เครือข่าย C-IQA

เครือข่าย C-IQA

โครงการส่งเสริมและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษา

ภายในสถาบันอุดมศึกษาของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

      พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  มุ่งหมายให้การจัดการศึกษาของประเทศไทยให้ความสำคัญต่อคุณภาพและมาตรฐานเพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์อันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน  โดยใช้กลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกเป็นเครื่องมือกำกับ  กระตุ้น  และส่งเสริมกาพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลักได้ดำเนินการส่งเสริมการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันอุดมศึกษา  โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา (IQA) ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา  เพื่อส่งเสริม  สนับสนุนและพัฒนาการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา  และเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาโดยนำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  รวมทั้งพัฒนากระบวนการประกันคุณภาพให้มีความทันสมัยสอดคล้องตามบริบททางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  โดยมีกลไกหลักคือ  กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ทั้งนี้  กระบวนการประเมินคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษาที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่ร่วมดำเนินงานกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในหลายสถานะ  ทั้งในฐานะเครือข่ายคณาจารย์ประเมินคุณภาพภายในระดับพื้นที่/ วิทยากรแกนนำ/ ผู้ประเมิน IQA ถือเป็นระบบที่เชื่อมโยงการทำงานแบบไม่เป็นทางการร่วมกับคณะกรรมการ IQA เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ  และการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม

นับแต่ปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นมา  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดรูปแบบการทำงานแบบบูรณาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน  โดยแบ่งพื้นที่ภูมิภาคออกเป็น 9 ภูมิภาค  และกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เดียวกันร่วมดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งแก่คณาจารย์และสถาบันอุดมศึกษาไปด้วยกัน  โดยกำหนดประเด็นหลักเพื่อดำเนินการในระยะแรก 4 กลุ่ม คือ เครือข่ายวิจัยชุมชนฐานราก/ เครือข่าย UBI/ เครือข่ายวิจัยเชิงพาณิชย์/ และเครือข่ายสหกิจศึกษา ใช้ชื่อเรียกว่า เครือข่าย C – เชิงประเด็น  ในปีงบประมาณ 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดตั้งเครือข่าย C – เชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา หรือเครือข่าย C-IQA  โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาซึ่งแบ่งเป็น 9 ภูมิภาค (Node)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่าย C – เชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ระดับอุดมศึกษา หรือเครือข่าย C – IQA เป็นคณะทำงานระดับพืนที่เพื่อส่งเสริมด้านการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา

  1. เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานของคณาจารย์การประกันคุณภาพภายในระหว่าง

สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่

  1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจ  ขยายความร่วมมือการดำเนินการประกัน

คุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาแก่ผู้บริหาร  คณาจารย์  และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  1. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาบูรณาการความร่วมมือดำเนินโครงการหรือกิจกรรมการประกันคุณภาพ

ภายใน  เพื่อสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการเรียนการสอนและทรัพยากรมนุษย์

  1. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพองค์กรโดยให้ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาเป็น

กลไกขับเคลื่อน

เป้าหมายของโครงการ

  1. ให้ระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนและ

ยกระดับมาตรฐานคุณภาพการเรียนการสอนและการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษา

  1. ให้มีเครือข่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา
  2. เสริมสร้างวัฒนธรรม – ค่านิยมใหม่ (Core Values) ให้คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วม

สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อให้มีวงจรพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

กรอบการดำเนินงานและกิจกรรมที่ต้องเสนอ

เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาแต่ละแห่ง (โดยเครือข่าย C – IQA) นำเสนอโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร  และขยายผลความร่วมมือการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่าย  จำนวนไม่น้อยกว่า 4 โครงการ  โดยมีกรอบดำเนินกิจกรรม ดังนี้

  1. การดำเนินกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมและประสานการดำเนินการการประกันคุณภาพภายในของ

สถาบันอุดมศึกษาให้กับคณาจารย์  และสถาบันฯ สมาชิกในเชตพื้นที่  เช่น

(1)    การวางแผนกลยุทธ์ในระดับเครือข่าย

(2)    การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกระหว่างเครือข่าย

คณาจารย์และสถาบันฯ สมาชิก  ด้วยวิธีการต่างๆ  เช่น  การประชุมสัมมนา  การฝึกอบรม  การตรวจเยี่ยม  การประชาสัมพันธ์  และการจัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์อื่นทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

(3)    การเสริมสร้างทักษะ – องค์ความรู้ในการดำเนินงานและตรวจประเมินการประกันคุณภาพ

ภายในของสถาบันอุดมศึกษาให้กับผู้บริหาร  คณาจารย์  และบุคลากรในสถาบันฯ สมาชิกด้วยวิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การฝึกอบรม  การประชุมเชิงปฏิบัติการ  เป็นต้น

(4)    การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพระบบการประกันคุณภาพภายในของสถาบันฯ สมาชิก

รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน

(5)    การส่งเสริมให้เกิดข้อตกลงความร่วมมือและการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างเครือข่าย หรือ

สถาบันฯ สมาชิก

(6)    กิจกรรมอื่นที่เครือข่ายเห็นสมควรดำเนินการเพื่อผลสัมฤทธิ์ของการส่งเสริมพัฒนาการประกัน

คุณภาพภายใน

  1. กิจกรรมหลักที่สกอ. กำหนดในปีงบประมาณ 2555-2556 คือ

(1)    กิจกรรมสร้างความเข้าใจในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในครบ

วงจร  ทั้งปัจจัยนำเข้า  กระบวนการและผลผลิต  และการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในผ่านระบบ CHE QA  Online  ให้กับคณาจารย์และผู้รับผิดชอบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษา  โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของเครือข่าย

(2)    กิจกรรมการฝึกอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับนิสิต

นักศึกษา  ให้สามารถนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในงานกิจกรรมนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับขนาดของเครือข่าย

(3)    กิจกรรมสานเสวนา  เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินรวมทั้ง

แนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  ระดับอุดมศึกษาในอนาคต

(4)    กิจกรรมอื่นๆ ที่เครือข่ายเห็นสมควรดำเนินการที่เหมาะสมกับจำนวนงบประมาณที่ได้รับ

  1. เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา (โดยเครือข่าย C – IQA) ต้องจัดทำรายงานผลความก้าวหน้า

การปฏิบัติงานทุกรอบ 6 เดือน (Progress  Repost) เสนอต่อคณะกรรมการติดตามประเมินผลในการตรวจเยี่ยม (Site  Visit) ปีละ 2 ครั้ง

จำนวนสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายเชิงประเด็นการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา

เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา 9   แห่ง

(สถาบันแม่ข่าย)

จำนวนสถาบัน

อุดมศึกษา (แห่ง)

1.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

14

2.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยนเรศวร)

10

3.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน   (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

14

  1.   เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)

15

5.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน   (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

44

6.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

31

7.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออก   (มหาวิทยาลัยบูรพา)

6

8.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน   (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

7

9.  เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่าง   (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

9

รวม

150

หมายเหตุ  จำนวนสถาบันอุดมศึกษาที่แสดงไม่รวมวิทยาลัยชุมชน

ทั้งนี้ มทร.พระนคร ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นแม่ข่าย) และผอ.สำนักประกันคุณภาพ ของมทร.พระนคร ผศ.สุขุมาล หวังวณิชพันธุ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารเครือข่ายดังกล่าวด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *