ท่านอยากจะประเมินตนเองว่าเป็นผู้นำที่ดีหรือไม่

แฟนๆประจำ Blog ค่ะ จากบทความเรื่อง พฤติกรรมของผู้นำที่มีปัญหา. โดย : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ ท่านได้กล่าวไว้ว่า ให้เราลองทบทวนและประเมินตัวท่านเองดูนะค่ะว่า ปัจจุบันท่านเป็นผู้นำหรือเจ้านายที่มีลักษณะอย่างไร เป็นเจ้านายที่ดีหรือเจ้านายที่ไม่ดี เชื่อว่าแฟนๆประจำ Blog จำนวนมากคงจะประเมินตัวท่านเองว่าเป็นผู้นำหรือเจ้านายที่ดี หรือถ้าไม่ถึงขั้นดีเด่นหรือดีมาก ก็คงไม่ได้เป็นผู้นำหรือเจ้านายที่แย่ แต่นั้นเป็นเพียงแค่ผลจากที่ตัวท่านเองประเมินตัวเองนะค่ะ แฟนๆประจำ Blog ค่ะ ต้องอย่าลืมว่า โดยทั่วไปแล้ว คนเรามักจะไม่เก่งในการหาจุดอ่อน หรือข้อผิดพลาดของตนเอง อีกทั้งไม่ค่อยยอมรับต่อความผิดพลาด ล้มเหลว หรือไม่ดีของตนเอง และยิ่งเป็นบุคคลที่ไม่ค่อยมีความสามารถเท่าใด ก็ยิ่งมักจะคิดว่าตนเองเก่งหรือโดดเด่นมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น จึงมีข้อที่น่าคิด น่าสงสัยนะค่ะว่าจริงๆ แล้วท่านเป็นเจ้านายที่ดีจริงตามที่ท่านประเมินตนเองหรือไม่
 

ถ้าท่านอยากจะประเมินตนเองว่าเป็นผู้นำที่ดีหรือไม่ดีนั้น ลองถามตนเองด้วยคำถามเหล่านี้ก็ได้ค่ะ 1. การดำเนินงานของกลุ่มงานหรือหน่วยงานของท่านเริ่มตก ลง เนื่องจากผลการดำเนินงานของหน่วยงานเป็นผลสะท้อนที่ชัดเจนถึงความสามารถของตัวผู้นำ ดังนั้น ถ้าผลการดำเนินงานของหน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลที่ท่านรับผิดชอบเริ่มตก ลง ก็เป็นสัญญาณอันตรายประการหนึ่งที่สะท้อนถึงความสามารถหรือพฤติกรรมของผู้นำ อย่างไรก็ดี ข้ออ้างประการหนึ่งที่มักจะพบจากบรรดาผู้นำต่างๆ เมื่อผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบเริ่มมีปัญหาหรือตกลง ก็มักจะไม่ได้มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความสามารถในการบริหาร หรือพฤติกรรมของตนเอง แต่ชอบที่จะโทษถึงปัจจัยต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยภายนอกต่างๆ ซึ่งก็ถือเป็นจุดอ่อนโดยปกติของมนุษย์เรา ที่เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ก็มักจะไม่ได้มองว่าเกิดขึ้นจากตนเองแต่มักจะโทษปัจจัยภายนอกต่างๆ 

2. เริ่มมีแรงกดดันจากผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป ถ้าเราทำงานได้ดีอยู่แล้ว ผู้ที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปมักจะไม่ค่อยมายุ่งเกี่ยวหรือกดดันต่อเราเท่าไร แต่เมื่อใดที่เริ่มมีปัญหาเกิดขึ้น ไม่ว่าจะความสามารถในการบริหาร หรือจากพฤติกรรมในการบริหาร คนที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป ก็จะเริ่มเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น รวมทั้งอาจจะเพิ่มแรงกดดันมากขึ้น

3. เพื่อนร่วมงานและพันธมิตรเริ่มเหินห่าง จริงๆ แล้ว การที่ลูกน้องมีการพูดคุยหรือนินทาลับหลังเจ้านายนั้น ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อใดก็ตาม เพื่อนร่วมงานและบรรดาพันธมิตรในการทำงานของท่านเริ่มหันหลังให้กับท่านแล้วเมื่อนั้นก็แสดงให้เห็นแล้วค่ะว่าเราเริ่มจะมีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว
 4. ผู้นำที่มีปัญหาในที่ทำงานส่วนใหญ่ มักจะเป็นผู้ที่มีปัญหาในเรื่องของความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลด้วย แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารความสัมพันธ์ของบุคคลผู้นั้นทั้งในที่ทำงานและในชีวิตส่วนตัวที่มีปัญหาทั้งคู่ 5. สัญญาณสุดท้ายที่ชัดเจนที่สุด ก็คือ เมื่อลูกน้องเริ่มหมดความสุข ความสนุกในการทำงานค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าลูกน้องมีความรู้สึกว่าต้องทนทุกข์ในการทำงานกับเรา ถือเป็นสัญญาณอันตรายทีเดียวค่ะ ที่แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของคนที่เป็นเจ้านาย ผู้นำที่ดีนั้น จะต้องรู้จักและรู้เวลา โดยรู้ว่าในช่วงเวลาไหนที่ควรจะรุก ควรจะผลักดัน หรือขับเคลื่อนลูกน้อง ในขณะเดียวกัน ก็ควรจะรู้ว่าเวลาไหนที่ควรจะผ่อนหรือถอยหลังออกมา ในขณะเดียวกัน ผู้นำที่ดีจะต้องสามารถอ่านหรือมองเห็นถึงปฏิกิริยาของลูกน้องแต่ละคน เพื่อปรับสไตล์การบริหารให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลในแต่ละสถานการณ์ จะเห็นได้นะค่ะว่าในปัจจุบันคนที่เป็นผู้นำที่ดีได้นั้น จะต้องมีทักษะที่สำคัญหลายอย่าง แต่ทักษะที่สำคัญที่สุดนั้น หนีไม่พ้นเรื่องของการเป็นผู้ฟังที่ดี ผู้นำนั้นจะต้องคอยกระตุ้น และสนับสนุนให้ลูกน้องได้แสดงความคิดเห็น และรับฟังข้อเสนอแนะจากลูกน้อง ในขณะเดียวกัน เมื่อลูกน้องพูดก็ต้องไม่ไปขัดหรือพูดแซงขึ้นมาและไม่อารมณ์เสียขึ้นมาง่ายๆเมื่อพบว่าลูกน้องทำผิด มีข้อที่น่าสังเกต คือ ผู้นำที่ไม่ดีนั้นจะมีส่งผลกระทบทั้งระดับความรุนแรงและระยะเวลานานกว่าผู้นำที่ดี ในต่างประเทศนั้น เขาจะมีคำกล่าวว่า "Bad is stronger than good" แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ไม่ดีนั้น มีผลกระทบที่รุนแรงและยาวนานกว่าสิ่งที่ดี มีงานวิจัยที่ศึกษาความรัก และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และพบว่าเพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลยืนยาวนั้น จำนวนครั้งของความสัมพันธ์ที่ดี จะต้องมากกว่าจำนวนครั้งของความสัมพันธ์ที่ไม่ดีอย่างน้อย 5:1 เท่า โดยถ้าตัวเลขน้อยกว่านี้เมื่อไรจะพบว่าอัตราความสุขจากการแต่งงานจะลดน้อยลงและอัตราการหย่าร้างจะสูงขึ้น 

นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่พบอีกนะค่ะว่า ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างเจ้านายกับลูกน้องนั้น มีระดับความรุนแรงมากกว่าความสัมพันธ์ที่ดีถึงห้าเท่า แสดงให้เห็นว่าถ้าเจ้านายไม่ดี และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับลูกน้องแล้ว ผลกระทบจะรุนแรงกว่าการทำดีมาตลอด แสดงว่าผู้นำหรือเจ้านายที่มีพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นจะส่งผลร้ายต่อความสุข ความกระตือรือร้นในการทำงานของคนที่เป็นลูกน้องและสุดท้ายผลการดำเนินงานขององค์กรก็จะแย่ลง
                อย่าลืมสำรวจตัวเองดูนะค่ะว่าตกลงแล้วท่านเป็นเจ้านายประเภทไหน แล้วอย่าลืมว่า เรามักจะมีแนวโน้มที่จะประเมินตัวเองสูงกว่าความเป็นจริงนะค่ะ

Comments are closed.