การสอนงานด้วยความใส่ใจในความแตกต่างของแรงจูงใจ

หัวหน้างานหรือผู้สอน ที่ไม่ได้คำนึงถึงความถนัดในการรับรู้ (Perceptual Style) ของพนักงานว่ามีความแตกต่างกัน ซึ่งความถนัดในการรับข้อมูลข่าวสาร อาจแบ่งได้ 3 แบบ คือ 1) ถนัดรับรู้จากการเห็น การสาธิตให้ดู (Visual) การเขียนเป็นภาพประกอบ Flowchart ต่างๆ แบบที่ 2) การรับรู้จากการฟัง การได้ยิน (Auditory) และ 3) ถนัดกับการรับรู้โดยการลงมือปฏิบัติ (Kinesthetic) ปัญหาการสอนที่ไม่ค่อยได้ผลจนทำให้ผู้สอนหมดกำลังใจ บางครั้งอาจเกิดจากผู้สอนใช้วิธีการสอนที่ตนเองถนัด เช่น ผู้สอนที่ถนัดรับรู้จากการฟัง ก็จะเผลอสอนงานแบบพูดอธิบายให้ฟังเพียงอย่างเดียว ในขณะที่พนักงานผู้เรียนเป็นผู้ถนัดการรับรู้ด้วยการเห็น (Visual) ต้องมีการสาธิต การเขียนเป็นภาพต่างๆ ก็อาจจะเข้าใจไม่ชัดเจน การสอนในครั้งนั้นก็ขาดประสิทธิภาพไป ทั้งที่ต่างฝ่ายต่างมีความตั้งใจที่ดีในการเรียนรู้และการสอนงาน การสอนงานเป็นเรื่องดีที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้สอน กล่าวคือ ก็จะทำให้ผู้สอนขวนขวายความรู้และเทคนิคต่างๆ ให้สูงขึ้นตลอดเวลา เป็นประโยชน์ต่อพนักงานในการยกระดับความรู้ในงานให้สูงขึ้น และองค์กรก็จะได้ประโยชน์จากความรู้ของบุคลากรที่ช่วยให้องค์กรแข่งขันได้ และเติบโตได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การสอนงานด้วยความใส่ใจในความแตกต่างของแรงจูงใจ และวิธีการรับรู้ เรียนรู้ของพนักงานก็จะช่วยให้การสอนงานเป็นเรื่องดีที่ทำได้ไม่ยากอีกต่อไป

Comments are closed.