจนต้องพบความหายนะ เช่น กรณีของ อะด๊อฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมันเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น จึงเป็นผู้นำวิสัยทัศน์แบบจอมปลอม

4. ผู้นำแบบชั้นยอด (Super Leader)
         เป็นผู้นำที่มุ่งพัฒนาผู้ตาม เพื่อให้สามารถนำตนเอง จนในที่สุดผู้ตามก็แปรสภาพไปเป็นผู้นำโดยอัตโนมัติ มีบางคนเรียกผู้นำแบบนี้ว่าผู้นำแบบมอบอำนาจเบ็ดเสร็จ” (empowering leader) ผู้นำแบบนี้มีจุดเด่นที่สามารถเรียกว่า ชั้นยอดก็เพราะเป็นผู้ที่ยึดเอาจุดแข็งของผู้ตามเป็นสำคัญ เป็นผู้นำที่เข้าใจนำคนอื่นให้เขารู้จักนำตัวเอง (lead others to lead themselves) รูปแบบของผู้นำชั้นยอดก็คือ พยายามให้กำลังใจช่วยเสริมแรงของผู้ตามให้คิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ให้รู้จักรับผิดชอบของตน ให้มั่นใจในตนเอง ให้รู้จักการกำหนดเป้าหมายด้วยตนเอง ให้มองโลกเชิงบวก มองเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย มองวิกฤตเป็นโอกาส และรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นต้น ผู้นำแบบนี้กับผู้ตามมีความสมดุลด้านอำนาจระหว่างกันค่อนข้างดี ซึ่งแตกต่างจากผู้นำแบบอื่นที่ยึดผู้นำเป็นหลัก แต่ผู้นำแบบนี้กลับยึดที่ผู้ตามเป็นหลัก ผลที่คาดหวังจากการใช้แบบภาวะผู้นำชั้นยอด ก็คือความผูกพันของผู้ตามต่องาน / หน่วยงานจะเพิ่มมากขึ้น ผลเชิงจิตวิทยาก็คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ownership) เกิดขึ้น และที่สำคัญคือ ผู้ตามได้พัฒนาทักษะในการนำตนเองตลอดจนความรู้สึกเป็นผู้นำตนเองหรือการเป็นนายตัวเองได้ในที่สุด

เคล็ด(ไม่)ลับในการจัดการตนเอง

เมื่อเราต้องก้าวเดินไป ไม่ว่าจะย่างเท้าซ้าย หรือเท้าขวาไปข้างหน้าก่อนกันนั้นก็ไม่สำคัญเท่ากับการที่รู้ว่าตนเองควรจะเดินไปทิศทางไหน ดังนั้น วันนี้เราขอนำเสนอเคล็ด(ไม่)ลับให้ตนเองก่อนการเดินทางอันยิ่งใหญ่ที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น

1.ลงมือเขียน  เริ่มต้นด้วยการลงมือเขียนเป้าหมายที่อยากทำเป็นลายลักษณ์อังษร เพื่อแสดงความตั้งใจ และสร้างข้อผูกมัดให้ทำให้สำเร็จ เราเชื่อว่าไม่มีอะไรยากเกิน ถ้าเราตั้งใจลงมือทำ ไม่แน่ความสำเร็จอาจไม่ไกลเกินเอื้อมคุณก็ได้ 2.ชัดเจนในสิ่งที่ทำ
เวลาคิดเป้าหมาย ขอให้คิดเฉพาะเจาะจงเข้าไว้ สิ่งที่คิดต้องมีความเป็นไปได้ และเป็นไปในทางสร้างสรรค์ มุ่งไปให้ชัดเจนในสิ่งที่จะทำ ไม่ใช่สิ่งที่ขาดตกบกพร่อง ไร้ความสามารถ หรือเป็นสิ่งที่ไม่ชอบ 3.คิดสิ่งที่ดีๆคิดถึงผลดีเข้าไว้เพื่อจูงใจตัวเอง ใคร่ครวญถึงสิ่งที่ดี ๆ ที่จะได้รับเมื่อทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ ซึ่งจะย้ำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่สำคัญกับตัวเองมากขึ้น และสมมติความรู้สึกดูว่าจะรู้สึกอย่างไร ถ้าทำในสิ่งที่เราตั้งเป้าไว้ได้สำเร็จ 4.ตั้งเป้าหมายให้สูงเข้าไว้ อย่าตั้งเป้าหมายให้ต่ำเกินไป อย่ากลัวที่จะล้มเหลว หรือเพียงเพราะว่าไม่อยากที่จะเหนื่อยเกินไป ลองตั้งให้เกินความคาดหมายไปสักเล็กน้อย แต่อยากมากจนไม่มีหวังเลย เพราะนั้นเท่ากับว่าไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

 5. วิเคราะห์ว่ามีอุปสรรคใดบ้าง ให้พิจารณาทางเลือกและอุปสรรคมีอะไรบ้างที่จะทำให้เป้าหมายที่ไว้นั้นสำเร็จด้วยดี และวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา อะไรที่จะเข้ามาขัดขวางสร้างปัญหา คุณลองถามตัวเองด้วยเหตุผลเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจ6. ลำดับความสำคัญก่อนหลัง เมื่อเราตั้งเป้าหมายแล้ว ให้จัดลำดับความสำคัญ และไล่เรียงสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับก่อน หลัง อย่างไรก็ตาม ควรวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนอย่างละเอียด รวมถึงคิดแผนสำรองเผื่อมีปัญหาเกิดขึ้นด้วย 7.เตรียมตัวให้พร้อม
ถามตัวเองว่ามีทักษะความรู้ ความสามารถอะไรอยู่แล้วบ้าง และมีอะไรเพื่อที่จะเสริมเข้าไปอีก มีอะไรที่ต้องเปลี่ยนแปลง วิจารณ์และประเมินตัวเองด้วยความเป็นจริง  8. กำหนดเงื่อนไขเวลา
ระบุวันที่ที่จะต้องทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ ถ้าไม่กำหนด เราก็คงจะไม่รู้ว่างานจะเสร็จเมื่อไหร่  สุดท้ายความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อคุณลงมือทำ และปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่งโดยเด็ดขาด
  ก่อนจากกันในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

อันตรายที่สุดสำหรับชีวิตคนเรา คือ การคาดหวัง

การพัฒนา...คน

องค์กรจะก้าวหน้าได้นั้นต้องอาศัยหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกันที่จะนำพาให้บรรลุเป้าหมาย แต่การพัฒนาตัวบุคคลก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญอยู่ ซึ่งแต่ละบุคคลก็ยังมีอีกหลายวัย เราก็ต้องพัฒนาให้ตรงกับวัยนั้นด้วย เพราะคนแต่ละรุ่น แต่ละวัย มีลักษณะที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรทั้งองค์กรได้ เราจึงต้องทำความเข้าใจในคนแต่ละรุ่นให้ดี แล้วจึงเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาพวกเขา เพื่อความเหมาะสมและประสิทธิผลที่ตามมา
    * Gen-B หรือ Baby Boomers คน ที่เกิดในช่วงปีพ.ศ. 2490-2508 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม ที่มีอาวุโสในองค์กร ชอบการทำงานที่มีแบบแผน ลักษณะการฝึกอบรมต่าง ๆ ควรอยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการ เน้นทฤษฎี และสามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน เช่น การเข้าห้องเรียน (Class room) การเข้าร่วมสัมมนา (Seminar) การฝึกอบรม (Training) เป็นต้น
    * Gen-X คนที่เกิดในช่วงปีพ.ศ. 2508-2522 เป็นกลุ่มที่ชอบการเรียนรู้ ช่างคิด ช่างซักถาม ชอบเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติมากกว่า เรียนทฤษฎี ดังนั้น การฝึกอบรมแบบเดียวกับที่ใช้กับ Baby Boomers ไม่เหมาะที่จะใช้กับ Gen X รูปแบบการพัฒนาคนกลุ่มนี้ควรเป็นการทำ Workshop การสอนงาน และการเป็นพี่เลี้ยงจะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ได้มากกว่า

  * Gen-Y คนที่เกิดในช่วงปีพ.ศ. 2523-2543 คนรุ่นนี้เกิดในยุคเทคโนโลยีที่เจริญรุดหน้าทั้งคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และไอที จึงชื่นชอบการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อออนไลน์เป็นพิเศษ ชอบโต้ตอบ แสดงความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ด และเครือข่ายออนไลน์ต่าง ๆ การพัฒนาพนักงานในกลุ่มนี้ให้ได้ผล อาจต้องนำสื่อออนไลน์มาประยุกต์เข้ากับแผนพัฒนาบุคลากร

 

วันนี้เวลาของเราก็หมดลงแล้ว ก่อนจากกันในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

 

ท้อแท้ได้แต่อย่าท้อถอย อิจฉาได้แต่อย่าริษยา พักได้แต่อย่าหยุด

ข้อคิดในการบริหารชีวิตเชิงมิติ

บทความน่าสนใจจาก website:www. SANOOK.com เรื่อง ข้อคิดในการบริหารชีวิตเชิงมิติ

หลายคนเกิดคำว่า "เสียดาย" ขึ้นในจิตใจ บางคนถึงกับบ่นออกมาว่า "ไม่น่าเลย รู้อย่างนี้น่าจะทำให้ดีกว่านี้" สาเหตุสำคัญเกิดจากความไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของมิติแห่งชีวิต การขาดการเชื่อมโยงเหตุและผลของกิจกรรมในชีวิตในแต่ละช่วงเวลา ชีวิตของคนเรามีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนคือ ร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อม และมี 3 มิติคือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งทั้ง 3 ส่วนและ 3 มิตินี้ จะมีความสัมพันธ์กันชนิดที่แยกออกจากกันไม่ได้เลยทีเดียว ถ้ามองในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ่ต่างๆแล้ว จะเห็นว่าถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบ เช่น จิตใจหดหู่ ย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกายและสังคม ในทางกลับกันถ้าร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์จิตใจเข้มแข็ง แต่ถ้าต้องอยู่ภายในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มี โอกาสที่จะทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนแอก็มีมากเหมือนกัน ถ้ามองในแง่ของมิติของชีวิตจะพบว่าสิ่งที่เราเป็นอยู่ มีอยู่ ในปัจจุบันนั้น เป็นผลพวงที่เกิดจากมิติในอดีตทั้งนั้นเลย เช่น การที่เรามีงานทำเกิดจากการที่เรามีความรู้จากการศึกษา จากประสบการณ์ก่อนหน้านี้ การที่เรามีบ้านในวันนี้เป็นเพราะเราเก็บเงินสร้างบ้านมาเมื่อหลายปีก่อน ถ้าเราไม่มีเมื่อวานเราก็คงไม่มีวันนี้
       ในขณะเดียวกันสิ่งที่เรากำลังทำ เป็นอยู่ มีอยู่ ในปัจจุบันนี้คือสะพานหรือรากฐานที่จะบันดาลอนาคตของเราเช่นเดียวกันกับที่อดีตสร้างปัจจุบันให้เรา งานที่เราทำอยู่ทุกวันนี้นี้คือบันไดแห่งความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้นในอนาคต ชีวิตครอบ ที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้คือรากฐานของครอบครัวลูกหลานในวันหน้า ความรู้และประสบการณ์ในวันนี้คือบทเรียนในวันพรุ่งนี้ คนที่ต้องการพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จในชีวิตนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องบริหารชีวิตบนพื้นฐานของการสร้างความสมดุลของ 3 ส่วนและ 3 มิติ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งเรื่องนี้เราคงไม่สามารถเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเหมือนเรื่องอื่นๆได้ เพราะชีวิตใครก็ชีวิตใคร ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับเจ้าของชีวิต ผมเพียงแต่อยากจะให้ข้อคิดเพื่อสะกิดใจให้กับท่านผู้อ่านในบางประเด็นเท่านั้น เช่น ได้อย่าง เสียหลายอย่าง  เราจะเห็นว่าคนทำงานที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหลายคน มักจะประสบกับความล้มเหลวด้านร่างกาย เพราะในขณะที่ทุ่มเททำงานหนักเพื่อความสำเร็จอยู่นั้น ขาดการดูแลร่างกาย ขาดการดูแลครอบครัวและสังคมรอบข้าง วันหนึ่งเมื่อความสำเร็จในหน้าที่การงานมาเยือน มันจะชักชวนเพื่อนที่เป็น "โรค" และ "ความล้มเหลวในชีวิตครอบครัว" มาด้วย เรื่องนี้คงจะพอเป็นข้อคิดให้กับผู้ฟังว่า "อย่าเอียง" ไปในด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ขอให้เดินทางสายกลาง เพราะวันหนึ่งสิ่งที่ได้มา (ทรัพย์สินเงินทอง หน้าที่การงาน) มันไม่สามารถมาชดเชยกันสิ่งที่จะเสียไป (การเจ็บป่วย ครอบครัวแตกแยก) ไม่ได้   อดีตคือประวัติศาสตร์ที่แก้ไม่ได้ คนหลายคนที่มีโอกาสที่ "เกือบจะ" ประสบความสำเร็จในชีวิตในด้านต่างๆมากมาย แต่เพราะ "อดีต" เป็นขวากหนามที่สำคัญ ทำให้พลาดโอกาสนั้น ๆไปอย่างน่าเสียดาย เช่น ผู้จัดการบางคนเป็นคนที่เก่งมาก ผลงานในตำแหน่งผู้จัดการดีมาก ถูกเสนอชื่อให้เป็นผู้บริหารระดับสูง แต่ติดอยู่ที่ว่าเมื่อตอนที่เป็นพนักงาน เคยทำผิดในกรณีทุจริตเล็กน้อยมาก่อน หรือเพียงแค่มีข่าวแว่ว ๆ มาว่าไม่ค่อยโปร่งใส เท่านี้ "ประตูชัยแห่งความสำเร็จ" ก็ปิดรับผู้จัดการคนนั้นไปเกือบสนิทเลยทีเดียว

ในความเป็นจริงของชีวิตแล้ว เราจะพบว่า "ความสำเร็จ" ที่เราภาคภูมิใจมากที่สุดไม่ใช่ความสำเร็จที่เรา "คาดหวัง" แต่เป็นความสำเร็จที่ "ไม่คาดหวัง" มากกว่า ดังนั้น เพื่อแสวงหา "ความสำเร็จที่ไม่คาดหวัง" จึงอยากให้ทุกคน จงทำงานทุกอย่างให้ดีที่สุดอย่างเต็มศักยภาพที่มีอยู่ แล้วความสำเร็จที่ท่านอยากได้ อยากเป็น จะมาพร้อมกับความสำเร็จที่ท่านไม่คาดหวังนะคะ

ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพียงเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงกับสิ่งนั้น ๆ เพียงไม่ช้านานเราก็จะได้พบเจอกับความสำเร็จที่เราได้คาดหวังไว้ โดยเฉพาะในการทำงาน คนเราทุกคนย่อมต้องการงานดี ๆ มีเงินเดือนเยอะ ๆ แต่ลืมมองที่ตัวเองว่า เราได้ทำหน้าที่ของเราได้ดีแล้วหรือ งานทุกงานมีความยากง่ายที่ต่างกัน แต่ถ้าเราตั้งใจจริง งานที่ว่ายากนั้น จะกลับกลายเป็นสิ่งที่ง่ายแสนง่าย

อ่านตัวเราและเชื่อมั่นในตัวเรา เพราะศักยภาพในตัวเรามีมากกว่าที่เราคิด

เมื่อเข้าสู่วัยเรียน หลายคนมองว่าเครียด เรียนยากบ้าง การบ้านเยอะบ้าง ไม่รู้จะเรียนจบไหม แต่ในที่สุดก็ผ่านในช่วงเวลานั้นกันมาได้ จนมาถึงวัยทำงาน กลับต้องร้องขึ้นมาทีเดียว เพราะเรียนที่ว่ายากแสนยากนั้น เมื่อมองกลับไป ทำไมมันง่ายอย่างนั้น เรียนนี่แหละสบายที่สุดแล้ว ไม่ต้องคิดอะไรให้มาก เรียน เรียน เรียนอย่างเดียว แต่การทำงานนี่สิ ที่ยากแสนยาก ถ้าไม่ขยัน และเก่งพอ ก็คงโดนเด้งเอาง่าย ๆ ซึ่งก็ถือว่าฝึกความอดทนของเราได้เป็นอย่างดี   แต่บางคนกลับหมกมุ่นอยู่กับการทำงานหนักจนเกินไป อันนี้ก็ถือว่าเครียดเกินไป เราจึงต้องรู้จักการแบ่งเวลาให้เป็น ถึงแม้งานจะหนักสักแค่ไหน เราก็มีวิธีรับมือกันได้ง่าย ๆ

เริ่มด้วยการวางแผนและจัดลำดับความสำคัญของงาน ไม่ใช่พอเริ่มรู้สึกว่างานหนัก มีแรงกดดันจากคนรอบข้างมากขึ้น แล้วจึงค่อยลงมือทำ ได้มีการวินิจฉัยว่า งานที่ทำเป็นงานที่สามารถทำได้คนเดียว หรือต้องทำร่วมกันเป็นทีม ถ้าเป็นงานที่ทำได้คนเดียว การวางแผนและจัดลำดับความสำคัญอาจสับสนวุ่นวายน้อยกว่ากรณีที่ต้องทำกันเป็นทีม

หากงานที่ได้รับต้องทำกันเป็นทีม สิ่งสำคัญที่สุด คือการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นหัวหน้าทีมด้วยแล้ว โปรดอย่าคิดเอาเองว่าทุกอย่างจะเรียบร้อย ทุกคนในทีมคงเข้าใจงานที่ต้องทำตรงกัน เพราะประสบการณ์และสถิติยืนยันว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ถ้าเป็นไปได้ ควรมีการประชุมทีมเสมอ ๆ ทั้งการประชุมรวมกันทั้งทีม และการแยกประชุมกับสมาชิกในทีมแต่ละคน เพื่อตรวจสอบความคืบหน้า รับทราบปัญหา หาทางแก้ไขและป้องกัน รวมทั้งเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า

หลายคนมองว่าการทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกันเป็นสิ่งที่ดี แต่ผลการวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของสมองคนเราพบว่า การทำอะไรหลายอย่างพร้อม ๆ กัน ทำให้มีข้อมูลจำนวนมากวิ่งเข้ามาในสมอง ซึ่งสมองของคนเราไม่สามารถรองรับข้อมูลได้ทั้งหมด ปัญหาก็คือ งานหลุด หรือขาดรายละเอียดที่ควรมี   ดังนั้น เมื่อเราต้องเผชิญกับการทำงานหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่เราเลือก แต่เกิดจากการถูกสั่ง หรือเหตุการณ์บังคับให้ต้องทำ จึงมีแนวทาง และหลักการในการทำงาน ดังนี้

- มองโลกในแง่บวก เพราะคนรอบ ๆ ตัวคุณอาจทำงานหนักและมีความเครียดเหมือนกับคุณ หรืออาจจะมากกว่าคุณก็เป็นได้ คุณอาจรู้สึกดีขึ้นได้ ว่าเราไม่ได้เป็นคนคนเดียวที่ต้องทำงานหนัก

- กระจายออก หรือกำจัดไป หลังจากที่ได้จัดลำดับความสำคัญของงานแล้ว อาจพบว่ามีงานบางอย่างที่สามารถส่งต่อให้คนอื่นทำได้ และอาจจะมีงานบางอย่างที่สามารถกำจัดทิ้งไปได้เลย แต่สิ่งสำคัญคือ คุณต้องทำให้คนอื่นเห็นว่างานที่กระจายหรือกำจัดไปนั้น เป็นงานที่ไม่จำเป็นต้องทำ หรือเป็นงานที่ไม่สามารถทำได้ หรือเป็นงานที่ทำได้ แต่อาจจะไม่ดีเท่าให้คนอื่นทำ หรือหากคุณใช้เวลาในการทำงานชิ้นนั้นไปทำงานอย่างอื่น จะได้ผลลัพธ์ในภาพรวมที่ดีกว่า เป็นต้น

- หาเวลาในการออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะคนเราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร ที่จะสามารถทำงานได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงควรเรียนรู้ที่จะดูแลตนเอง เรียนรู้จังหวะของชีวิต จะทำให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรง และเพิ่มพลังในการทำงานให้กับตัวคุณเองได้ต่อไป

- มีเป้าหมายในการทำงาน และการดำเนินชีวิตเสมอ แม้ในตอนนี้อาจจะยังไม่เห็น หรือยังไม่เชื่อ แต่สถานการณ์ที่เป็นอยู่นี้จะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หากคุณเข้าใจสัจธรรมเรื่องนี้ ทัศนคติเกี่ยวกับงานของคุณจะดีขึ้น ให้มองว่า งานที่ทำอยู่กำลังสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้กับตัวเอง แล้วคุณจะพบว่าคุณสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดมากมายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ศักยภาพความสามารถของแต่ละคน มีไม่เท่ากันอยู่แล้ว บางคนมีมากก็จริง แต่ไม่ค่อยกล้าแสดงออกมา บางคนก็แสดงออกมาอย่างเต็มที่ จนบางครั้งทำให้คนรอบข้างเกิดอาการหวั่นกลัว ประหม่าและไม่มั่นใจในตัวเองขึ้นมา จนทำให้คิดว่าเรามีศักยภาพไม่เพียงพอเมื่อไปเทียบกับเขา แต่ความเป็นจริงแล้วคนเราทุกคนต่างก็มีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว เพียงแค่ไม่แสดงออกมาให้คนอื่นรู้ก็เท่านั้นเอง เพียงขอให้ลองมองตัวเรา อ่านตัวเรา หาตัวเราให้พบ และให้เชื่อมั่นในตัวเรา เพราะศักยภาพในตัวเรามีมากกว่าที่เราคิด

ประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนคือมรดกอันล้ำค่า

คุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งของมนุษย์คือ การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่งได้ ทำให้มนุษย์เรามีความก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้ เราจะเห็นว่าปัจจุบันพัฒนากว่าอดีต และอนาคตต้องพัฒนาก้าวหน้าไปมากกว่าปัจจุบันอย่างแน่นอน ใครก็ตามที่ไม่ยอมเรียนรู้ประสบการณ์ในอดีต ย่อมมีโอกาสผิดพลาดซ้ำกับคนรุ่นก่อน ใครก็ตามที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ย่อมมีโอกาสก้าวหน้าน้อยกว่าคนอื่น ในสังคมของคนทำงานมีคนอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ แต่คนในสองกลุ่มนี้ก็สามารถแบ่งออกได้สองกลุ่มเช่นกันคือ กลุ่มคนที่ยึดติดกับอดีตไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง กับกลุ่มคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆชอบการเปลี่ยนแปลง  ดังนั้น การเป็นคนทำงานยุคใหม่หรือยุคเก่า
จึงไม่ได้อยู่ที่อายุตัวหรืออายุงาน แต่อยู่ที่การปรับตัวในการทำงานมากกว่า เราจะเห็นว่าคนที่มีอายุตัวหรืออายุงานมากบางคน เป็นคนที่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่กลัวเทคโนโลยี พร้อมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ในขณะที่คนรุ่นใหม่บางคนชอบทำงานแบบคนรุ่นก่อนๆ   ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ทำงานแบบไหนก็อยากทำเหมือนเดิมไปตลอด จึงสรุปไม่ได้ว่าคนทำงานยุคใหม่คือคนที่มีอายุน้อยเท่านั้นเพื่อให้คนทำงานที่มีความคิดทันสมัย (ทั้งคนที่อายุมากและอายุน้อย) มีเส้นทางการทำงานที่สดใส จึงขอให้ข้อคิดและแนวทางในการทำงานสู่ความสำเร็จดังนี้
ประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนคือมรดกอันล้ำค่า
คนเราเกิดมามีชีวิตเพียงรอบเดียว ไม่เหมือนเกมส์คอมพิวเตอร์ที่มีชีวิตที่หนึ่ง สอง สาม ตายแล้วเล่นใหม่ได้
ดังนั้น ในช่วงชีวิตโดยเฉพาะชีวิตแห่งการทำงาน คนทำงานรุ่นใหม่จึงควรป้องกันความผิดพลาดให้กับตัวเองโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนๆ ซึ่งมีทั้งประสบการณ์ที่เป็นความผิดพลาดที่สามารถนำมาใช้ในการวางแผน ป้องกันไม่ให้เราผิดพลาดซ้ำเรื่องเดียวกันกับคนรุ่นก่อน และนำเอาประสบการณ์ที่ดีของคนรุ่นก่อน มาเป็นสะพานในการก้าวไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน ดังนั้น อย่าดูถูกหรือมองข้ามประสบการณ์ของคนรุ่นก่อนว่าโบราณคร่ำครึไม่ทันสมัย? บริหารงานแบบใหม่ แต่ใส่ใจในการบริหารคนแบบเก่า ใครอยากจะประสบความสำเร็จในการทำงาน จงเรียนรู้เทคโนโลยีและเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ให้มาก แต่ควรนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเหลือน้อยลงเช่น ใช้อินเตอร์เน็ตในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน แต่ควรจะมีเวลาพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานแบบซึ่งหน้าบ้าง ไม่ใช่อะไรๆ ก็ให้เทคโนโลยีพูดแทน นอกจากนี้ เราจะเห็นว่าคนทำงานรุ่นก่อนๆ มีความสัมพันธ์กันดีมาก คนที่เคยทำงานในองค์กรเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะจากกันไปกี่ปีก็ตาม เวลามาเจอกันความสัมพันธ์ก็ยังแน่นเฟ้นเหมือนเดิม จึงอยากให้คนทำงานรุ่นใหม่ อย่าลืมวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันของคนรุ่นก่อนๆ  เพราะยิ่งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากเท่าไหร่ คนที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่คนที่จะประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องเข้าใจคนมากขึ้นด้วย
มีวินัยในตัวเอง นำพาตัวเองให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อใจ ความก้าวหน้า ความทันสมัยในด้านต่างๆ มักจะเป็นดาบสองคมเสมอ ยิ่งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้คนเกิดกิเลศมากขึ้นเท่านั้น เช่น เทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้า ยิ่งทำให้คนอยากได้โทรศัพท์มือถือ มีธุรกิจบัตรเครดิต มีธุรกิจซื้อสินค้าแบบเงินผ่อน ฯลฯ ยิ่งทำให้คนเกิดความอยากที่จะสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น คนทำงานรุ่นใหม่จึงต้องเจอกับสิ่งล่อตาล่อใจ ที่จะทำให้เกิดกิเลสมากกว่าคนทำงานรุ่นก่อนๆ พูดง่ายๆ คือคนรุ่นใหม่มีความยากลำบากในการดูแลตัวเองมากกว่าคนรุ่นเก่า เพราะสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อใจในด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น คนทำงานรุ่นใหม่ จึงต้องมีความเข้มงวดกับการปกครองและดูแลตัวเองให้มากกว่า  คนทำงานรุ่นก่อนๆ  จัดระบบการเก็บสะสมสะเบียงเพื่อชีวิตในอนาคตคนทำงานรุ่นก่อนๆ บางคนเกษียณอายุไปแล้ว ไม่มีเงินติดไม้ติดมือกลับไปอยู่บ้านก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
เพราะที่บ้านมีมรดกที่ดินเรือกสวนไร่นาจากพ่อแม่ หรือไม่ก็สามารถดำรงชีพแบบพอเพียงแบบชาวบ้านได้ แต่คนรุ่นใหม่เรียนจบมาพร้อมกับการขายนาขายไร่ของพ่อแม่ ถ้าทำงานไปแบบไม่เก็บสะสมอะไรไว้เลย แล้วจะใช้ชีวิตในบั้นปลายได้อย่างไร สิ่งที่คนรุ่นใหม่ ควรจะสะสมเป็นสะเบียงให้กับชีวิตตัวเองในระยะยาวคือ ประสบการณ์ชีวิตทั้งในงานและนอกงาน สะสมความดีที่ทำให้กับตัวเองและผู้อื่น สะสมเงินทองเพื่อไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น สะสมความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงไว้บ้าง
และสุดท้ายอาจจะต้องสะสมธรรมะเก็บไว้ในใจบ้าง เพราะชีวิตคนเรายิ่งอยู่นานมากขึ้นเท่าไหร่ สิ่งรุมเร้าที่จะเข้ามาในชีวิตเรานั้นมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหาทางกายและปัญหาทางใจ ดังนั้น การสะสมธรรมะไว้ก็จะนำไปใช้ได้ในยามจำเป็น
ไม่ใช่เพิ่งไปสวดมนต์ก็ตอนป่วย ไม่ใช่ไปทำดีช่วยเหลือคนอื่นตอนที่ตัวเองตกทุกข์ได้ยากแล้ว

                หลวงวิจิตรวาทการกล่าวไว้ว่า มีเรือดีดี  ไม่ขี่ข้าม ไปเอาเรือรั่วน้ำมาข้ามขี่ อยากได้แต่งานดีดี แต่เอาคนผีผีมาใช้งาน คำกล่าวนี้ให้แง่คิดในการเลือกคนเข้ามาร่วมงานด้วย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ
1. พวกพายเรือทวนน้ำ 
        คนประเภทนี้มีความคิดก้าวหน้า แต่มีนิสัยดื้อรั้น หัวแข็ง และก้าวร้าว การทำงานร่วมกับคนประเภทนี้ต้องใช้ความอดทน อดกลั้น และใช้เวลาจูงใจมากกว่าปกติ แต่ก็จะทำให้ได้ผลงานที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์

2. พวกพายเรือตามน้ำ
        คนทำงานประเภทนี้เป็นคนหัวอ่อน ว่านอนสอนง่าย และยอมทำตามกฎระเบียบทุกอย่างด้วยดี จึงทำงานร่วมกันได้ด้วยความสบายใจและได้ผลงานตามที่ต้องการ
3. พวกลอยตามยถากรรม
       คนทำงานประเภทนี้เป็นอันตรายต่อหน่วยงาน เพราะเป็นแรงงานที่ไม่สร้างประโยชน์ ทำงานไปวันๆ โดยไม่มีจุดหมาย ไม่ทะเยอทะยาน ไม่สร้างสรรค์ และขาดความกระตือรือร้น
4. พวกมือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ
       คนทำงานประเภทนี้เป็นอันตรายต่อหน่วยงานเช่นกัน เพราะชอบยุแยงตะแคงรั่ว สร้างความร้าวฉานให้เกิดขึ้น และชอบวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าสร้างสรรค์ผลงาน

องค์กรมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาคนที่เปลือกนอก

ในอดีตที่ผ่านมาองค์กรมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาคนที่เปลือกนอกคือมุ่งเน้นที่การพัฒนา "องค์ความรู้ (Knowledge)" “ทักษะ(Skill)” หรือ พฤติกรรม (Behavior)” มากกว่าการพัฒนาที่แก่นแท้ของคนซึ่งหมายถึง ทัศนคติ(Attitude)” “แรงจูงใจ(Motivation)” หรือ อุปนิสัย(Trait)” จึงทำให้การพัฒนาบุคลากรไม่ได้ผลเท่าที่ควร  การพัฒนาคนในหลายองค์กรมักจะมุ่งเน้นผลการพัฒนาระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาและฝึกอบรมจึงออกมาในลักษณะของการพัฒนาความรู้ ทักษะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถเห็นผลได้ทันที เช่น การฝึกอบรมเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ต อาจจะใช้เวลาเพียงวันเดียว จากคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตไม่เป็นก็สามารถใช้เป็นได้ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือ เราไม่ค่อยพัฒนาคนให้ยอมรับว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์กับชีวิตอย่างไร บางคนถึงแม้จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็น แต่รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์มากนัก เลยไม่ได้ใช้ ดังนั้น ทักษะที่เรียนรู้ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร   เราจะเห็นการพัฒนาคนจากเปลือกนอกได้ชัดเจนมากจากมินิมาร์ท ปั๊มน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้า ที่พนักงานของเขาทักทายหรือขอบคุณเราด้วยคำว่าสวัสดีหรือ ขอบคุณแต่เราสามารถสัมผัสได้ว่าคำพูดหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้น ไม่ใช่มาจากส่วนลึกของจิตใจ แต่เป็นเพียงพฤติกรรมที่ถูกฝึกมาและถูกบังคับให้ทำตามเงื่อนไขมากกว่า เช่น ถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งให้พูดคำว่า สวัสดีถ้าพนักงานคนนั้นถูกพัฒนามาจากภายในแล้ว ไม่ว่าเขาจะทำงานหรืออยู่ในสังคมภายนอก การทักทายหรือการขอบคุณนั้นจะต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลาและคำพูดนั้นจะต้องออกมาจากภายใน      แนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคต  เรามีความเชื่อมั่นว่าจะต้องเปลี่ยนจากการพัฒนาความ รู้ ทักษะ และพฤติกรรม ไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้เอง พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามทัศนคติที่เปลี่ยนไป องค์กรทุกองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องเจาะเข้าไปพัฒนาที่จิตใจของคนมาก ขึ้น องค์กรต้องหวังผลการพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะถ้าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนาภายในจิตใจของคนแล้ว การพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายนอกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป  ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

คนมองไม่เห็นการณ์ไกล ภัยก็จะมาถึงตัว

คนไม่รู้จักตัดไฟ ภัยก็จะน่ากลัว

ผู้นำมักจะเป็นแบบอย่าง (Role Model)

ผู้นำมักจะเป็นแบบอย่าง (Role Model)ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ความจริงจังกับงานของผู้นำย่อมทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่อาจปล่อยตัวตามสบายได้ซึ่งมักก่อให้เกิดความเครียดให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ถ้าหากผู้นำคนไหนไม่มีความจริงจัง โลเลเรื่อยเปื่อย องค์กรนั้นย่อมปั่นป่วน คนดีจะเบื่อหน่าย คนเลวจะสบายตัวไม่ต้องกลัวเจ้านายว่า อย่างไรก็ตามความจริงจังที่แสดงออกอย่างพอเหมาะจะกระตุ้นลูกน้องได้ หากมากไปลูกน้องเครียด บางคนถึงกับถอดใจก็มี บางครั้งผู้นำต้องมี อารมณ์ขัน(Sense of Humor) บ้าง เพื่อผ่อนคลายบรรยากาศที่เคร่งเครียดเกินไปในที่ประชุม แต่พบว่าบ่อยครั้งที่ลูกน้องกลับลำความรู้สึกไม่ทันขณะที่กำลังเครียดในที่ประชุม การพูดตลกของผู้นำเลยตลกอยู่คนเดียว ลูกน้องนั่งหน้าบึ้งอยู่รับมุขไม่ทัน บางทีไปนึกเอาได้ว่าเจ้านายพูดตลกหลังเลิกประชุม หรือที่บ้านเลยก็มี
การมีความคิดสร้างสรรค์(Initiative)            การคิดสิ่งใหม่ๆ ไม่ยึดติดรูปแบบเดิมๆ กล้าเสนอความคิดที่ไม่เหมือนคนอื่น ถือเป็นคุณลักษณะที่ดีของผู้นำ ที่ต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร ซึ่งสังคมวัฒนธรรมไทยโดยทั่วไปเลี้ยงลูกให้อยู่ในกรอบมาตั้งแต่เด็ก ให้การปกป้องตลอดเวลา ข้อดีคือเด็กมีความสุข อบอุ่นภายใต้โลกที่พ่อแม่สร้างให้ซึ่งบางครั้งไม่เป็นไปตามสภาพจริง ทำให้เติบใหญ่มาเป็นคนไม่กล้าคิดในสิ่งที่ต่างจากที่เคยเห็นเคยเป็น เรามักพบว่าองค์กรส่วนใหญ่มีแต่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่น่ารัก ไม่ค่อยพูดจาออกความเห็นโต้แย้งใครไม่ค่อยเป็น ยกเว้นมีความถนัดเกาะกลุ่มนินทากันนอกห้อง ชอบการรับคำสั่งที่ชัดเจน เพราะไม่ต้องรับผิดชอบกับการต้องคิดเอง ความคิดสร้างสรรค์นี้ ต้องฝึกกันมาตั้งแต่การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ผู้ใหญ่ฝึกก็ได้แต่ซึมซับยาก           การที่คนเราจะทำอะไรอย่างหนึ่งด้วยความมุ่งมั่น เพียรพยายาม และทุ่มเท การกระทำนั้นต้องเกิดจากความศรัทธาเชื่อมั่นต่อสิ่งที่กระทำ ผู้นำก็เช่นกัน ความศัทธาและเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำในการทำการใดๆ ที่ตนมุ่งหวังมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความศรัทธานี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนภายในที่ไม่มีหมดและยังบันดาล ให้มีเกิดความมุมานะ ความเชื่อมั่น ความพึงพอใจแห่งตนและการทำงานอย่างมีความสุข ผู้นำที่ดี ต้องให้ความสำคัญในการสร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นให้เกิดกับลูกน้องให้ได้ด้วย
           ความรัก เป็นตัวสะท้อนที่ละเอียดอ่อนของความเป็นมนุษย์ มันเป็นอารมณ์ที่ลึกซึ้งที่บุคคลแสดงต่อกันเป็นจุดก่อเกิดความผูกพัน สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์ ความรักต่อตนเอง และผู้อื่นอย่างมีดุลยภาพถือเป็นความรักที่ถูกต้อง โดยรู้จักการให้และการรับ บางคนถูกเลี้ยงมาในสภาพแวดล้อมที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ในวัยเด็กด้วยเหตุไดก็ตาม ทำให้เกิดภาวะกระหายรัก(Love Hunger) เมื่อเติบใหญ่ขึ้นมามักจะรักใครไม่เป็นรวมไปถึงรักตัวเองก็ไม่เป็นด้วย ความกระหายรักมากมักทำให้ตีความหมายของ ความรักผิดไปจากความเป็นจริง ทำให้มองเน้นไปในด้านรูปธรรม มากกว่านามธรรม เพราะสามารถเข้าใจในสิ่งที่เห็นได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องไปหาความหมายให้เสียเวลา เปรียบได้เหมือนคนที่หิวโหย เมื่อเห็นอะไรที่มองคล้ายกับอาหารก็จะรีบตะกรุมตะกรามจับเข้าปากทันทีโดยไม่มีการใคร่ครวญใดๆ ดังนั้นคนเหล่านี้จะมีความสุขพอใจในการได้รับ วัตถุ สิ่งของ กำนัล คำชม ป้อยอ โดยไม่มีการไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งและด่วนสรุป เหมาเข้าข้างตัวเองทันที่ว่าเขารักและศรัทธาตน จนกลายเป็น ความหลงมากกว่า บุคคลเช่นนี้มักไม่สามารถเป็นผู้นำที่ประสพความสำเร็จได้ เพราะหากได้เป็นผู้นำ คนประเภทนี้มักจะยอมสูญเสียทุกอย่างเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งการชื่นชม สิ่งของกำนัลหน้าตาชื่อเสียง(จอมปลอม)ที่มีผู้หยิบยื่นให้ ในที่สุดจะถูกหลอกจากบุคคลรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัวผู้นำที่ดีต้องรู้ที่จะรักตนเองและรักผู้อื่นอย่างมีดุลยภาพและใช้ความรัก บวกกับความจริงใจในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารลูกน้องอย่างเหมาะสมกับแต่ละสถาณการณ์           การเป็นผู้บริหาร ต้องมีความรู้อยู่สองอย่าง คือความรู้ในเนื้อหางาน(Techniques) และความรู้ในวิธีบริหารจัดการ(Management) ความเป็นผู้รู้เทคนิคในการบริหารถือเป็นศาสตร์ ที่สำคัญของผู้นำที่ต้องมีเพิ่มเติมจากความรู้ในวิชาชีพ บางครั้งองค์กรอาจสูญเสียผู้ทำงานที่ดีแต่ได้ผู้บริหารที่ไม่ได้เรื่องเพราะการมอบหมายงานที่ผู้นำมองผิดมุมไปเอาคนทำงานดีแต่ขาดทักษะบริหารมามาเป็นผู้บริหาร       ผู้นำต้องมีการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ ให้กับลูกน้องเพื่อการทำงานที่ถูกต้อง และมีประสิทธิผล ความเป็นครูของผู้นำเกิดจากการที่ผู้นำต้องอาศัยศักยภาพของลูกน้อง ในการทำงานให้ได้ผล ดังนั้น การสร้างคนให้มีความรู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความสำเร็จ ให้กับองค์กรในระยะยาว ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจึงต้องมีบทบาทเป็นทั้งครูและผู้ชี้แนะ (Teacher & Coach)ได้           ประสบการณ์ คือความรู้ที่ได้จากการกระทำของจริงที่ผ่านมา คนที่มีประสบการณ์มักเป็นผู้มองโลกได้อย่างลึกซึ้งและกว้างไกล เป็นปัจจัยก่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของผู้คนมากมาย แม้ว่าคนเหล่านั้นไม่ได้จบการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาใดๆมาก็ตามมันเป็นการเรียนรู้จากของจริงผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก แล้วสั่งสมเป็นความรู้ในบุคคลประสบการณ์บางครั้งอาจเรียนลัดได้จากการอ่าน ค้นคว้า สังเกต ของผู้อื่นแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง           กายและใจทั้งสองส่วนก่อเกิดเป็นตัวตนของบุคคลที่สมบูรณ์แบบ ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ไม่อาจสูญเสียส่วนไดส่วนหนึ่งไปได้ การรักษากายให้เข้มแข็ง และใจให้กล้าแกร่งของผู้นำเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำพาองค์กร ลูกน้องให้เดินตาม ผู้นำกายขี้โรค ใจขี้ขลาดย่อมไม่อาจนำพาผู้ใดได้    ผู้นำที่ดี ต้องเป็นคนแรกขององค์กรที่แสดงความเสียสละ เพื่อสร้างจิตสำนึกและเป็นแบบอย่างให้กับลูกน้อง ไม่มีลูกน้องในองค์กรไหนจะยอมเสียสละเพื่อเจ้านายที่เห็นแก่ตัว ความเสียสละยังหมายถึงเมื่อใดที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมา จะแสดงความรับผิดในสิ่งที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของผู้นำอย่างกล้าหาญ โดยไม่มุ่งเพียงกล่าวโทษแต่ลูกน้อง   ขณะเดียวกัน หากเมื่อไดองค์กรประสพผลสำเร็จ การสรรเสริญยกย่องคุณงามดี ความชอบให้แก่ลูกน้องโดยไม่แย่งเอามาเป็นของตนเองแต่ผู้เดียว

ผู้นำเมื่ออาสาตนเข้ามานำผู้อื่น ย่อมต้องอยากเห็นความสำเร็จ

"จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" หรือ Imagination is more important than knowledge ที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักคิด นักวิทยาศษสตร์ นักปรัชญา และศาสนา กล่าวไว้เป็นเวลาหลายปีวันนี้ยิ่งทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อวิถีโลกเศรษฐกิจสมัยใหม่ต้องอาศัยจินตนาการสุดล้ำเป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จทั้งธุรกิจ งาน และ ชีวิตส่วนตัว  ในการดำเนินงานธุรกิจทุกอย่าง ลูกค้าคือหัวใจ พนักงานคือแขนขา ผู้บริหารคือมันสมอง ระบบคืออวัยวะภายใน ประกอบเสริมสร้างกันให้คงอยู่ได้เป็น ชีวิต ธุรกิจไม่อาจที่จะขาดสิ่งไดสิ่งหนึ่งได้ ความสามารถของผู้บริหาร คือ ปัจจัยสำคัญยิ่งยวดในการกำหนดกระบวนการให้ชีวิตธุรกิจดำเนินไปได้ดีเลวมากน้อย แค่ไหน อย่างไรในการก้าวมาเป็นนักบริหาร สิ่งที่ต้องรับผิดชอบคือ ทำอย่างไร จึงจะสามารถเป็น ผู้นำความสำเร็จมาสู่งานที่ได้รับมอบหมาย และส่งผลโดยรวมให้เกิดความสำเร็จขององค์กรร่วมกับผู้อื่น 

           การต้องเป็น ผู้นำจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ คงไม่มีผู้บริหารคนไดที่ก้าวขึ้นมาเพราะถูกบังคับ มันเป็นความปรารถนาสูงสุดของทุกผู้คนที่เล่าเรียนจบมาที่อยากจะเป็น นั่นหมายถึงเกียรติยศ ความภูมิใจความมั่นคงแห่งตน และครอบครัว แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะมีโอกาสเช่นนี้ บางคนแม้มีโอกาส ก็ไม่อาจรักษาตำแหน่งเอาไว้ได้ อะไรคือปัจจัย เป็นคำถามที่มีคำตอบในแต่ละคนไม่เหมือนกัน      การบริหาร(Management)          คือกระบวนการคิด วางแผน จัดการ และควบคุม การใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และบรรลุ ถึงเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ในการจัดการ ผู้บริหารจึงมีความแตกต่างกัน ในความสามารถ ขึ้นกับกระบวนทัศน์ ความรู้ ความสามารถและความมุ่งมั่นของเขา
     การบริหาร เป็น ศาสตร์ส่วนภาวะผู้นำ เป็น ศิลป์ผู้บริหารที่จะประสพความสำเร็จได้ต้องประกอบด้วย ความรู้ในการบริหาร และมีภาวะผู้นำ ผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารจำเป็นต้องศึกษาวิชาการบริหารให้ถ่องแท้ และเข้าใจ หาไม่เช่นนั้นแล้วไม่อาจจัดการกับกระบวนการให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ ส่วนความเป็นผู้นำ แม้ว่าจะมีผู้เขียนตำรามากมายให้เราสามารถศึกษารวมทั้งเรียนรู้ได้จากตัวอย่างความเป็นผู้นำ ของบุคคลสำคัญที่ประสพความสำเร็จในอดีต แต่อย่างไรก็ตามการที่บุคคลหนึ่งจะซึมซับและมีภาวะผู้นำได้มักขึ้นมักขึ้นกับการได้รับการปลูกฝังและอบรมมาตั้งแต่ชีวิตในวัยเด็ก และเกิดการสั่งสมเรียนรู้ในการเป็นผู้นำ การเรียนรู้ใดๆสำหรับเขาต่อมาเป็นเพียงการตอกย้ำ และพลิกแพลง เพิ่มเติมความสามารถให้กับเขาเท่านั้นเอง ดังนั้น ผู้บริหารในองค์กรจะมีให้เห็นมากมาย แต่ภาวะผู้นำจะหาพบได้น้อยมากใน แต่ละองค์กร ส่วนมากเป็นผู้นำโดยการแต่งตั้ง อาศัยความเป็นเครือญาติ เพื่อนฝูง คนสนิท บุญคุณต้องทดแทน หากคนเหล่านั้นไม่ปรับตัว อาจทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพในการบริการจัดการ ซึ่งถือเป็นต้นทุน (Operational Cost) ขององค์กรที่สูญเสียไปไม่ใช่น้อยทั้งเกิดจากความผิดพลาด(Cost Of Defect)และ สูญเสียโอกาสที่จะได้(Opportunity Cost)   ผู้นำเมื่ออาสาตนเข้ามานำผู้อื่น ย่อมต้องอยากเห็นความสำเร็จทุกๆเรื่องภายใต้การบริหารของตน สิ่งที่หวังไว้ต้องเริ่มต้นจากการมีวิสัยทัศน์แห่งตน (Personal Vision)ก่อน และได้วางเป้าหมายในเรื่องงานและชีวิตส่วนตัวไว้อย่างไรบ้างและควรไปให้ถึง           มนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนมี ความอยากเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้มนุษย์แสวงหาไม่หยุดนิ่ง หาก ความอยากนั้นเป็นไปในทางที่ดี เรียกว่ามีความใฝ่ดี(Creative Tension) ซึ่งทางพุทธ เรียกว่า ฉันทะใน อิทธิบาท 4 ซึ่ง เป็นธรรมมะของผู้ใฝ่ความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ(คือพึงพอใจ ความอยากได้ อยากเห็น อยากเป็น อยากมีในทางที่ดี มีแล้วเกิดความสุข ปิติโสมนัส) วิริยะ (คือความเพียรพยายามให้ได้มา ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค) จิตตะ (คือการมุ่งมั่นจดจ่อในการกระทำก่อให้เกิดสมาธิปัญญา) วิมังสา (คือความใคร่ครวญรอบคอบ ไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งที่กระทำ)    แต่ถ้าหาก ความอยากนั้นเป็นไปในทางที่ไม่ดี คือความใฝ่ต่ำเพื่อตอบสนองอารมณ์(Structural Conflict) ซึ่งทางพุทธเรียกว่า ตัณหาซึ่งมีตัวกิเลสเป็นแกนนำ และมีตัวอุปทานคอยส่งเสริมยึดติดไม่ให้หลุดพ้น ทั้ง ความใฝ่ดีและ ความใฝ่ต่ำล้วนมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนต่อสู้กันอยู่ แล้วแต่ว่าส่วนไหนจะเอาชนะได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสภาพชีวิตที่เป็นอยู่จริง(Current Reality)ของคนๆนั้น 
หากผู้นำที่มาบริหารงานมีความต้องการ แต่ไม่มีเป้าหมาย ก็ไม่ต่างจากการเดินทางไปเพราะอยากเดิน แต่ไร้ทิศทาง ไม่รู้ว่าจะมุ่งสู่ที่ใด
และหากเป้าหมายเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์ ทางดี ย่อมจะมีโอกาสประสพความสำเร็จที่ยืนยาวได้  ทั้งนี้ความสำเร็จยังต้องอาศัยความเพียร มุ่งมั่น มีสติรู้เท่าทัน และมีปัญญาในการคิดใคร่ครวญแก้ปัญหารวมถึงการลงมือที่จริงจัง   มีคำกล่าวไว้ว่า องค์กรไหนมีผู้นำที่ฉลาดรอบรู้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มุ่งมั่นขยันจะมีกำลังใจต่อสู้ ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขี้เกียจไม่ได้เรื่องจะอยู่อย่างหวาดระแวง หากองค์กรไหนมีผู้นำที่โง่เขลาเบาปัญญา ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มุ่งมั่นขยัน จะอึดอัดและท้อแท้ ส่วนผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขี้เกียจไม่ได้เรื่องจะเริงร่าสบายใจ

หลักการคิด เพื่อพิชิตเป้าหมาย

วันนี้ดิฉันขอนำเสนอ หลักการคิดเพื่อพิชิตเป้าหมาย แต่ละองค์กรย่อมมีการการวางเป้าหมายกันไว้แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้องค์กรไปถึงเป้าหมายนั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และประสบความสำเร็จได้เร็วที่สุด แต่สำหรับนักบริหารแล้ว การคิดเพื่อพิชิตเป้าหมายให้สำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย เพราะคำว่า บริหาร นั่นหมายความว่า การบริหารจัดการทั้งหมด ทั้งเกี่ยวกับตัวพนักงาน และรายละเอียดของงาน ซึ่งผู้บริหารที่ดีต้องให้ความสำคัญแม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยเสมอ จึงจะถือว่าเป็นผู้บริหารที่ดี
แนวทางหลักการคิด เพื่อพิชิตเป้าหมาย มีหลักการดังต่อไปนี้

1. การคิดที่เป็นระบบและมองให้ทะลุ เพื่อจะได้สร้างและรักษาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการที่จะทำได้นั้น ผู้ประกอบการต้องขจัดความคิดเดิมที่ว่า ตนเองสามารถมองภาพธุรกิจได้ และสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องมีรูปแบบที่แน่นนอน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้ประกอบการหลายท่านขาดความรู้ในเรื่องของกระบวนการทางธุรกิจว่าจะสามารถทำในภาพที่ตนเองคิดอยู่อย่างนั้นได้อย่างไร แม้การทำกิจกรรมทางธุรกิจของ SME ในช่วงเริ่มต้นไม่ใช่เรื่องยากเมื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจที่มีมิติมากขึ้นจะต้องอาศัยวิธีและกระบวนการคิดและการจัดการที่เป็นระบบเพื่อให้สามารถทำดำรงธุรกิจให้ยั่งยืนได้
2. รู้จักการเลียนแบบและมองให้เป็น หากพบว่ารูปแบบธุรกิจไหนดี ก็ควรจะมาใช้โดยไม่ต้องคิดใหม่ ถึงแม้จะเป็นการลอกเลียนความสำเร็จของคนอื่นแล้วนำมาสร้างสิ่งที่แตกต่างและโดดเด่น แต่ไม่ใช่การลอกเลียนแบบสินค้า ซึ่งเราอาจจะสามารถมองเห็นการเลียนแบบรูปแบบธุรกิจได้มากมายในธุรกิจ แฟรนไชส์และในธุรกิจขายตรง
3. คิดถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ โดยต้องตอบให้ได้ว่าทำไมลูกค้าจึงมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ก่อนที่จะคิดแต่ว่าเราต้องการขายสินค้าอะไร
4. เข้าใจการตลาดอย่างถ่องแท้ให้ได้ โดยต้องมองว่า การสร้างแบรนด์เป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จที่ยั่งยืน เพราะแบรนด์ คือบันไดสู่การเติบโตของธุรกิจ
5. สร้างเครือข่ายที่ดี การมีเครือข่ายที่ดีนั้นเกิดประโยชน์ได้หลายทางทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเน้นที่การช่วยเหลือกันละกันเป็นหลัก ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้รับจากเครือข่ายนั้น เป็นผลพวงที่จะเกิดขึ้นตามมา
6. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และการยอมเปิดโลกทัศน์ใหม่ ด้วยการพยายามมองหาสิ่งใหม่ ๆ เพื่อรองรับอนาคต และท้าทายตัวเอง ไม่กอดแน่นอยู่กับสิ่งเดิม ๆ ที่คิดว่าดีอยู่แล้ว หรืออ้างเงื่อนไขข้อจำกัดมากมาย ถ้ามีความจำเป็นต้องหาผู้ร่วมทุนก็ต้องทำโดยไม่เสียดายหรือยึดติด เพื่อจะนำเงินมาใช้ในสิ่งที่ฝันหรือธุรกิจที่ใหญ่กว่าเดิม เพราะทางธุรกิจต้องมีการแข่งขัน และความสำเร็จเมื่อวานไม่ได้บอกอะไรไปมากกว่ารากฐานที่ดี
7
. ใช้เงินอย่างถูกต้อง ยึดอยู่กับธุรกิจหลักให้มั่นคงก่อน เพราะโดยทั่วไปเมื่อมีรายได้จากการประกอบธุรกิจแรกหรือดำเนินการไปซักระยะพอเห็นโอกาสในธุรกิจหรือโอกาสในเรื่องอื่น ๆ ที่ดีกว่าก็ดึงเงินจากธุรกิจเก่าออกไปลงทุนในธุรกิจใหม่เสียจนหมด แม้ว่าการลงทุนในสิ่งที่ใหม่ที่เห็นโอกาสอยู่นั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่ต้องทำให้เป็น ต้องแยกระบบการเงินออกเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกันเพื่อไม่ให้ธุรกิจที่ดีต้องหยุดการพัฒนาหรือเสียหาย หากอีกธุรกิจล้มเหลวนั่นเอง