การใช้สมุนไพรในอาหาร

สมุนไพร ตามความหมายของพระราชบัญญัติยา หมายถึง ยาที่ได้จาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งยังมิได้มีการผสม หรือแปรสภาพเป็นอย่างอื่น บทบาทของสมุนไพรในชีวิตประจำวันของคนไทย นอกจากในแง่ของการเป็นยารักษาโรค หรือใช้ในส่วนประกอบของเครื่องร่ำ เครื่องประทินผิว หรือใช้เป็นไม้ประดับสวยงามแล้ว บทบาทสำคัญ คือ การใช้เป็นอาหารรวมทั้งเครื่องดื่ม ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ คนไทยในอดีตจึงสำนึกถึงคุณค่า และใช้ประโยชน์จากสมุนไพรอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้า วิทยาการต่าง ๆ ส่งผลให้วิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต แต่ขณะที่ประเทศกำลังเจริญก้าวหน้า เราพบว่าการดำรงชีวิตกลับต้องหวลคืนสู่วิถีแห่งธรรมชาติ จึงเป็นที่มาของการยอมรับการใช้พืชสมุนไพร เป็นส่วนประกอบในอาหารของคนไทยกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

พืชสมุนไพรในอาหารมีอะไรบ้าง ?
พืชสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร แบ่ง 6 ประเภท ดังนี้

  1. ธัญญาหาร (Cereal)
  2. ถั่วและผลที่มีเมล็ดเดี่ยวเปลือกแข็ง (Legumes and Nuts)
  3. ผัก (Vegetables)
  4. ผลไม้ (Fruits)
  5. เครื่องเทศ (Spices)
  6. พืชที่นำมาเตรียมเครื่องดื่ม (Beverage Plants)

การบริโภคอาหารจากสมุนไพร เป็นการปฏิบัติที่มีในเมืองไทยมาช้านานแล้ว และในปีปัจจุบัน ได้มีการรณรงค์ให้รับประทานอาหารจากสมุนไพรในกลุ่มชนทุกระดับ เป็นแนวทางส่งเสริมการบริโภคอาหารจากธรรมชาติแขนงหนึ่งที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนไทย

นำพืชสมุนไพรมาใช้ในอาหารได้อย่างไร ?

การนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในการศึกษาการนำสมุนไพรมาใช้ในคุกกี้ ได้เลือกทดลองในผักสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ ต้นหอม ขิง ตะไคร้ และใบมะกรูด โดยวิธีการทำให้แห้งด้วยการตาก หรืออบ แล้วบดให้ละเอียด จากนั้นจึงเสริมลงในคุกกี้ชนิดแช่เย็น ผลการศึกษาพบว่า สามารถให้ลักษณะ และรสชาติที่ดีในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว รวมทั้งเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

  1. พืชสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด มีประโยชน์ดังนี้
    ต้นหอม : ช่วยย่อยอาหาร ทำให้เจริญอาหาร ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ลดไขมันในเลือด แก้ไข้ แก้หวัด ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
    ขิง
    เหง้า : แก้อาเจียน ไข้หวัดใหญ่ ไอ หอบ อืดแน่น ท้องเสีย ขับเสมหะ ขับลม ขับปัสสาวะ และแก้พิษ
    เปลือกเหง้า : ขับลม ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ท้องอืดแน่น
    ตะไคร้
    ทั้งต้น : ใช้ขับลม ทำให้เจริญอาหาร แก้ท้องอืดแน่น ไข้หวัด ปวดหัว ไอ ปวดกระเพาะปัสสาวะ ท้องเสีย ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้มหรือกระทบกระแทก ประจำเดือนมาผิดปกติ บวมน้ำ
    ใบมะกรูด : ช่วยขับลม แก้จุกเสียด แน่น
  2. การทดลองดังกล่าว สามารถใช้สมุนไพร ซึ่งจัดเป็นสมุนไพรในครัวเรือน เสริมในผลิตภัณฑ์ขนมอบ ซึ่งมีพื้นฐานจากต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมการใช้สมุนไพรให้มีบทบาทในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอีกแนวทางหนึ่ง

ตอนต่อไปโปรดติดตาม อาหารเพื่อสุขภาพจากสมุนไพร

ขั้นตอนและเทคนิคการดำเนินงานรายการราชมงคลพระนครกับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ (การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม)

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. รับหนังสือเชิญการเข้าร่วมออกอากาศการศึกษาทางไกล จากสำนักงานการศึกษาทางไกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  2. รับหนังสือเชิญการเข้าร่วมออกอากาศการศึกษาทางไกล จากสำนักงานการศึกษาทางไกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  3. แจ้งเวียนหน่วยงานต้นสังกัดในการส่งผลงานร่วมรายการโดยใช้ชื่อรายการ “ราชมงคลพระนครกับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์”
  4. รวบรวมผลงานวิจัย จัดทำกำหนดการออกอากาศ และตอบรับการร่วมออกอากาศการศึกษาทางไกล
  5. จัดทำขั้นตอนการบันทึกรายการและการเตรียมตัวเพื่อบันทึกรายการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ http://www.ird.rmutp.ac.th หัวข้อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  6. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแจ้งรายชื่อผลงาน และผู้รับผิดชอบร่วมรายการ
  7. ผู้ร่วมรายการจัดทำแผนการออกอากาศรายคาบ (แผนการสอนรายคาบ) และสื่อคอมพิวเตอร์ (Power point) ประกอบการบันทึกรายการ
  8. ประสานงานผู้ดำเนินรายการ ผู้ร่วมรายการ ผู้บันทึกรายการ เพื่อนัดวัน เวลา สถานที่ สำหรับการบันทึกรายการ
  9. ดำเนินการบันทึกรายการ
  10. นำผลงานภาพกิจกรรมระหว่างการบันทึกรายการ และสื่อประกอบการออกรายการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ http://www.ird.rmutp.ac.th หัวข้อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  11. ประเมินผลการดำเนินงาน
  12. รายงานผลการดำเนินงาน

เทคนิคการดำเนินงาน

  1. ควรมีการจัดเตรียมผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ไว้ล่วงหน้าเพื่อให้มีจำนวนผลงานมากเพียงพอในการจัดทำรายชื่อ และกำหนดการออกอากาศ ซึ่งสามารถดำเนินงานล่วงหน้าได้
  2. จัดทำขั้นตอนการบันทึกรายการ และการเตรียมตัวเพื่อบันทึกรายการ ประชาสัมพันธ์ถึงผู้ร่วมรายการเพื่อให้ทราบข้อมูลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมตัวของผู้ร่วมรายการ
  3. ผู้รับผิดชอบต้องมีการประสานงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการบันทึกรายการเนื่องจากบุคลากรอาจติดภารกิจทางราชการ
  4. กรณีผลงานที่นำออกอากาศเป็นผลงานของนักศึกษา ต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าร่วมบันทึกรายการด้วยเพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักศึกษา และร่วมตรวจสอบข้อมูลทางราชการของผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์

ขั้นตอนและเทคนิคการดำเนินงานการจัดนิทรรศการวิจัย

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. รับหนังสือเชิญการเข้าร่วมแสดงนิทรรศการจากหน่วยงานภายนอก
  2. แจ้งเวียนหน่วยงานต้นสังกัดในการส่งผลงานเข้าร่วมจัดนิทรรศการวิจัย และรอหนังสือตอบกลับจากหน่วยงาน
  3. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติการดำเนินงาน ต่ออธิการบดี มทร.พระนคร
  4. แต่งตั้งคณะกรรมการจัดนิทรรศการ คณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการดำเนินการ
  5. แจ้งหนังสือยืนยันการเข้าร่วมการแสดงนิทรรศการ โดยระบุจำนวนผลงาน ชื่อเรื่อง และรายละเอียดของผลงาน
  6. ประสานงานกับหน่วยงานผู้จัด เกี่ยวกับแผนผังการจัดงาน เลขที่ประจำคูหา และรายละเอียดในการจัดงานโดย เฉพาะวัน เวลา ในการขนของเข้า-ออก
  7. จัดสถานที่แสดงผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน
  8. จัดแสดงนิทรรศการ พร้อมสาธิตผลงาน ตามระยะเวลาที่ขออนุมัติโครงการ
  9. ประเมินผลการดำเนินงานตามความคิดเห็นของผู้เข้าชมงาน
  10. รายงานผลการดำเนินงาน

เทคนิคการดำเนินงาน

  1. ควรเตรียมแผนการจัดนิทรรศการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ล่วงหน้าโดยจัดทำเป็นแผนปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงาน
  2. ควรมีการรวบรวมผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นในแต่ละปีงบประมาณ และประสานงานถึงเจ้าของผลงานเพื่อติดต่อขอให้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการ
  3. ควรมีการประสานงานกับหน่วยงานผู้จัด และผู้รับผิดชอบการจัดงาน (Organizer) อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันความผิดพลาดในเรื่องสถานที่ เวลาการขนผลิตภัณฑ์เข้า-ออก และรายละเอียดอื่นๆ
  4. ควรให้เจ้าของผลงานที่จัดนิทรรศการ หรือผู้แทนอยู่ประจำคูหาเพื่อสามารถให้ข้อมูลแก่ผู้เข้าชมงานหรือผู้สนใจได้
  5. ควรมีการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดนิทรรศการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิจัยต่อยอด หรือถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป