Category: ข่าวประชาสัมพันธ์

KM-Weekly-17-ก.ย.-60 เรื่อง การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้


ที่่มา : สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ผู้ดำเนินรายการ : นฤศร มังกรศิลา

KM-Weekly-10-ก.ย.-60 เรื่อง  กรณีศึกษาของบริษัทชั้นนำที่ให้ความสำคัญกับการ “รับฟัง”

ที่่มา : สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ผู้ดำเนินรายการ : นฤศร มังกรศิลา

KM-Weekly-3-ก.ย.-60 เรื่อง Education 4.0 กับการจัดการความรู้

ที่่มา : สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ผู้ดำเนินรายการ : นฤศร มังกรศิลา

ถ่ายทอดความรู้ (คุณกิจ) โดย

ศาสตราจารย์ ดร.จรัญ จันทลักขณา

ผู้เชี่ยวชาญด้านจรรยาบรรณการวิจัย 

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บันทึกเรื่องเล่า เรื่อง

–>> ธรรมะเพื่อการวิจัย และจรรยาบรรณการวิจัย

จากที่กระผมได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับหลักการดำเนินการวิจัยที่ถูกต้องตามหลักธรรมภิบาล และหลักธรรมะ จรรยาบรรณสำหรับการเป็นนักวิจัยที่ดีต้องทำอย่างไร สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

      เหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่บ่งชี้ว่านักวิจัยจะต้องมีจริยธรรมอย่างยิ่ง เนื่องจาก…..

อ่านเพิ่มเติม ได้ที่ลิงค์นี้ –>> ธรรมะเพื่อการวิจัย และจรรยาบรรณการวิจัย

บทความ KM รายเดือน ครั้งที่ 12 : (1-29 February 2016)
เรื่อง การรับรู้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

เขียนและเรียบเรียงโดย อ.นฤศร  มังกรศิลา  

หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษาและงานจัดการความรู้ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

บทความ KM รายเดือน ครั้งที่ 12 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวในงานสัมมนา ‘Franchise Guide 2014’ ซึ่งร่วมกันจัดระหว่างสมาคมแฟรนไชส์ไทยกับบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ว่า ข้อดีของธุรกิจแฟรนไชส์ คือ ความง่ายของมือใหม่ที่จะอยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจ เพราะจะได้ทั้งในด้านความรู้ ประสบการณ์ของเจ้าของแฟรนไชส์ที่จะมาถ่ายทอด รวมถึง ยังได้รับความเชื่อถือมากกว่า โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งทุน หากเป็นหน้าใหม่ เป็นเรื่องยากที่สถาบันการเงินจะอนุมัติสินเชื่อให้ แต่หากซื้อแฟรนไชส์กับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงย่อมได้รับการอนุมัติที่ง่ายกว่า

ทั้งนี้ แฟรนไชส์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม แต่สิ่งที่อยากจะฝากให้แก่ผู้ที่กำลังคิดจะสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ น่าจะหันมาริเริ่มธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ เพราะจากการเก็บข้อมูลของ สสว. พบว่า ปัจจุบันทั่วโลกธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกำลังประสบความสำเร็จอย่างสูง และที่สำคัญเป็นธุรกิจที่มีอัตราทำกำไรสูงมากกว่า 200%

“จากการเก็บข้อมูลผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยประมาณ 3 แสนรายของ สสว. พบว่า โดยเฉลี่ยเอสเอ็มอีไทยมีอัตรากำไรจากการทำธุรกิจเฉลี่ยแค่ประมาณ 4% เท่านั้น ในขณะธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพความงาม และการดูแลสุขภาพมีอัตราทำกำไรสูงถึง 200% ซึ่งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป เริ่มมีธุรกิจแฟรนไชส์เกี่ยวกับธุรกิจดังกล่าวแล้ว แต่สำหรับในเมืองไทยยังไม่มีเลย ดังนั้น อยากฝากว่า ถ้าสำหรับผู้ที่กำลังคิดจะทำแฟรนไชส์ ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ จึงเป็นโอกาสที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งเวลานี้ ทาง สสว.ได้มีโครงการร่วมมือกับต่างประเทศแล้ว เพื่อส่งเสริมธุรกิจนี้ในเมืองไทย” ดร.วิมลกานต์ กล่าว

ด้านนางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย กล่าวว่า ปัจจุบันในเมืองไทยมีแฟรนไชส์ประมาณ 320 แบรนด์ แบ่งเป็นธุรกิจอาหาร 100 แบรนด์ เครื่องดื่ม 110 แบรนด์ ค้าปลีก 30 แบรนด์ บริการ 40 แบรนด์ และการศึกษา 50 แบรนด์ โดยร้านที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์ มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องทุกปีเฉลี่ย 20-25% โดยมีสาขารวมกว่า 80,000 แห่ง และมีอัตราเกิดใหม่ไม่ต่ำกว่า 20 แห่งต่อวัน โดยเป็นการเปิดโดยบริษัทแม่เอง 30-40% และของผู้ลงทุนแฟรนไชส์ 60-70%

ทั้งนี้ การเลือกซื้อแฟรนไชส์ ผู้ลงทุนควรหาข้อมูลให้แน่ใจเสียก่อน วิธีที่ดีที่สุด คือเยี่ยมชมร้านที่เปิดอยู่แล้ว และควรหาโอกาสพูดคุยกับผู้ลงทุนซื้อแฟรนไชส์มาก่อนแล้วหลายๆ ราย และควรเลือกลงทุนในแฟรนไชส์ที่มีแบรนด์น่าเชื่อถือ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง

ที่มา : astv online

ผ่านไปอีกปีสำหรับงานแจกรางวัลครั้งยิ่งใหญ่ของเหล่าคนออนไลน์ทุกสาขา ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ใครจะเป็นคุณ ขอแค่มีผลงานเข้าตาโดดเด่น ทำธุรกิจมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ารวดเร็วและมากมายเป็นเลิศบนโลกโซเชียล ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เอาไว้ เพื่อวัดผลไม่ใช่แค่ไลค์เยอะเหมือนครั้งก่อน ที่สำคัญสถิติต่างๆ ที่ถูกบันทึกไว้โดยทาง Zocial inc. ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะกับใครก็ตามที่ต้องการต่อยอดธุรกิจบนโลกโซเชียล

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ พ่อมดออนไลน์จากโซเชียลอิงค์ (Zocial inc) จัดงาน Thailand Zocial Awards 2014 presented by True Money แจกรางวัลให้แก่นักธุรกิจและบุคคลที่ประสบความสำเร็จในโลกออนไลน์ตลอดปีที่ผ่านมา พร้อมวิเคราะห์ทิศทางการตลาดจากกระแสความนิยมและพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคบน Social Media

ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัท โซเชียลอิงค์ จำกัด (Zocial inc.) กล่าวว่า “ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่เราจัดงาน Thailand Zocial Awards ขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจ ให้ความรู้และมอบรางวัลให้แก่แบรนด์และบุคคลที่โดดเด่นในโลกออนไลน์ เนื่องจากงานปีที่แล้วได้รับเสียงตอบรับดีมาก นอกจากนี้ข้อมูลสรุปภายในงานสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดผลงานให้วงการ Social Media ผลิตงานที่มีคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ส่วนวัตถุประ สงค์ของการจัดงานนี้ เพื่อต้องการกระตุ้นและสร้างพื้นฐานให้วงการ Social Media ของไทย และเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตมากขึ้น เป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Social Media เช่น พฤติกรรมของคนบน Social Media, บทบาท, มูลค่าของอุตสาหกรรมออนไลน์

รวมถึงข้อมูลแยกย่อยสำหรับวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค อาทิ การโพสต์รูป คนไทยชอบการโพสต์รูปผ่านช่องทาง Facebook และ Twitter มากที่สุด, ช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งาน social network มากที่สุดคือ 22.00 น. หรือรูปแบบโพสต์สำหรับกิจกรรมการตลาดที่ผู้บริโภคไม่พึงใจที่สุดคือ ถ่ายภาพคู่ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สามารถพูดได้ว่าจากนี้ไปทางแบรนด์หรือนักการตลาด นักกลยุทธ์ จะต้องปรับการตลาดให้เหมาะสมและทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา

รวมทั้งนำไปวิเคราะห์ตีความให้การจัดกิจกรรมทางการตลาดเป็นไปในรูปแบบที่โดนใจผู้บริโภคมากที่สุด ซึ่งทั้งหมดทาง Zocial inc ได้รวบรวมสถิติในทุกมิติผ่าน ZocialRank และ ZocialEye ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้ประกอบการทั่วประเทศมานาน จึงมั่นใจได้ในฐานข้อมูลที่เป็นจริงของเราในวันนี้”

นอกจากนี้ ภาวุธได้กล่าวถึงวงการตลาดออนไลน์ระดับโลกไว้ว่า “สำหรับภาพรวมในต่างประเทศนั้น ช่วงปีหลังๆ มานี้ ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการทำการตลาดเลยทีเดียว ซึ่งในเมืองไทยเองนับว่าเริ่มเติบโตขึ้น ดูได้จากตัวเลขการใช้เม็ดเงินลงทุนโดยสมาคมโฆษณาดิจิตอล (ประเทศไทย) ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2557 คาดการณ์งบประมาณการโฆษณาสื่อดิจิตอลไว้ที่ 5,863 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นจากปี 2556 คิดเป็น 38.03% ทำให้การตลาดออนไลน์ในไทยมีการแข่งขันสูงขึ้น โดยธุรกิจต้องแข่งขันกันในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์และกิจกรรมต่างๆ ที่จะออกมาทางสื่อออนไลน์มากขึ้น และฟังเสียงผู้บริโภคออนไลน์ (Social Listening and Monitoring) กลุ่มนี้ เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการวางแผนได้อย่างทันท่วงที”

โดยนักธุรกิจที่ได้รับรางวัลในสาขาต่างๆ มีดังนี้1.Top Brand Engage on Social Media by Category

– Beverage รางวัลแบรนด์ที่มีค่าปฏิสัมพันธ์บน Social network ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมากที่สุดในประเทศไทย คือ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด มีค่าปฏิสัมพันธ์ 6,199,676 ครั้ง

– IT and Digital รางวัลแบรนด์ที่มีค่าปฏิสัมพันธ์บน Social network ในอุตสาหกรรมไอทีและดิจิตอลมากที่สุดในประเทศไทย คือ บริษัท ไทยซัมซุงอิเลคโทรนิคส์ จำกัด มีค่าปฏิสัมพันธ์ 15,036,738 ครั้ง

– Bank & Finance รางวัลแบรนด์ที่มีค่าปฏิสัมพันธ์บน Social network ในอุตสาหกรรมการเงิน

และธนาคาร มากที่สุดในประเทศไทย คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีค่าปฏิสัมพันธ์ 3,438,002 ครั้ง

– Food รางวัลแบรนด์ที่มีค่าปฏิสัมพันธ์บน Social network ในอุตสาหกรรมอาหารมากที่สุดในประเทศไทย คือ ผลิตภัณฑ์เลย์ มีค่าปฏิสัมพันธ์ 2,749,435 ครั้ง

– Automobile รางวัลแบรนด์ที่มีค่าปฏิสัมพันธ์บน Social network ในอุตสาหกรรมเครื่องยนต์มากที่สุดในประเทศไทย คือ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย มีค่าปฏิสัมพันธ์ 1,462,831 ครั้ง

2.รางวัล Best Branded Content on Social Media แบรนด์ที่ทำเนื้อหาบน Social Media ได้ยอดเยี่ยมในประเทศไทย คือ Campaign Share ACoke โดยบริษัท โอกิลวี่วันเวิลด์วายด์ จำกัด และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด

3.รางวัล Best Customer Service on Social Media แบรนด์ที่ดูแลและให้บริการบน Social Media ได้ยอดเยี่ยมในประเทศไทย คือ Oriental Princess Society

4.รางวัล Best Social Media Campaign แบรนด์ที่ทำกิจกรรมบน Social Media ได้ยอดเยี่ยมในประเทศไทย คือ Campaign ShareACoke โดยบริษัท โอกิลวี่วันเวิลด์วายด์ จำกัด และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด

5.Top Line Official Account on Business แบรนด์ LINE ที่มีคนติดตามมากที่สุดในประเทศไทย

– รางวัลแบรนด์ LINE ที่มีคนติดตามมากที่สุดในประเทศไทย TruemoveH มียอดติดตาม 16,659,463

– รางวัลแบรนด์ LINE ที่มีคนติดตามมากที่สุดในประเทศไทย รองอันดับ 1 Muang Thai Life มียอดติดตาม 15,094,375

– รางวัลแบรนด์ LINE ที่มีคนติดตามมากที่สุดในประเทศไทย รองอันดับ 2 Dtac มียอดติดตาม 14,000,839

6.The Fastest Respond Brand in Pantip แบรนด์ที่ตอบโต้บน Pantip เร็วที่สุดในประเทศไทย คือ Dtac ในนาม feedback@dtac.co.th – 3,498 วินาที หรือ 58 นาที

7.Top Brand growth of the Year แบรนด์ที่มีอัตราการเติบโตบน Social network อย่างต่อเนื่องมากที่สุดในประเทศไทย คือ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด – 11,396,263 ครั้ง.

ที่มา : ไทยโพสต์

แนะกลยุทธ์เอสเอ็มอีไทยสู้ได้ในตลาดอาเซียน

 

มูลนิธิเอเชียร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ จัดสัมมนาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคในหัวข้อ “การปรับทัพ AEC ให้สอดคล้องกับ SMEs” หรือ “Making ASEAN Economic Community Work for SMEs” ขึ้น ซึ่งงานเสวนาดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมาก

Ms.Penchan Manawanitkul, Senior Officer Enterprise Development, Asean Economic Community (AEC), Department ASEAN Secretariat กล่าวถึงการพัฒนา SMEs เพื่อรองรับ AEC โดยระบุว่า หัวใจหลักที่จะทำให้ธุรกิจ SMEs สามารถรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีด้วยกัน 4 ช่องทาง ได้แก่ 1.การพัฒนาบุคลากรทางธุรกิจ 2.การผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ 3.การทำให้วัตถุดิบมีมูลค่ามากขึ้น และ 4.การขยายตลาด นอกเหนือจากคู่แข่งทางการค้า ควรมีการเปิดตลาดใหม่ๆเพิ่มเติม ขณะเดียวกันการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐในการไปดูงานต่างประเทศจะช่วยให้ผู้ประกอบการเพิ่มวิสัยทัศน์เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าได้มากยิ่งขึ้น

คุณอดิทัต วะสีนนท์ ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากผลสำรวจความพร้อมที่จะเข้าสู่ AEC ของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs เมื่อปลายปีที่แล้วพบว่า มีผู้ประกอบการถึงร้อยละ 60 ที่ระบุว่ายังไม่พร้อม โดยให้เหตุผลว่ารอนโยบายทิศทางที่ชัดเจนจากภาครัฐ เงินสนับสนุน การปรับตัว และบางส่วนระบุว่าเป็นแค่กิจการขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องแข่งขันกับนานาชาติเนื่องจากมีตลาดในประเทศอยู่แล้ว ขณะที่ร้อยละ 30 ระบุว่าพร้อม และ ร้อยละ10 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ นอกจากนี้จากผลการสำรวจยังพบว่า ไทยมีจุดอ่อนเรื่องภาษาที่ต้องปรับปรุง ทำให้มีผลต่อการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการจัดอบรมความรู้ การจัดการบริหารบุคลากร รวมทั้งการลดต้นทุน พลังงาน วัตถุดิบ ภาษี การเพิ่มผลิตภาพและการสนับสนุนการส่งออกให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

คุณพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการ AEC Prompt หอการค้าไทย กล่าวว่าผู้ประกอบการ SMEs ไม่ควรมองแค่เพียงกลุ่มประเทศอาเซียนแต่ควรมองรวมไปถึงทั่วโลก เนื่องจากหัวใจการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่ใช่แค่การหวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องควบคู่ไปกับมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ภายใต้แนวคิดที่ว่าโลกต้องการอะไร ทำอย่างไรให้ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ทำลายธรรมชาติน้อยที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการต้องเชื่อมโยงธุรกิจให้ตอบสนองพร้อมๆกันทุกด้าน จากนั้นตลาดจะเข้ามาเอง

Mr.Agus Muharram,lr.,MSP,Secretariat Ministry, Ministry of Cooperatives and SMEs, Indonesia กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของอินโดนีเซีย โดยระบุว่า รัฐบาลของอินโดนีเซียมีนโยบายที่จะทำให้ธุรกิจ SMEs ในประเทศรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยการสนับสนุนทางการเงิน มีการออกนโยบายให้เงินกู้พิเศษแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงการสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้า SMEs ในกรุงจาร์กาตาและการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ผู้ประกอบการ เสริมความเชื่อมั่นทำให้ธุรกิจ SMEsเข้มแข็งขึ้น

ในงานยังมีการถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จ กลยุทธ์ของเอสเอ็มอีในการเจาะตลาดอาเซียน ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดย Ms.Tran Thi Hai Yen, SLIMMER STYLE Shareholding Inc., ประเทศเวียดนาม มองว่าการทำธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จนั่นคือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างธุรกิจกับธุรกิจโดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หากประเทศที่เป็นสมาชิกมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆอันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนและเพิ่มมุมมองในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และประเด็นที่ต้องคำนึงถึงในการผลิตสินค้าคือ ต้องสร้างแบรนด์สินค้าอาเซียน สินค้าที่สามารถไปขายได้ทุกประเทศสมาชิกอาเซียน

Yen เล่าประสบการณ์การทำตลาดนิชมาร์เกตในเวียดนามซึ่งกำลังเติบโตขณะนี้นั้น มีประสบการณ์ลองถูกลองผิดมาเช่นกัน ในการผลิตและออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้าแต่สุดท้ายตระหนักว่าเราไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าสำหรับคนทุกกลุ่มแต่ผลิตสินค้าที่เราเชี่ยวชาญและทำได้ดีที่สุดเท่านั้น จึงเจาะที่กลุ่มลูกค้าเฉพาะช่วงวัย 27-45 ปีเท่านั้น โดยปัจจัยที่ทำให้สำเร็จคือคุณภาพสินค้าและบริการหลังการขาย มีบริการดี และติดตาม รวมทั้งพัฒนาไปข้างหน้า เมื่อสินค้าพร้อม ตลาดพอไปได้ และจังหวะเวลามาถึง ก็ลุยเลย แต่ต้องไปอย่างรู้เขารู้เรา ไม่ต้องไปกังวลกับรายละเอียดที่เป็นอุปสรรคมากนักเพราะทุกกฎระเบียบย่อมมีข้อยกเว้น

คุณมรกต สิงหแพทย์ ประธานบริษัท SIGMA&HEARTS ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีการขยายไปตั้งโรงงานแห่งที่สองที่ประเทศอินโดนีเซีย ด้วยเหตุผลตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศเริ่มอิ่มตัวมองหาตลาดต่างประเทศ และพบว่าตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศอินโดนีเซียยังเปิดกว้าง มีความต้องการใช้รถจักรยานยนต์มากกว่า 7-8 ล้านคัน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำถูกกว่าประเทศไทย ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยต้องอย่ากลัวที่จะไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะที่อินโดนีเซียเป็นตลาดที่ยังเปิดกว้างในหลาย ๆ ด้าน นับเป็นโอกาสของนักธุรกิจเอสเอ็มอีไทยให้กล้าเข้าไปลงทุน

อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจ SMEs (Small and Medium Enterprises) ถือเป็นธุรกิจที่มีบทบาทไม่ต่างจากธุรกิจขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการเปิดประตูสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (AEC) ในปี 2558 จะส่งผลให้ภูมิภาคอาเซียนกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีฐานการผลิตรวมกัน รวมถึงเป็นการสร้างอำนาจต่อรองด้านการค้าและเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลกได้อย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น การพัฒนาและปรับโหมดธุรกิจ SMEs ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจ SMEs ปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้

ที่มา : newswit.com