คนทำงานต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง

คนทำงานต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ส่วนหนึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่จะต้องบริหารจัดการและดูแลพนักงานในช่วงอายุที่แตกต่างกัน โดยเน้นย้ำการสื่อสารให้ชัดเจน
แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วมาก บางครั้งพนักงานปรับตัวไม่ทัน พนักงานก็อาจจะตั้งคำถามว่า รักษาพนักงานไว้ได้ไหม? บางครั้งถ้ารักษากันไว้ไม่ได้จริงๆ อย่างน้อยที่สุดบริษัทก็ต้องปฏิบัติกับเขาเหล่านั้นอย่างยุติธรรม
ตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่งบริษัท GE เคยปลดพนักงาน 60,000 คนทั่วโลก พนักงานบอกว่าเขาได้รับโอกาสจากบริษัทให้ปรับปรุงตัวเอง แต่ถ้ายังไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ GE ก็ยินดีจ่ายค่าชดเชยให้ ขณะที่ประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง ญี่ปุ่น หรือเกาหลี ตอนนี้ก็เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานไปหมดแล้ว บริษัทชั้นนำอย่าง โตโยต้า ซัมซุง ไม่มีการจ้างงานตลอดชีพ แต่เน้นประสิทธิภาพจากผลการปฏิบัติงานแทนดังนั้นองค์กรไทยก็จำเป็นต้องไปในทิศทางเดียวกันนี้เหมือนกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการทำตามธรรมเนียมฝรั่ง หรือการมองข้ามความภักดี เพราะความภักดีที่ว่านั้นจะต้องอยู่ภายใต้ผลงานที่คงเส้นคงวา แต่ปัญหาที่เจอคือ เวลาองค์กรแบบไทยนำเอาเครื่องมือการจัดการจากต่างแดนมาใช้ มักจะไม่ดูให้ถ้วนถี่ว่าเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพการณ์แค่ไหน?
ท่านผู้ฟังค่ะ อย่างไรก็ดี ดิฉันอยากจะบอกว่า วันนี้โลกเปลี่ยนไป เราต้องปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลา ทำตัวเองให้มีคุณค่าอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องปรับตัว สร้างคุณค่าเพิ่ม หาจุดเด่นในตนเองให้พบ ถึงเหนื่อยหน่อย แต่เป็นงานที่ต้องทำค่ะ" นิยามของมนุษย์เงินเดือนในเศรษฐกิจยุคดิจิตอล ต้องทำตัวให้เป็นหัวกะทิสุดๆ ถึงจะปลอดภัยที่สุด หรือทำอย่างไรก็ได้ ที่จะไม่เป็นพนักงานเกรดซี แต่ต้องรักษาตัวเองให้อยู่ระดับเกรดบีหรือเกรดเอ และการเป็นมนุษย์เงินเดือนจะรอสวรรค์มาโปรดไม่ได้ ต้องถีบตัวเองให้ถึงสวรรค์ หรือดึงสวรรค์ให้หันมามองเห็นเรา ต้องหาโอกาสแจ้งเกิด ไม่ใช่รอแมวมอง และต้องคิดอยากเป็นเถ้าแก่ด้วย ถ้าปรับวิธีคิดแบบนี้ได้ จะเห็นว่ามุมมองของตัวเองเปลี่ยนไปจาก
ในคราวนี้ ดิฉันขอฝากคำคม ไว้ว่า
ความผิดพลาดมักเกิดจากสองสาเหตุ คือคิดแต่ไม่เคยทำ
กับทำแต่ไม่เคยคิด

Comments are closed.