นิทาน ...กว่าจะมาเป็นวันขึ้นปีใหม่

ในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2555 นี้  ดิฉันมีเรื่อง  กว่าจะมาเป็นวันขึ้นปีใหม่    มาเล่าให้ฟัง  เวลาผ่านไปเร็วจริง ๆ เผลอเดี๋ยวเดียว ปี พ.ศ. 2554 ก็สิ้นสุดลง เริ่มต้นศักราชใหม่ ปี พ.ศ. 2555 กันแล้ว เรื่องราวความเป็นมาของวันขึ้นปีใหม่นั้นนับว่ามีประวัติยืดยาว กว่าจะมาเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างที่เรารู้จักในปัจจุบัน ต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและความเหมาะสมมาไม่น้อย   เริ่มต้นจากยุคแรก ๆ ที่ชาวบาบิโลเนีย คิดค้นใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี แต่การนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาลจะมีระยะเวลาต่างกันอยู่ จึงเพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน รวมเป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนีย มาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ ปรากฏว่าการนับวันเดือนปีทางจันทรคติได้คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงถึง 3 เดือน แทนที่จะเป็นฤดูหนาวกลับยังเป็นฤดูใบไม้ร่วง พระองค์จึงนำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ที่ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงซึ่งเป็นการยกเลิกการนับตามจันทรคติและให้ใช้การนับทางสุริยคติแทนโดยการคำนวณขยายปีออกไป ให้เดือนและฤดูกาลตรงกับความเป็นจริง ให้ปีหนึ่งมี 365 กับ ¼ วัน แต่เพื่อความสะดวกจึงให้ปีปกติมี 365 วัน และทุก ๆ 4 ปี ให้เพิ่มวันอีก 1 วัน เรียกกันว่าปีอธิกสุรทิน คือปีที่มี 366 วัน ซึ่งเป็นการนับปฏิทินตามระบบซีซาร์ ประกาศใช้เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 497 (46 ปีก่อนคริสตศักราช) คือกำหนดให้เดือนต่าง ๆ มี 31 และ 30 วันสลับกันไป เว้นแต่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน แต่ถ้าเป็นปีอธิกสุรทิน จึงเพิ่มเป็น 30 วัน แต่พอถึงสมัยจักรพรรดิ ออกุสตุสก็ได้ปรับปรุงปฏิทินเป็นแบบยูเลียน กำหนดให้เดือนหนึ่งมี 30 วัน และมีวันเพิ่ม 5 วันเรียกอธิกวาร ลดเดือนกุมภาพันธ์เหลือ 28 วัน ปีไหนเป็นปีอธิกสุรทินจึงมี 29 วัน และเพิ่มวันในเดือนสิงหาคมจาก 30 วันเป็น 31 วัน แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องทำให้วันเวลาผิดไปจากความจริงคือทุก 128 ปีจะมีวันเกินความเป็นจริงไป 1 วัน ถ้าทิ้งไว้ก็จะคลาดเคลื่อนมากขึ้นทุกที เพราะวันในปฏิทินจะยังไม่ตรงกับฤดูกาลจริง คือเวลาในปฏิทินจะยาวกว่า ทำให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน  และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นวันที่เวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออกและตกตรงทิศตะวันตกพอดี ในวันนี้นี่เองทั่วโลกจึงมีเวลา 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกกันว่า เป็นวันทิวาราตรี เสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่พอเอาเข้าจริง ในปี พ.ศ. 2125 วันที่ว่านี้ กลับไปเกิดในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม พระสันตะปะปาเกรกอรี่ที่ 13 แห่งโรม จึงได้ประกาศเลิกใช้ปฏิทินแบบยูเลียน ได้ปรับปรุงหักวันออกจากปีปฏิทิน 10 วัน โดยกำหนดให้หลังวันที่ 4 ตุลาคม เป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทนเฉพาะในปี พ.ศ2125 เท่านั้น และกำหนดเพิ่มว่าหากปีไหนตรงกับปีศตวรรษ ห้ามให้เป็นปีอธิกสุรทิน ยกเว้นปีนั้นจะหารด้วย 400 ลงตัว เช่น ปี ค.ศ. 1600, 2000, 2400 ฯลฯ จึงจะเป็นปีอธิกสุรทินได้
แต่ถึงกำหนดไว้เช่นนั้น วันเวลาก็ยังจะมีการคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง แต่ก็ต้องใช้เวลากว่าสามพันปีจึงจะผิดไป 1 วัน การคำนวณปฏิทินแบบใหม่นี้เรียกว่าปฏิทินเกรกอเรียน ซึ่งนิยมใช้มาจนถึงทุกวันนี้ และได้ประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เกี่ยวกับวันขึ้นปีใหม่ของไทยเราเอง ก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเหมือน กัน ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 4 ระยะด้วยกัน
เริ่มต้นที่จารีตประเพณีของไทยแต่โบราณ ได้ถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนาและเหมือนหลาย ๆ ชาติที่ถือเอาฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นของปี เพราะคนสมัยก่อนเห็นว่า ฤดูหนาวเป็นช่วงที่ผ่านพ้นฤดูฝนอันมืดครึ้ม สว่างเหมือนเวลาเช้า ส่วนฤดูร้อนเป็นช่วงที่สว่างเหมือนเวลากลางวัน และฤดูฝนเป็นเวลามืดหม่นคล้ายเวลากลางคืน เขาจึงนับฤดูหนาวซึ่งมักตรงกับเดือนอ้ายของไทยที่สว่างเหมือนเวลาเช้าเป็นการเริ่มต้นแห่งปี นับช่วงฤดูร้อนเป็นกลางปี และช่วงฤดูฝนเป็นปลายปี
ต่อมาในระยะที่สอง ไทยเราได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 คือราว ๆ ช่วงสงกรานต์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปถือตามคติพราหมณ์ที่นับวันทางจันทรคติ โดยใช้ปีนักษัตร (ชวด ฉลู ขาล เถาะ ฯลฯ) และการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์
วันขึ้นปีใหม่ แม้จะเป็นเพียงสิ่งที่คนเราสมมุติขึ้นมาก็ตาม แต่ก็มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และเป็นสิ่งที่ดี เหมือนมีหลักให้เราได้มีเวลาพักตั้งตัวและเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้งในแต่ละช่วงของชีวิต เราน่าจะใช้วันขึ้นปีใหม่เป็นโอกาสในการพิจารณาและทบทวนตนเองว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านไป 1 ปี เราได้ใช้เวลาเหล่านั้นอย่างคุ้มค่าหรือไม่ เราได้กระทำคุณงามความดีหรือทำสิ่งไม่ถูกต้องไว้อย่างไรบ้าง แล้วหาโอกาสกระทำความดี ปรับปรุงแก้ไข และวางแผนดำเนินชีวิตตนเองให้ก้าวหน้าต่อไป
วันขึ้นปีใหม่เป็นช่วงที่ดีแห่งการเริ่มต้นและการรับสิ่งใหม่อันเป็นมงคลแก่ชีวิตเข้ามา เราจึงควรใช้ฤกษ์ที่ดีงามนี้ตั้งจิตอธิษฐานให้รู้จักรักตัวเองให้มากขึ้น ด้วยการดูแลรักษาตัวเราให้ดีพร้อมทั้งกาย วาจา และใจ ตลอดจนเผื่อแผ่ความรักนี้ไปยังเพื่อนร่วมโลก เพื่อให้โลกของเราเป็นโลกที่น่าอยู่ตลอดไปคะ

พอมาถึงระยะที่สาม เนื่องจากวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ มีความคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้น ในวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ปี พ.ศ. 2432 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เมษายน นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเพื่อให้วันปีใหม่ตรงกันทุกปี ซึ่งนับเป็นการใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ในยุคนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี แต่ถึงแม้เราจะใช้ปฏิทินทางสุริยคติแล้วก็ตาม เราก็ยังใช้การนับทางจันทรคติควบคู่กันไปด้วย
ส่วนในระยะที่สี่ คือ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 รัฐบาลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงครามได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม คือวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี โดยให้เหตุผลว่า วันดังกล่าวกำหนดขึ้นโดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางด้านดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้มากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่มีความเกี่ยวข้องกับลัทธิ ศาสนา หรือการเมืองของชนชาติใด กลับสอดคล้องกับจารีตประเพณีไทยแต่โบราณที่ใช้ฤดูหนาวเป็นต้นปี จึงทำให้เรามีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับนานาประเทศเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา
ฟังธรรม ถือศีลปฏิบัติธรรม บ้างก็ทำบุญตักบาตร

Comments are closed.