11 พฤติกรรมแห่งความล้มเหลว

ในโลกของการบริการทุกอย่างที่ต้องทำให้ เป็นจริงให้ได้ แต่อะไรที่ไม่ทำให้เกิดขึ้นจริงนั้นหมายความว่า ล้มเหลวและความล้มเหลวนี้อาจจะเป็นวังวนใจชีวิตของคุณไปตลอดก็ได้ และแน่นอนว่าหากคุณไม่จัดการมันให้สำเร็จมันก็อาจจะนำมาซึ่งความล้มเหลวไป เรื่อย ๆ และวันนี้จะขอเสนอ พฤติกรรม 11 ข้อ แห่งความล้มเหลวที่ผู้บริหาร CEOs ต้องเจอ ได้แก่

1. ผู้บริหารที่หยิ่งผยอง หมายความว่า เป็นผู้บริหารที่มักจะมองเฉพาะตัวเองที่เป็นฝ่ายถูกแต่เพียงผู้เดียว ผู้อื่นนั้นผิดหมด ซึ่งอาจเกิดจาก ความฉลาดเหนือผู้อื่นที่มักจะทำให้คนเราตาบอกได้เสมอ และส่วนใหญ่เขาก็จะได้รับบทเรียนที่เกิดจากความมั่นใจของตนเองมากเกินไป และความเชื่อในความคิดของตนเองเป็นใหญ่แบบไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งนำไปสู่ความหายนะ

2. ผู้บริหารตีบทแตก เป็นพวกที่ชอบทำให้ตัวเองเป็นจุดเด่นเสมอนั่นคือ การสร้างภาพให้ดี การเป็นผู้บริหารแบบตีบทแตกนั้น ต้องเป็นพวก ที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ หรือด้วยการกระทำที่มากเกินปกติ ซึ่งชวนให้นึกว่าการแสดงที่นอกเหนือไปจากบท หากนำมาใช้ ในองค์กรความเป็นคนตีบทแตก จะกลายเป็นบุคลิกที่คอยทำลายตัวเองไปในทันที เพราะว่ามันจะคอยลดบทบาทของคนอื่น และจะสูญเสียศักยภาพในการมองเห็นว่ารอบข้างนั้นเกิดอะไรขึ้น

3. ผู้บริหารอารมณ์แปรปรวน เป็นผู้บริหารที่เอาใจยากพอดู เพราะอารมณ์ของจะมาอารมณ์ไหนในแต่ละวันมันย่อมเป็นเรื่องที่ติดลบ อย่างแน่นอน เพราะพนักงานมักจะลังเลที่จะติดต่อคุยกับคุณ ไม่อยากเข้าใกล้ แต่ถ้าหนักเข้า อาจจะต้องหาวิธีรับอารมณ์แปรปรวนของคุณ

4. ผู้บริหารรอบคอมเกินจำเป็น หากการตัดสินใจที่กำลังจะมาถึง อาจเป็นการตัดสินใจครั้งแรกของคุณ บางทีคุณก็รอบคอบมากเกินไป ดูกังวลไปซะทุกเรื่อง เพราะคำพูดและการกระทำมันบ่งบอกถึงอนาคตขององค์กร และการที่คุณระมัดระวังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คุณต้อง ไม่ทำให้ความระมัดระวังที่เป็นความรอบคอบนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความระแวงซึ่งมันคือ ความรอบคอบเกินจำเป็นในการเป็นผู้นำระดังสูง เพราะหากคุณกลัวการตัดสินใจว่าจะทำผิดพลาดเกินไป แล้วข้อมูลหรือที่ปรึกษานั้นได้ให้คำแนะนำที่ไปคนละทิศคนละทางกับความคิดของคุณ คุณก็จะยิ่งกังวลมากขึ้นไปอีก นั่นคือคุณไม่ยอมตัดสินในอะไรเลย หากคุณปล่อยเวลาสำหรับการคิดนั้นมากเกินไป ก็มีค่าเท่ากับศูนย์เปล่า

 

5.     ผู้บริหารที่ไว้ใจแต่ตัวเองเท่านั้น เป็นผู้บริหารที่ไม่เคยไว้ใจใครเลย นั่นคือการทำลายอาชีพของคุณ และองค์กรเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อคุณเก่งคุณก็ล้มได้ ส่วนความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันมักก่อให้เกิดสภาพการทำงานแบบประธานาธิบดีนิ กสัน โดยการแพร่กระจาย ความไม่ไว้วางใจคนอื่นไปสู่คนอื่น ๆ ต่อ ๆ ไป มันเหมือนการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ซึ่งองค์กรที่อยู่ในสภาวะการแข่งขันต้องเคลื่อนให้ไว สู่การเป็นหากลด้วยจำนวนที่มีหลากหลายชนชั้น เชื่อชาติ อุปนิสัยใจคอ และวันที่แตกต่างกัน เพราะถ้าหากองค์กรใดไม่มีความไว้วางใจ ซึ่งกันและกันแล้วมักจะอยู่ไม่ได้

6. ผู้บริหารที่ไม่ยอมสุงสิงกับใคร หากคุณเป็นคนที่เก็บตัวอยู่ในโลกส่วนตัวของคุณเพียงคนเดียว คุณแบ่งแยกตัวเองออกจากสังคมและไม่ยอมรับรู้โลกภายนอก เช่น การเพิกเฉยต่อความขัดแย้งต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรแบนี้จะมีการเลียนแบบและทำตามจนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร เพราะฉะนั้นการสื่อสารจะเกิดความบกพร่องและขาดความจงรักภักดี ซึ่งต้องระวังในเรื่องนี้ให้มาก 

7. ผู้บริหารนอกคอกและแหกกฎ เป็นการประพฤติตัวไม่เหมาะสมแก่ลูกน้อง ซึ่งคุณอาจจะบอกว่ากฎระเบียบต่าง ๆ นั้นเป็นเพียงแค่แนวทาง ไม่ใช่สิ่งที่คุณยึดมั่นหรือถือมั่นว่าจะต้องทำตาม และยิ่งถ้าคุณเป็นผู้บริหารที่ชอบทำตัวให้เด่นแบบยินดีที่จะดับด้วยการแหกกฎ ประหลาดและไร้วินัย โดยนิสัยนี้จะส่งผลให้คุณไม่สามารถปกครององค์กรหรือลูกน้องได้ เพราะตัวคุณเองยังไม่อยู่ในกฎเลยแล้วค้นอื่นจะไม่เป็นอย่างคุณได้อย่างไร

 8. ผู้บริหารที่นึกสนุกในการทำตัวให้ต่างจากคนอื่น การทำตัวให้แตกต่างจากคนอื่นบางครั้งมันก็เป็นเรื่องดีแต่ก็ไม่ต้องถึงกับ ประหลาดจนคนอื่นรับไม่ได้ เพราะมันออกจะเป็นปัญหาซะมากกว่า เนื่องจากธรรมชาติของความไม่เหมือนใครมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความคิด สร้างสรรค์ แต่เอาเข้าจริงมันกลายเป็นสิ่งที่ทำลายตัวเองด้วยความที่ไม่สามารถจัดลำดับ ความสำคัญขององค์กรและทีมเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น ความแปลกประหลาดเช่นนี้หากได้นำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ย่อมดีแต่หากใช้ไม่เป็น มันก็จะเป็นบทเรียนราคาแพง เพราะอาจจะทำให้องค์กรคุณนั้นประสบกับความหายนะได้

 9. ผู้บริหารที่ต่อต้านด้วยความเงียบสงัด พฤติกรรมที่ต่อต้านอย่างเงียบ ๆ นี้ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้สงบนะครับซึ่งก็เหมือนกับการดื้อเงียบ เช่น การไม่กล้าต่อต้านความคิดเจ้านายที่คิดผิด ๆ เพราะไม่เป็นประโยชน์และจะพาลทำให้อนาคตไม่ราบรื่นนัก พฤติกรรมที่กล้าคิดแต่ไม่กล้าทำหรือการแสดงออกนี้เป็นภัยเงียบที่กัดกร่อม องค์กรจนทุกคนขยาด เพราะฉะนั้นเราควรร่วมสร้างวัฒนธรรมที่กล้าคิดกล้าทำในเรื่องที่สมควรและ เหมาะกับบริษัทจะดีกว่า

 10. ผู้บริหารจุกจิก เป็นผู้บริหารที่ดีในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้บริหารอย่างนี้ชอบการจัดการเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ ๆ แล้วก็ไม่สามารถทำได้ดีนัก ซึ่งการมองภาพใหญ่สำคัญกว่ามองภาพที่ลงในรายละเอียด ซึ่งคุณไม่มีทางประสบความสำเร็จด้วยการมองภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ คิดเล็กจะไปสู้อะไรกับคิดใหญ่ เพราะนั่นเท่ากับคุณลืมปรัชญาความเป็นผู้นำไปหมด การคิดเล็กคิดน้อย หรือใส่ใจในรายละเอียดมากเกินไป ซึ่งผู้บริหารบางคนพาลูกน้องไปเลี้ยงข้าวที่ร้านอาหาร แต่ตัวผู้บริหารนั้นชอบย้ายไปนั่งตรงนั้นที ตรงนู้นที ขยับไปเรื่อย ๆ จนทำให้คนอื่น ๆ ในร้านคิดว่าใครเป็นผู้บริหารหรือใครเป็นลูกน้องไปซะแล้ว

 11. ถ้าคุณอยากเป็นผู้ชนะใจทุกคนในองค์กร ผู้บริหารแบบนี้ไม่ใช่ว่าดีนะ เพราะการเอาในลูกน้องก็ควรเอาใจจนมากนัก ขอบเขตเพราะคุณไม่สามารถนั่นในใจคนทั้งองค์กร คนที่ชอบวิธีการบริหารของคุณก็มี ไม่ชอบก็มาก เป็นเร่องปกติธรรมดายิ่งต้องเปลี่ยนแปลงอะไร ๆ ในองค์กรดีโดยคุณสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำมาซึ่งประโยชน์ส่วนรวม แล้วคุณต้องยอมคนที่ต่อต้านกับคุณอีกด้วย เพาระฉะนั้นการที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องพุ่งเข้าไปทำให้ ฝ่ายตรงข้ามถูกใจก่อน เพราะนั่นเป็นการดักการบริหารของเหล่า CEO หลาย ๆ คนมาแล้ว       การเป็นผู้บริหารหรือ CEOs ได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และจากพฤติกรรมทั้ง 11 ข้อที่กล่าวมา พอที่จะบอกถึงแง่มุมมองจริง ๆ ซึ่งสามารถที่จะคอยเตือนสติว่าต้องไม่ล้มเหลวอีก

Comments are closed.