HR Challenge in AEC Focus at NIDA

images-02

เรื่อง เสวนาวิชาการเกี่ยวกับ “ความท้าทายของ HR ไทย ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เนื่องในโอกาสเปิดสำนักสิริพัฒนา
ตั้งแต่วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕
รวมระยะเวลา 1 วัน
ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หน่วยงานที่จัด สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หน่วยงานที่รับผิดชอบงบประมาณ สำนักสิริพัฒนา

จำนวนเงิน – บาท

สรุปผลการปฏิบัติ
โดยภาพรวมของการเสวนาวิชาการในครั้งนี้ เน้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีโอกาสรับฟังแง่คิดมุมมองและประสบการณ์จากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ (HR Guru) จากภาครัฐและเอกชนชั้นนำ เช่น สำนักงาน ก.พ., บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สามารถสรุปเป็นรายละเอียดในการเสวนาวิชาการได้ดังต่อไปนี้ คือ

ประการที่ 1 คือ การเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น การฝึกอบรมและพัฒนาภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับมิตรประเทศ, การให้ความสนใจกับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพิ่มมากขึ้น และปรับเปลี่ยนความคิดที่ไม่ดีต่อมิตรประเทศ เช่น การดูถูกประเทศเพื่อนบ้านว่าเป็นประเทศที่ด้อยกว่าประเทศตัวเอง เป็นต้น
ประการที่ 2 คือ เตรียมแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐและเอกชน รวมถึงแผนการรองรับการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย เพื่อให้พร้อมรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในประเทศสมาชิกทั้งหมด รวมถึงเป็นการสร้างโอกาสและทวีมูลค่าเพิ่มให้ได้มากที่สุด ภายใต้การคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารจัดการที่ดี ยังผลในระยะยาวต่อภาพรวมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประการที่ 3 คือ การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนแบบ (Single Command) ของภาครัฐ เน้นบูรณาการในการทำงานของภาครัฐ ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้เป็นหนึ่งเดียว ลดการออกกฏหมาย กฏกระทรวง และข้อบังคับต่างๆ ที่ซับซ้อนยากต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนของไทยและประเทศสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เข้ามาติดต่อเพื่อขอเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยได้ตามกรอบความร่วมมือ
ประการที่ ๔ คือ เน้นการให้ความร่วมมือระหว่างกัน มากกว่าการแข่งขันกันในกลุ่มประเทศสมาชิก เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยเหลือกันให้มากที่สุด เช่น ประเทศที่มีทรัพยากร แต่ขาดการบริหารจัดการ ประเทศที่มีความพร้อมสามารถช่วยเหลือในด้านต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพเข้าไปร่วมบริหารจัดการทรัพยากรในกลุ่มประเทศสมาชิกที่ด้อยกว่า เป็นต้น

จากแนวทางการนำเสนอแนวทางการพัฒนาข้างต้น เราต้องทำความเข้าใจและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 5 ด้าน และร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียว ก่อนการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงในด้านทรัพยากรมนุษย์ของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

2 Comments

  1. บก.ลายจุด September 13, 2013 11:19 am  Reply

    คิดว่า AEC เป็นตลาดที่ด้อยประสิทธิภาพ ปรับไปก็เท่านั้น

  2. โสถิ่ม September 13, 2013 11:21 am  Reply

    โอกาสที่จะมีลูกค้าในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *