ทำงานไปเพื่ออะไร

ถ้าจะถามบุคคลทุก ๆ อาชีพว่า ทำงานไปเพื่ออะไรคงจะได้รับคำตอบ ที่แตกต่างกัน ตามแต่ความมุ่งหวังของแต่ละบุคคลแต่สิ่งที่ทุกคนจะปฏิเสธ ไม่ได้ในเรื่องของความต้องการที่เกิดจากผลของการทำงาน ซึ่งหมายถึงเป้าหมายของการทำงานนั้นก็คือ
1. ทำงานเพื่อให้ได้เงิน ถึงแม้เงินจะไม่ใช่เป้าหมายของทุกงานก็ตาม แต่หลักความจริงอันหนึ่ง ก็คือ มนุษย์เรามีความต้องการด้านร่างกาย มนุษย์จึงพยายามทำงานเพื่อให้ได้เงินมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ขวนขวายหาวัตถุหรือสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ตนเองได้อยู่อย่างสุขสบาย การทำงานจึงต้องมุ่งหวังเงินเป็นสิ่งตอบแทน
2. ทำงานเพื่อให้ได้อำนาจ นอกจากความต้องการด้านร่างกายแล้ว มนุษย์ยังต้องการให้คนอื่นเคารพยำเกรง ชอบการยกย่องชมเชย การทำงานส่วนมากจึงตั้งเป้าหมายที่จะเป็นหัวหน้างานหรือผู้นำที่มีอำนาจเป็นผู้บริหารกิจการของรัฐ
3. ทำงานเพื่อให้ได้ตำแหน่งทางสังคม การมีอำนาจและตำแหน่งจะมีความ เกี่ยวพันกัน เพราะเมื่อมีตำแหน่งก็จะมีอำนาจในการสั่งการหรือบริหารตามความมุ่งหวังของตน
4. ทำงานเพื่อความรู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ เพราะถ้าหากทำงานได้บรรลุเป้าหมายหรือสำเร็จ ก็จะรู้สึกภาคภูมิใจ และได้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ทั้งยังจะได้รับความชื่นชมจากคนอื่นอีกด้วย
5.ทำงานโดยมีเป้าหมายเพื่อสังคมและส่วนรวมจะมีกลุ่มบุคคล
อีกกลุ่มหนึ่งที่มีเป้าหมายในการช่วยเหลือสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนต่อ ประโยชน์ส่วนตน เช่น มูลนิธิการกุศล สมาคมสงเคราะห์ หรือนักบวชที่อุทิศตนให้ศาสนา มุ่งหวังสอนบุคคลให้เป็นคนดี อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขจากเป้าหมายของการทำงานจึงพอสรุปได้ว่า บุคคลทำงานอาชีพมีเป้าหมายของการทำงานเพื่อให้ตนเองและบุคคลอื่นที่อยู่ในสังคม เกิดความสุขทุก ๆ ด้านตามความต้องการของมนุษย์ ความสุข คือ ความสบายกายสบายใจของบุคคล ความสำเร็จของงาน ก็คือ การทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ของงานนั้น ๆ ดังนั้น ความสุขที่เกิดจากความสำเร็จของงาน จึงหมายถึง ความสบายกาย สบายใจ เมื่อทำงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. เกิดความมั่นใจในคุณภาพของงาน หมายถึง ความเชี่ยวชาญ ชำนาญการในงานที่ตนเองรับผิดชอบ
2. มีความสุขกับงาน รู้สึกชอบทำงานนั้นอีกเมื่อทำงานสำเร็จก็มีความภูมิใจ และคิดว่างานที่เราเคยทำสำเร็จ ถ้าได้ทำงานเหมือนเดิมก็จะพอใจและเต็มใจ ผลงานก็จะดีขึ้นกว่าเดิม
3.พอใจในผลตอบแทนที่ได้จากงานที่ทำประสบความสำเร็จ
4.มีน้ำใจและอยากเผยแพร่ผลงาน
5. พร้อมที่จะทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้นซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของบุคคล ที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานให้ดีให้เด่นขึ้นกว่าเดิม จึงพร้อมที่จะทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น
6. การประสานสัมพันธ์เพื่อนร่วมงานดีขึ้น ลักษณะของบุคคลที่ทำงาน ประสบความสำเร็จจะเป็นบุคคลที่มีการประสานสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้ดี เพราะบุคคลทุกคนก็ต้องการทำงานกับคนเก่ง คนดี คนที่เคยมีผลงานดีเด่น
7. ครอบครัว ญาติพี่น้องให้กำลังใจและให้ความร่วมมือ เป็นลักษณะทั่วไปของสังคมไทยที่ชื่นชมและยกย่องเฉพาะคนทำดี
โดยเฉพาะครอบครัว ญาติพี่น้องมีส่วนสำคัญที่จะเป็นกำลังใจอยู่เบื้องหลัง ของความสำเร็จ ความสุขก็จะเกิดขึ้นในชีวิตและครอบครัว
8. ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือบุคคลทั่วไปให้เกียรติและชื่นชมในผลงาน             งานทุกอย่างย่อมมีอุปสรรค มีคนจำนวนมากที่ทำแล้วล้มเหลว ผิดหวังในชีวิต ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้งานไม่สำเร็จมีสาเหตุดังนี้
1. งานยากไป งานบางงานมีความยากไปสำหรับบางคนที่ไม่รู้จักประเมินความสามารถของตน การงานที่ยากไปก่อให้เกิดปัญหาการทิ้งงานและการหนีงานเกิดความท้อแท้ เบื่อหน่าย ต้องใช้เวลาในการทำงานมาก
2. ขาดความชำนาญ ขาดประสบการณ์ที่ดีพอ ทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน ต้องรู้จักพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาเพิ่มเติม สอบถามผู้รู้อยู่เสมอ
3. ขาดกำลังใจ กำลังใจมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่มีความซับซ้อน ยุ่งยาก ใช้เวลามาก ต้องมีคนให้กำลังใจ ให้แรงสนับสนุนถึงจะสำเร็จลงได้
4. ขาดความพร้อม ทีมงานไม่พร้อมทำให้งานล้มเหลว ขาดวัสดุอุปกรณ์ ทำให้งานดำเนินไปไม่ได้ ต้องสร้างความพร้อมให้ตนเอง และเพื่อนร่วมงานก่อนการทำงานทุกครั้ง
5. ขาดความต่อเนื่อง งานทุกอย่างถ้าขาดความต่อเนื่อง งานไม่เป็นไปตามระยะเวลา ที่กำหนด เร็วไปหรือช้าไป จะทำให้ผลงานออกมาไม่ดี ไม่เป็นที่พอใจของตัวเองและคนประเมินผลงาน
6. ขาดความคล่องตัว เนื่องจากคิดช้า กังวล หรือกำลังกายกำลังใจไม่พร้อม
ขาดเครื่องอำนวยความสะดวก เพื่อนร่วมงานไม่ให้ความร่วมมือ
7. ขาดความตั้งใจ เป็นปัญหาที่สำคัญมากในการดำเนินกิจการทุกอย่าง เพราะถ้าขาดความตั้งใจแล้ว ผลงานออกมาจะไม่ดี ฉะนั้น ขอให้ตั้งใจ ในการทำงานอยู่เสมอ ถามตัวเองว่าเราตั้งใจมากเพียงพอหรือยัง
8. ขาดการพิจารณาใช้บุคคลให้เหมาะสมกับงาน เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าบุคคลได้งานที่ตนเองไม่มีความรู้ความถนัดในเรื่องดังกล่าว ระบบงานโดยภาพรวมก็จะล้มเหลวลงไปด้วย จึงต้องมีศิลปะการเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน

Comments are closed.