Category Archives: การบริหารจัดการ

การบริหารเวลา เป็นเรื่องที่คุยกันได้อย่างไม่รู้จบ

การบริหารเวลา เป็นเรื่องที่คุยกันได้อย่างไม่รู้จบ บางคนก็บอกว่าเราบริหารเวลาได้ บางคนก็บอกว่าเวลาบริหารไม่ได้ เพราะมันเดินไปของมันเรื่อยๆ อย่างไม่มีวันหยุด แต่สิ่งที่เราต้องบริหารก็คือ บริหารการใช้เวลาของเราเองมากกว่า ซึ่งดิฉันเองก็เชื่อในแนวคิดนี้เช่นกัน ก็คือ การบริหารเวลาก็คือ การบริหารการใช้เวลาในชีวิตเราเอง  โจ เรสเตอร์ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความสำเร็จ ได้กล่าวไว้ว่า “Whoever know  how to manage their time   will be successful in their life.” แปลเป็นไทยได้ว่า ใครก็ตามที่รู้วิธีการบริหารการใช้เวลาของตนเอง จะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต  ถ้าเราลองมานั่งพิจารณาประโยคข้างต้นอย่างจริงๆ จังๆ แล้วจะพบว่ามันมีความหมายที่ลึกซึ้งมาก การที่คนเราจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากน้อยแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการที่เรารู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ใช้เวลาในกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายในชีวิตของเราเอง  นักศึกษา ตั้งเป้าหมายในใจไว้ว่า จะต้องเรียนให้ได้เกียรตินิยม หรือให้ได้เกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.50 แล้วถ้านักเรียนคนนั้นรู้วิธีในการจัดสรรเวลาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยใช้เวลาไปกับการเข้าชั้นเรียน ทบทวน อ่านหนังสือ พักผ่อนอย่างถูกต้อง ก็น่าจะทำให้นักเรียนคนนั้นมีผลการเรียนที่ดีได้ ตรงข้ามกับนักเรียนที่อยากได้เกรดดีๆ แต่ไม่เข้าเรียน โดดเรียนไปเที่ยวกับเพื่อน ไม่อ่านหนังสือ ไม่ทบทวนอะไรเลย วันๆ ได้แต่เรื่อยเปื่อยไปวันๆ การบริหารการใช้เวลาแบบนี้ ทำให้ตายก็ไม่ได้ในสิ่งที่ตนเองตั้งเป้าไว้อย่างแน่นอน  ในชีวิตของเราก็เช่นกันคะ ถ้าเรามีการตั้งเป้าหมายในชีวิตไว้ แต่เรากลับไม่มีการบริหารการใช้เวลาเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย ก็ไม่มีประโยชน์คะ ใครที่อยากลดความอ้วน แต่กลับใช้เวลาไปกับการกิน นอน นั่ง ไม่ออกกำลังกายเลย แบบนี้ก็ไม่มีทางจะลดได้  ใครอยากทำงานได้ผลงานที่ดี และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่กลับใช้เวลาในแต่ละวันไปกับการเล่น facebook chat กับเพื่อนตลอดเวลา ทั้งในและนอกเวลางาน ไม่เคยมีการเพิ่มเติมความรู้ใส่ตัวเลย การใช้เวลาแบบนี้ก็คงยากที่จะทำให้ชีวิตการทำงานของเราประสบความสำเร็จดั่งที่เราตั้งใจ  ลองนั่งทบทวนการใช้เวลาในชีวิตของเราในปีที่กำลังจะผ่านไปนี้ก็ได้คะ ว่าเราใช้เวลาไปกับสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้สักแค่ไหน เต็ม 10 จะให้คะแนนตัวเองสักเท่าไร  คนที่ประสบความสำเร็จเร็วกว่า หรือมากกว่าคนอื่น ก็คือ คนที่สามารถบริหารเวลาของตนเองให้ไปในทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้นั้นเองคะ นี่ก็เพิ่งผ่านการเฉลิมฉลองปีใหม่ที่ผ่านมา  ก็อยากให้ทุกท่านลองตั้งเป้าหมายกันสักหน่อยว่า ในปีนี้เราอยากจะประสบความสำเร็จในเรื่องอะไร จากนั้นก็ออกแบบการใช้เวลาในแต่ละวันให้สอดคล้องไปกับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ สุดท้ายที่สำคัญก็คือ การเริ่มลงมือทำ และการมีวินัยในตนเองให้ได้ค่ะ

ก่อนจากกันในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

พอใจเท่าที่มี...ยินดีเท่าที่ได้

เคล็ดลับการเป็นหัวหน้าที่ดี

เหล่าบรรดาหัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือจะเรียกชื่อตำแหน่งอะไรก็แล้วแต่ สิ่งหนึ่งที่กลุ่มคนเหล่านี้จะขาดไม่ได้เลยก็คือ เขาต้องทำงานผ่านคนอื่น คนอื่นในที่นี้ก็คือ ลูกน้องของตนเอง การที่หัวหน้าคนหนึ่งจะทำงานผ่านคนที่เป็นลูกน้องได้ดีนั้น ไม่ใช่แค่เพียงการวางแผนงาน และเข้ามาควบคุมดูแลให้งานสำเร็จตามเป้าหมายเท่านั้น หัวหน้างานยังต้องทำหน้าที่ในการบริหารคน หรือบริหารความรู้สึกของคนในทีมงานอีกด้วย    มีหลายคนถามมาว่า มีสูตรสำเร็จหรือไม่ในการที่จะบริหารคนในทีมงานให้เกิดความรู้สึกที่ดีในการทำงาน และเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมทั้งมีแรงจูงใจในการทำงาน สูตรที่ว่านั้นมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไปมากมาย เพียงแต่มันติดตรงที่ รู้แล้วว่าเคล็ดลับคืออะไร แต่ไม่ค่อยมีหัวหน้างานคนไหนจะนำไปใส่ใจทำตามน่ะสิค่ะ ผลก็คือ หัวหน้างานไม่สามารถบริหารคนในทีมงานได้เลย คนเอาคนไม่อยู่สิ่งที่ตามมาก็คือ งานก็เริ่มหลุดแผน ผลสุดท้ายก็คือผลงานหัวหน้างานก็เริ่มแย่ลงไปด้วย ผลงานองค์กรก็ไปไม่ถึงเป้าที่ต้องการอีก จากประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับเหล่าหัวหน้างาน และผู้จัดการมือดี เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารคนของเขา ก็พบว่า มันมีเคล็ดลับอยู่ไม่กี่ตัวเท่านั้น ดิฉันก็เลยเอามาเล่าให้อ่านกันนะค่ะ เผื่อจะได้นำเอาไปใช้ในการทำงานได้ค่ะ

เอาใจเขามาใส่ใจเรา สิ่งที่ผู้จัดการที่ดีบอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า ถ้าหัวหน้างานอยากจะบริหารลูกน้องได้ดีนั้น ต้อง เอาใจลูกน้องมาใส่ใจเรา เราต้องเข้าใจเขาว่า เขากำลังคิดอะไร รู้สึกอย่างไร ลองดูว่าถ้าเป็นเราโดนเข้าแบบนั้นเราจะรู้สึกอย่างไร ลูกน้องเราเองก็เช่นเดียวกัน เช่น หัวหน้างานบางคนมักจะโวยวาย ตีโพยตีพาย และด่ากราดลูกน้องที่ทำงานไม่ได้ดั่งใจต่อหน้าลูกน้องคนอื่นๆ  เพื่อความสะใจของเขา ลองถามตัวเองดูว่า ถ้าเป็นเรา เราชอบมั้ยที่โดนหัวหน้าของเราด่ากราดแบบนั้นต่อหน้าคนอื่น ขอให้ตอบอย่างจริงใจนะค่ะ (ดิฉันมั่นใจเลยว่า ไม่มีใครชอบหรอกค่ะ แต่ก็แปลกที่เรากลับชอบทำกับลูกน้องของเรา เหมือนกับว่าเราไม่รู้สึกอะไรเลยถ้าโดนแบบนั้นเข้าเหมือนกัน) ให้เกียรติ และให้การยอมรับ หัวหน้างานที่ดีต่างก็ยอมรับว่า การให้เกียรติลูกน้องของเรา และการให้กายอมรับลูกน้องของเรานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จะทำให้เขาเกิดแรงจูงใจในการทำงานกับเรา การให้เกียรติก็คือ เรื่องอะไรที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเขา เราก็ไม่ควรเอามาพูดในที่สาธารณะ การพูดจาที่สุภาพ การปฏิบัติต่อลูกน้องเหมือนเขาเป็นครอบครัวเดียวกับเรา ให้การยอมรับเขาในฐานะทีมงาน สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มจากหัวหน้าก่อนทั้งสิ้น ทักทาย พูดคุย ถามทุกข์สุข ฯลฯ ลูกน้องเองก็จะรู้สึกว่า หัวหน้าให้การยอมรับเขา แรงจูงใจในการทำงานก็จะเกิดขึ้นได้ไม่ยาก

ให้ความจริงใจ มีใครบ้างที่ไม่ชอบคนจริงใจกับเรา ลูกน้องเองก็เช่นกันค่ะ เขาเองก็ชอบหัวหน้างานที่จริงใจ ไม่มีอะไรลับหลังเขา ไม่ว่าจะเป็นการนินทาลูกน้องตัวเองให้หัวหน้างานคนอื่นฟัง การปฏิบัติต่อลูกน้องแบบต่อหน้าอย่างหนึ่ง ลับหลังอย่างหนึ่ง หรือพอลูกน้องทำงานได้ดี ก็ไม่มีคำชม หรือบางทีก็ชมแบบขอไปที ถามท่านที่เป็นหัวหน้าเองก็ได้ค่ะ ชอบมั้ยค่ะถ้าเจอหัวหน้างานแบบนี้บ้าง

ให้ความเป็นธรรม ปกติถ้าหัวหน้างานมีลูกน้องมากว่า 1 คน สิ่งที่หัวหน้างานจะต้องระวังก็คือ เรื่องของการปฏิบัติตนไม่เป็นธรรม เราเองอาจจะรู้สึกว่าเป็นธรรม แต่ลูกน้องกลับมองว่าไม่เป็นธรรม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบกับความรู้สึกของลูกน้องได้ง่ายมากนะค่ะ ในการทำตัวของหัวหน้านั้น จะต้องคิดให้ดี ถ้าเราทำแบบนี้กับคนนี้แล้ว ถ้าเกิดกรณีแบบเดียวกันกับคนอื่น เราจะทำแบบนี้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีและเป็นธรรม แต่ถ้าคำตอบคือ ถ้าเป็นลูกน้องคนนี้ฉันจะไม่มีทางทำแบบนี้เด็ดขาด นั่นแสดงว่าท่านเองก็มีการเลือกปฏิบัติต่อลูกน้องตนเองแล้วล่ะค่ะ

รับฟังอย่างเข้าใจ ทักษะเรื่องของการฟังนี้จะว่าง่ายก็ง่าย หรือจะว่ายาก มันก็ยากนะค่ะ การฟังที่ดีก็คือฟังแล้วต้องไม่สรุปเอาเอง หรือเอาประสบการณ์ของเราเข้าไปตัดสินคนอื่น ต้องฟังอย่างเป็นกลาง และฟังอย่างเข้าใจลูกน้องของตน ว่าทำไมเขาถึงพูดแบบนั้น หัวหน้าส่วนใหญ่ชอบพูดมากกว่าฟังอยู่แล้ว เพราะมองว่าตนเองเป็นหัวหน้าต้องเก่งกว่า ต้องพูดมากกว่า มิฉะนั้นแล้วจะสู้ลูกน้องไม่ได้ แต่ดิฉันว่าฟังให้เยอะไว้จะดีกว่านะค่ะ เพราะเราจะกลายเป็นหัวหน้าที่เข้าใจลูกน้องได้ดีกว่าหัวหน้าที่พูดอย่างเดียว

ห้าข้อดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่หัวหน้างานส่วนใหญ่บอกไว้เลยว่า นี่คือเคล็ดลับของการเป็นหัวหน้างานที่ดี จะสังเกตเห็นว่าไม่ต้องไปเรียนเทคนิคอะไรมากมายเลย แค่เพียงเราตั้งใจที่จะเป็นหัวหน้างานที่ดี และทำตามเคล็ดลับที่กล่าวมา โดยส่วนตัวดิฉัน ดิฉันถามตัวเองว่าถ้าหัวหน้าเราเป็นแบบ 5 ข้อนี้เราจะรู้สึกอย่างไร คำตอบที่ออกมาโดยไม่ลังเลเลยก็คือ เราจะรู้สึกดีมากๆ ดังนั้นถ้าเราปฏิบัติตนแบบนี้กับลูกน้องของเรา ลูกน้องเราก็ย่อมจะรู้สึกดี และมีกำลังใจในการทำงาน รวมทั้งเกิดแรงจูงใจในการสร้างผลงานให้ดีขึ้นได้อีกมากมายค่ะ

หัวหน้าบางคนรู้ทฤษฎีในการบริหารคนมากมาย แต่ไม่สามารถอยู่ในใจของลูกน้องได้เลย นั่นก็คือ ไม่เคยนำสิ่งที่รู้มานั้นไปปฏิบัติจริง ที่มา : http://prakal.wordpress.com/

คุณลักษณะเด่นของผู้ประสบความสำเร็จ 10 ประการ

คุณลักษณะเด่นของผู้ประสบความสำเร็จ 10 ประการ

1. กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่ดี ทุกคนก็รู้ แต่ก็มีน้อยคนที่จะยอมเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง เพราะความกลัวในเรื่องต่างๆ เช่นกลัวล้มเหลว, กลัวถูกปฏิเสธ และ กลัวเสียหาย เป็นต้น ดังนั้นเราต้องกล้าที่เปลี่ยนแปลงตัวเอง ทำในสิ่งที่ยากขึ้นเรื่อยๆ โดยคิดว่าถ้าหากไม่สำเร็จก็จะได้ประสบการณ์ชีวิตเองจะทำให้เรากล้าทำมากขึ้น

2. มีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนการจะประสบความสำเร็จ จะต้องกล้าที่จะตั้งเป้าหมายแล้วควรจะชัดเจนด้วย เพราะถ้าเราไม่มีเป้าหมาย ชีวิตของเราก็คงเดินไปเรื่อยๆ ไม่ถึงไหนซักที เพราะเมื่อมีเป้าหมาย เมื่อเราทำถึงแล้วจะได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นไปอีก เราจะได้ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

3. เผชิญหน้ากับความล้มเหลวแล้วเริ่มใหม่

คุณลักษณะเด่นข้อนี้มีอยู่ในทุกคนที่ประสบความสำเร็จ เพราะเขาจะลุกขึ้นมาได้ทุกครั้งที่เขาล้มเหลว แล้วมุ่งมั่นต่อไปจนในที่สุดไม่มีอะไรขวางกั้นเขาได้เพราะการทำงานทุกอย่างล้วนมีสิ่งที่เราคาดไม่ถึง ถึงแม้ว่าเราจะเตรียมตัวไว้ดีแค่ไหน ก็อาจจะเจออุปสรรคที่ทำให้ล้มเหลวได้ ดังนั้นหากเราบอกกับตัวเองเสมอๆ ว่า ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่าละอาย แต่การไม่ลุกขึ้นมาทำต่อไปต่างหากที่เป็นเรื่องน่าละอายก็จะทำให้เรามุ่งมั่นสู่ความสำเร็จได้ไม่ยากเลยค่ะ

4. มุ่งมั่นในความคิดของตัวเองและทำจนกว่าจะสำเร็จคนเชื่อมั่นในตนเอง จำทำให้เชื่อมั่นในความคิดของตัวเองด้วย แต่ก็ไม่ใช่ในความหมายว่าเป็นคนดื้อนะค่ะ แต่จะเป็นความหมายว่ามีจุดยืนของตัวเองไม่ว่าผู้อื่นจะคิดอย่างไรในความคิดของเขา เขาก็จะมุ่งมั่นทำมันเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาสามารถทำมันได้ และจะภูมิใจในความคิดของตัวเองไปเรื่อยๆ จนประสบความสำเร็จในที่สุด หัวหน้าหลายคนทำให้ลูกน้องขาดความมั่นใจโดยไม่รู้ตัว เพราะจะคอยทักว่าไม่ดี ไม่ควรทำ เพราะหัวหน้าเห็นข้อจำกัดแต่จริงๆ แล้ว เท่ากับปิดกันไม่ให้ลูกน้องได้คิดเองทำให้สุดท้ายลูกน้องคนนั้น ก็จะไม่มีความคิดเลย แล้วก็จะเป็นคนขาดความมั่นใจในตัวเองในที่สุด หลายคนที่เป็นหัวหน้าคนอยู่ ควรระวัง ข้อนี้ให้ดีนะค่ะ ต้องคอยยุให้เขาทำตามความคิดของเขาจนกว่าจะสำเร็จ

5. อยู่กับช่วงที่ตัวเองรู้สึกแย่น้อยกว่าช่วงที่ตัวเองรู้สึกดี     ชีวิตคนเรามีขึ้นมีลง คงไม่มีใครที่จะมีชีวิตที่ดีไปตลอด และก็ไม่มีใครที่มีชีวิตแย่ไปตลอด เพียงแต่ว่าใครจะเผชิญกับความรู้สึกแย่และความรู้สึกดีมากกว่ากัน ซึ่งการเผชิญความรู้สึกนี้ก็คือจิตใจที่เราไปคิดกับเหตุการณ์นั้นๆเอง หากเราสามารถควบคุมความรู้สึกแย่ให้เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แล้วพยายามรักษาความรู้สึกดีๆ ให้อยู่ในช่วงนานๆ หน่อย ก็จะทำให้ชีวิตมีความสุข และดำเนินชีวิตการทำงานไปได้อย่างราบรื่นแล้วจะประสบความสำเร็จในที่สุด

6. รับฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่นได้ดี  ความรู้อยู่ในทุกๆ ที่ที่เราผ่านไป ดังนั้นการรับฟังผู้อื่นเป็นหัวใจสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำวิจารณ์จากผู้อื่น ถ้าหากใครสามารถรับฟังได้มากก็จะประสบความสำเร็จได้มาก เพราะสามารถแปลคำวิจารณ์เป็นสิ่งที่เราสามารถนำไปปรับปรุงได้ไม่ใช่ฟังว่าเขาว่าอะไรเรา ดังนั้นถ้าหากเราเป็นคนเปิดกว้าง ก็จะมีสิ่งต่างๆ เข้ามาหาเรามากขึ้น เราก็มีโอกาส เลือกสิ่งดีๆ ได้มากขึ้น ส่วนสิ่งไม่ดีเราก็ไม่ต้องรับเข้ามาแต่การรับฟังคำวิจารณ์ จะให้ผู้อื่นกล้าพูดกับเรามากขึ้น ทั้งหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ทำให้เราทำงานผ่านผู้คนได้ดีขึ้น สุดท้ายเราก็จะเป็นผู้ประสบความสำเร็จแน่นอน

7. มีทัศนคคิเชิงบวกในเรื่องต่างๆ มากกว่า

ทัศนคติเชิงบวกในที่นี้ หมายความว่า การที่เรามีความเชื่อมั่นในงานที่เราทำและพร้อมที่จะรับผลของความล้มเหลวโดยการให้กำลังใจตัวเอง เพื่อให้ทำอีกจนกว่าจะประสบความสำเร็จ และไม่จินตนาการเรื่องที่เลวร้ายก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้นจริง แต่จะคิดในด้านบวกเสมอๆ กับสิ่งที่ทำเพื่อให้อยากทำ และอยากประสบความสำเร็จเพราะจินตนาการผลลัพธ์ในด้านดีไว้แล้ว คนเราสามารถโต้ตอบกับสิ่งต่างๆ ทั้งด้านบวกและด้านลบได้ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของเรา แต่ถ้าเราควบคุมทัศนคติเชิงบวกในเรื่องต่างๆได้มากเท่าไร เราก็จะลงมือทำเรื่องต่างๆ ได้มากเท่านั้น ผลลัพธ์หรือผลงานก็จะยิ่งออกมาดี แล้วก็จะเหมือนกับคนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ทำกันอยู่ คือเป็นคนที่มีทัศนคติเชิงบวกมากกว่าคนที่ประสบความล้มเหลว

8. มีภาวะความเป็นผู้นำสูง     ผู้นำ คือ ผู้ที่มีผู้อื่นปฏิบัติตามในสิ่งที่เราอยากให้ทำด้วยความเต็มใจ ดังนั้นผู้นำจะต่างจากผู้จัดการค่อนข้างมาก เพราะผู้จัดการทำให้ผู้อื่นทำตามด้วยคำสั่ง แต่ผู้นำทำให้ผู้อื่นทำตามด้วยการจูงใจ ในชีวิตการทำงานเราคงต้องมีทั้งความเป็นผู้จัดการและความเป็นผู้นำ แต่ถ้าผู้จัดการคนใดมีภาวะความเป็นผู้นำสูง ก็ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า เรื่องของผู้นำคงต้องขอยกไปพูดในหัวข้ออื่นๆ เพราะเป็นเรื่องที่เยอะมาก เพียงแต่อยากชี้ให้เห็นว่า ผู้ประสบความสำเร็จ จะมีภาวะความเป็นผู้นำภายในตัวเองสูง และผู้ตามก็อยากตามด้วยความเต็มใจ

9. ให้ความสำคัญกับผู้อื่นผู้ประสบความสำเร็จทุกคนไม่สามารถทำอะไรโดยลำพังได้เลย ต้องมีผู้อื่นร่วมอยู่ในงานนั้นๆ อยู่เสมอ ถ้าผู้ใดบอกว่าประสบความสำเร็จได้โดยลำพัง แสดงว่าผู้นั้นคงเข้าใจอะไรผิด บางอย่างแน่ๆ เลย เพราะไม่มีผู้ยิ่งใหญ่คนใดทำงานสำเร็จได้เอง ดังนั้นการให้ความสำคัญกับผู้อื่นอย่างจริงใจจึงเป็นคุณลักษณะเด่นที่สำคัญ จะเห็นว่า ผู้ใดมีทีมงานที่ยิ่งใหญ่และเป็นทีมเวิร์คผู้นั้นจะประสบความสำเร็จสูง การให้ความสำคัญผู้อื่นหมายถึง การทำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในวิสัยทัศน์ , ค่านิยม และแผนงานของเรา ส่งเสริมให้เขาได้แสดงความสามารถของเขาให้เต็มที่ ยอมรับในคุณค่าของเขา และปฎิบัติต่อผู้อื่นดังนี้ จะประสบความสำเร็จแน่นอนค่ะ

10. ดำเนินเรื่องด้วยความไม่ประมาทผู้ประสบความสำเร็จ จะไม่กลัวความล้มเหลว คิดอะไรได้ก็จะลงมือทำทันที แต่เขาก็ไม่ได้ประมาท เพราะก่อนที่เขาจะลงมือทำนั้น ต้องมีข้อมูล และแผนงานที่ชัดเจนก่อน มิเช่นนั้น เขาก็ยังไม่ทำ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ เขามีขั้นตอนในการดำเนินชีวิตที่แน่นอน ไม่ยืนอยู่บนความเสี่ยงเด็ดขาดแต่ก็ไม่กลัวความล้มเหลวเมื่อลงมือทำแล้วก็จะทำให้ตลาดจนกว่าจะบรรลุผลสำเร็จ

 

ขอฝากคำคมไว้ว่า

เมื่อเสียหลักก็ต้องหลบอย่างฉลาด เมื่อพลั้งพลาดต้องรู้หลึกใส่ปลีกหาง ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆทำ ค่อยคลำทาง จึงจะย่างสู่จุดหมายเมื่อปลายมือ

ผู้บริหารที่ดี ต้องทำอย่างไร

คะ  ตำแหน่งผู้บริหารมีผลอย่างยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ถ้าองค์กรใดได้ผู้บริหารที่เก่ง ดี มีวิสัยทัศน์ ก็มีแนวโน้มว่าองค์กรนั้น จะมีอนาคตสดใส เปรียบเสมือนนาวาลำน้อยใหญ่ ที่มีนายท้ายเรือที่เข้มแข็งคอยคัดหางเสือกำหนดทิศทาง ให้เรือแล่นไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จ แต่หากนายท้ายเรือไม่มีประสิทธิภาพ นาวาลำน้อยก็มีอันต้องจมหายไปในทะเลเป็นแน่

ดังนั้น ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ได้รับการยกย่อง นับถือจากพนักงาน และคนในแวดวงธุรกิจ บางคนเป็นถึงผู้บริหารที่ทำงานไม่เป็น บริหารคนไม่ถูก ไม่รู้ว่าเขาทำกันอย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำสำหรับการเป็นผู้บริหารที่ดีมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

1.             เป้าหมายคือความสำเร็จ  ทำงานด้วยความทุ่มเท อุทิศตน เต็มที่กับงานทุกอย่าง และต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับทุกสถานการณ์ ที่สำคัญคือมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่ความสำเร็จขององค์กร ซึ่งจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติตาม

2.             มีความกล้าหาญ กล้าที่จะยืนหยัด ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกที่ควร กล้าที่จะพูด กล้าที่จะทำ กล้าคิดในสิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป นอกจากนี้ต้องกล้าที่จะปกป้องลูกน้อง เมื่อเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ดีกว่านิ่งเฉย ปล่อยให้ลูกน้องเผชิญชะตากรรมแต่เพียงลำพัง ซึ่งจะทำให้คุณเป็นผู้บริหารที่ลูกน้องต่างก็เคารพรักในตัวคุณ

3.             มีวิธีสื่อสารที่ดี นอกจากผู้นำจะต้องมองการณ์ไกล และมีความคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอแล้ว การจะถ่ายทอดความคิดออกไปสู่การปฏิบัตินั้น จำเป็นต้องอาศัยทักษะการสื่อสารที่ดี มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน ที่สร้างความสับสนให้กับทีมงาน ทำให้การงานเป็นไปอย่างสะดวกราบรื่น และมุ่งสู่ความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

4.             เชื่อมั่นในศักยภาพของพนักงาน เชื่อว่าพวกเขาสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานให้ดีและสำเร็จด้วยตัวของพวกเขาเอง ส่วนผู้บริหารก็คอยแนะนำ ให้การสนับสนุนอยู่ห่าง ๆ

5.             ติดตามความสำเร็จ  เมื่อมอบหมายงานให้แก่พนักงานแล้ว ผู้บริหารจะต้องคอยตรวจตราความเคลื่อนไหว ผลการทำงานตามขั้นตอน ว่าสำเร็จเรียบร้อยดีหรือไม่ หากเกิดปัญหาติดขัด ก็ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ เพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาต่อไป

6.             ตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ ผู้บริหารที่ดีต้องไม่ยอมจำนนต่อสิ่งต่าง ๆ ง่าย ๆ รวมทั้งไม่นิ่งนอนใจที่จะหาคำตอบให้กับสิ่งที่สงสัย ต้องเป็นคนช่างสังเกต ชอบตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบ เป็นการพัฒนาทางด้านความคิดอยู่เสมอ ซึ่งเมื่อความคิดได้พัฒนาอยู่ตลอดเวลา ก็จะเกิดความคิดใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาองค์กรของคุณ

7.             ประเมินผลงานอย่างยุติธรรม เมื่อพนักงานทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ และมีผลงานที่ดี ก็สมควรได้รับรางวัลในความดีของเขา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเงินทอง ของขวัญ แต่อาจเป็นคำชื่นชม ยกย่อง ให้เกียรติเขา เพื่อเป็นกำลังใจให้เขารักษาความดีงามเอาไว้ต่อไป ในทางตรงกันข้ามพนักงานที่ไม่ตั้งใจทำงาน หรือสร้างปัญหาอยู่เสมอก็ควรได้รับการประเมินผลงานตามเนื้อผ้า แม้ว่าเขาอาจจะเป็นคนสนิทและใกล้ชิดกับคุณก็ตาม

การเป็นผู้บริหารนั้นจะมีแต่เพียงอำนาจอย่างเดียวคงไม่ได้ จำเป็นต้องมีบารมีควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้พนักงานเกิดความเคารพนับถือ และพร้อมที่จะทำงานหนัก เพื่อคุณและองค์กรของพวกเขา ซึ่งอยู่ที่การวางตัวของคุณนั่นเอง

การพัฒนาคนจากภายในสู่ภายนอก

ในอดีตที่ผ่านมาองค์กรมักจะมุ่งเน้นการพัฒนาคนที่เปลือกนอกคือมุ่งเน้นที่การพัฒนา "องค์ความรู้ (Knowledge)" “ทักษะ(Skill)” หรือ พฤติกรรม (Behavior)” มากกว่าการพัฒนาที่แก่นแท้ของคนซึ่งหมายถึง ทัศนคติ(Attitude)” “แรงจูงใจ(Motivation)” หรือ อุปนิสัย(Trait)” จึงทำให้การพัฒนาบุคลากรไม่ได้ผลเท่าที่ควร         การพัฒนาคนในหลายองค์กรมักจะมุ่งเน้นผลการพัฒนาระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ดังนั้น รูปแบบการพัฒนาและฝึกอบรมจึงออกมาในลักษณะของการพัฒนาความรู้ ทักษะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถเห็นผลได้ทันที เช่น การฝึกอบรมเรื่องการใช้อินเตอร์เน็ต อาจจะใช้เวลาเพียงวันเดียว จากคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตไม่เป็นก็สามารถใช้เป็นได้ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือ เราไม่ค่อยพัฒนาคนให้ยอมรับว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์กับชีวิตอย่างไร บางคนถึงแม้จะใช้อินเตอร์เน็ตเป็น แต่รู้สึกว่ามันไม่มีประโยชน์มากนัก เลยไม่ได้ใช้ ดังนั้น ทักษะที่เรียนรู้ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร         เราจะเห็นการพัฒนาคนจากเปลือกนอกได้ชัดเจนมากจากมินิมาร์ท ปั๊มน้ำมันหรือห้างสรรพสินค้า ที่พนักงานของเขาทักทายหรือขอบคุณเราด้วยคำว่าสวัสดีหรือ ขอบคุณแต่เราสามารถสัมผัสได้ว่าคำพูดหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมานั้น ไม่ใช่มาจากส่วนลึกของจิตใจ แต่เป็นเพียงพฤติกรรมที่ถูกฝึกมาและถูกบังคับให้ทำตามเงื่อนไขมากกว่า เช่น ถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งให้พูดคำว่า สวัสดีถ้าพนักงานคนนั้นถูกพัฒนามาจากภายในแล้ว ไม่ว่าเขาจะทำงานหรืออยู่ในสังคมภายนอก การทักทายหรือการขอบคุณนั้นจะต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลาและคำพูดนั้นจะต้องออกมาจากภายใน       แนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคต  มีความเชื่อมั่นว่าจะต้องเปลี่ยนจากการพัฒนาความ รู้ ทักษะ และพฤติกรรม ไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้เอง พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามทัศนคติที่เปลี่ยนไป องค์กรทุกองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเจาะเข้าไปพัฒนาที่จิตใจของคนมาก ขึ้น องค์กรต้องหวังผลการพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะถ้าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนาภายในจิตใจของคนแล้ว การพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายนอกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
          แนวทางหนึ่งที่กำลังมาแรงแซงทางโค้งในปัจจุบันคือ
การพัฒนาตนเอง (Self-Development) เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจเพื่อสร้างแรงจูงใจในชีวิตของคนก่อนเป็น อันดับแรก ซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในการพัฒนาแบบนี้คือ ตัวพนักงาน แต่อย่าลืมว่าถ้าพนักงานมีแรงจูงใจในชีวิตแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์ในลำดับต่อมาก็หนีไม่พ้นตัวองค์กร
          การพัฒนาแนวทางนี้จะเน้นการค้นหาตัวเอง การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง การกำหนดเป้าหมายในชีวิต การกำหนดแนวทางไปสู่เป้าหมาย รวมถึงการจัดทำแผนการดำเนินชีวิตที่เป็นรูปธรรม พูดง่ายๆคือ สอนคนให้บริหารธุรกิจชีวิตของตัวเองก่อนนั่นเอง ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าถ้าคนมีแผนการบริหารชีวิตที่ดีแล้วคนเหล่านั้นย่อม สามารถเชื่อมโยงเป้าหมายชีวิตเข้าสู่เป้าหมายในการทำงานขององค์กรได้ไม่ยาก นัก นอกจากนี้ ถ้าคนสามารถบริหารชีวิตตัวเองได้ การบริหารคนบริหารงานก็ไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป
          การพัฒนาแนวทางใหม่นี้ องค์กรจำเป็นต้องเปิดใจกว้างให้มากขึ้น อย่าคิดว่าต้องพัฒนาฝึกอบรมคนเฉพาะหลักสูตรที่เป็นประโยชน์กับองค์กรเพียง อย่างเดียว ลองคิดทบทวนดูให้ดีนะคะว่าอดีตที่ผ่านมาเราคิดแบบนี้ แล้วการพัฒนามันได้ผลหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่ ทำไมไม่ลองพัฒนาในแนวทางใหม่ดูบ้างละคะ
 การที่องค์กรส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาชีวิตตัวเองก่อนนั้น นอกจากจะทำให้คนเกิดแรงจูงใจในการทำงานแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่องค์กรจะได้รับคือ ได้รับรู้ว่าคนแต่ละคนมีเป้าหมายในชีวิตเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่องค์กรสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ลองพิจารณาดูนะครับว่า ถ้าพนักงานต้องการปิดบังไม่ให้องค์กรรู้ว่าตัวเองมีเป้าหมายชีวิตของตัวเอง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงาน ในขณะเดียวกันองค์กรก็พยายามกีดกันคนที่มีเป้าหมายในชีวิตของตัวเองที่ ชัดเจน เช่น ถ้าองค์กรรู้ว่าคนไหนมีแผนในชีวิตที่จะออกไปทำธุรกิจส่วนตัว ก็มักจะไม่โปรโมทหรือไม่ค่อยส่งไปเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ถ้าเป็นเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรเสียหายสองต่อคือ นอกจากจะกีดกันคนที่มีแรงจูงใจในชีวิตแล้ว ในขณะเดียวกันก็เกิดความสูญเปล่าในการพัฒนาคนที่จงรักภักดีกับองค์กรแต่ขาดแรงจูงใจในชีวิต
          องค์กรส่วนใหญ่มักจะมองว่าใครยังไม่มีแผนชีวิต (หรือมีแต่ไม่รู้) ที่จะออกไปจากองค์กร องค์กรมักจะมองว่าคนๆนั้นเป็นทรัพยากรที่มีค่าน่าจะดูแลรักษามากกว่าคนที่มี แผนชีวิตที่ชัดเจน ผมจึงอยากให้คิดทบทวนดูใหม่ว่าการพัฒนาองค์กรไม่ได้อยู่ที่ว่าคนๆนั้นจะอยู่ กับองค์กรนานหรือไม่ แต่อยู่ที่ในระยะเวลาที่เขาอยู่กับองค์กรเขาได้สร้างคุณค่าให้กับองค์กรมาก น้อยเพียงใด เราจะเห็นว่าคนหลายคนที่ออกจากเราไปทำธุรกิจของตัวเอง ถ้ามองย้อนหลังกลับไปจะเห็นว่าคนเหล่านี้ได้ทุ่มเทและสร้างสรรค์ให้กับ องค์กรอย่างคุ้มค่า เผลอๆอาจจะสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้มากกว่าคนที่อยู่นานก็ได้
          ดิฉันเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่าคนที่ทำงานเก่งและทำงานดีในองค์กรนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คนๆนั้นมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน และมีแรงจูงใจในชีวิตที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน(Internal Drive) ไม่ใช่แรงจูงใจภายนอก (External Drive) ใครก็ตามที่ทำงานเพราะมีแรงจูงใจจากภายนอก คนๆนั้น โอกาสเปลี่ยนแปลงมีมาก เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ชีวิตได้เติมเต็มในสิ่งที่ต้องการแล้ว แรงจูงใจจะลดน้อยลงหรือหายไป แต่คนใดมีแรงจูงใจที่เกิดจากภายในแล้ว นอกจากจะไม่ลดไปตามการเติมเต็มของชีวิตแล้ว มันกลับจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาจะตั้งเป้าหมายชีวิตที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น และผมเชื่ออีกว่าความท้าทายในชีวิตอย่างหนึ่งของคนคือ การทำงาน เพราะการทำงานถือเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งที่เขาต้องการประสบความสำเร็จ
          สรุป การพัฒนาคนแบบ Inside Out Approach จึงเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาคนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาจากภายใน (ทัศนคติ แรงจูงใจ อุปนิสัย) สู่การพัฒนาภายนอก (ความรู้ ทักษะ พฤติกรรม) เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายในใจของคนได้แล้ว การพัฒนาความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมของคนก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นอย่างแน่นอน

การบริหารคนให้ได้ผลดี

*       การบริหารคนให้ได้ผลดี ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างในทางที่ดีให้แก่ลูกน้อง มีการวางตัวที่เหมาะสม ทำให้ลูกน้องเคารพ และทำตามในสิ่งดีๆ ในทางกลับกันถ้าผู้นำเป็นต้นแบบในทางที่ไม่ดี ลูกน้องก็จะทำตามในสิ่งที่ไม่ดีนั้นเช่นกัน จะตำหนิลูกน้องก็ไม่ได้ ในเมื่อตัวเองยังทำไม่ได้แล้วจะบอกให้ลูกน้องทำ ก็คงไม่มีทาง ในที่สุดก็จะพากันเสื่อมทั้งหัวหน้าทั้งลูกน้อง ดังนั้น นายที่ดีต้องทำเป็นตัวอย่าง เช่น  เข้างานตรงเวลา และอย่าออกก่อนเวลา ถ้าไม่อยากให้ลูกน้องมาทำงานสาย จงไปทำงานแต่เช้าทุกวัน และอย่าสร้างนิสัยออกก่อนเวลาให้กับลูกน้อง   อย่าขอให้พวกเขาทำอะไรที่นอกเหนือไปจากเรื่องงาน เว้นเสียแต่ว่าคนๆ นั้นเป็นผู้ช่วยประจำตัวของคุณ   คุณไม่ใช่เพื่อนของพวกเขา การเป็นผู้นำที่ดีไม่จำเป็นต้องเล่าเรื่องราวความรัก ให้ลูกน้องฟัง ถึงแม้ว่าคุณอยากจะให้ลูกน้องรู้สึกผ่อนคลายและยอมเล่าปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาในครอบครัวให้คุณฟังก็ตาม รับผิดชอบในความผิดพลาด ในฐานะหัวหน้าเมื่อลูกน้องของคุณทำความผิดพลาดใดๆ ก็ตาม คุณต้องเป็นคนรับผิดชอบในความผิดนั้น เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ในส่วนของลูกน้องที่มีปัญหา คุณควรเพิ่มความเอาใจใส่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ให้เขามีโอกาสได้ฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของเขาให้ดีขึ้น  บริหารจัดการ แต่ไม่จู้จี้จุกจิก ลูกน้องชอบผู้นำที่เอาใจใส่และคอยให้คำปรึกษา ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ต้องการเป็นตัวของตัวเอง และได้แสดงความสามารถของพวกเขาอย่างเต็มที่ ดังนั้นคุณอย่าได้ทำตัวจู้จี้จุกจิก หรือคุมเข้มทุกกระเบียดนิ้ว เพราะจะทำให้ลูกน้องเกิดความรู้สึกอึดอัด และเบื่อหน่ายในการทำงานไปเสียก่อน

  ก่อนจากกันในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

ไม่เคยมีคำว่าสายเกินไปที่จะเป็นในสิ่งที่ คุณอยากจะเป็น

องค์ประกอบของการบริหารทรัพยากรบุคคล

การบริหารทรัพยากรบุคคลให้บรรลุเป้าหมาย แล้วต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ แต่โดยทั่วไปมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 4 ประการ ก็คือ

สรรหา คือการเสาะแสวงหา เลือกสรรคนดีมีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถเหมาะกับงาน
พัฒนา พยายามทำให้คนดี มีความรู้ มีความสามารถเพิ่มขึ้น ตลอดจนทำให้มีทัศนคติ มีพฤติกรรมที่ดีในการทำงาน
รักษาไว้ พยายามทำให้คนทำงานรู้สึกพอใจในการทำงาน ได้รับความดีความชอบด้วยความเป็นธรรม มีความสุขในที่ทำงาน ไม่คิดโยกย้ายไปอยู่ที่อื่น
ใช้ประโยชน์ คือการใช้คนให้ได้ประโยชน์เต็มที่ ใช้คนให้ตรงกับงาน ตรงกับความรู้ความสามารถ ไม่เอารัดเอาเปรียบบริษัทหรือเพื่อนร่วมงานคนอื่น
หากคุณลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า คุณเป็นคนโมโหร้ายหรือเปล่า
สังเกตดูสิว่า เวลาโมโหทีไรเป็นต้องระเบิดอารมณ์ทั้งคำพูดและการกระทำ เช่น ด่าว่า ทำลายข้าวของ หรือลงมือลงไม้โดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แล้วมานั่งเสียใจภายหลังว่าไม่ควรทำอย่างนั้นเลย คุณสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นคนใจเย็นลงได้  โดยกรมสุขภาพจิตมีคำแนะนำดังนี้
         ถ้าคุณรู้สึกโกรธ พยายามบอกตัวเองให้หยุดคิดสักอึดใจหนึ่งก่อน ช่วงนี้ให้พยายามสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ พร้อมทั้งนับหนึ่งถึงสิบในใจไปด้วย     ถ้าเป็นไปได้ควรหลบเลี่ยงให้พ้นจากบุคคลหรือสถานการณ์ที่ทำให้โกรธชั่วคราว เพราะมันจะช่วยลดอารมณ์โกรธให้น้อยลง และตัดโอกาสที่คุณจะทำอะไรรุนแรงลงไปได้ หลังจากนั้น ให้ระบายอารมณ์โกรธในทางที่เหมาะสม เช่น เตะลูกฟุตบอล ชกกระสอบทราย ซักผ้าแล้วขยี้แรงๆ วิ่งไกลๆ ให้ได้เหงื่อ เป็นต้น จะช่วยสลายความโกรธไม่ให้สะสมอยู่ในใจ
           นอกจากนี้คุณควรหาทางผ่อนคลายความเครียดเป็นประจำทุกวัน เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือทำงานอดิเรกที่ชอบ ร่างกายจะได้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า จิตใจแจ่มใส ไม่หงุดหงิดโกรธง่ายอย่างแต่ก่อน และถ้าฝึกสมาธิได้ก็จะเป็นการดี จิตใจของคุณจะสงบเยือกเย็นลงกว่าเดิม แต่ถ้าลองทำดูแล้วไม่ได้ผลก็ควรไปหาแพทย์ เพื่อรับการรักษาต่อไป
           การเป็นคนโมโหร้าย นอกจากตัวคุณเองไม่มีความสุขแล้วจะพลอยทำให้คนใกล้ชิดรอบข้างเดือดร้อน หรือไม่มีความสุขตามไปด้วย
          โปรโมตลูกน้องให้ได้ดี   การโปรโมตลูกน้องให้มีตำแหน่งที่สูงขึ้นหรือเพิ่มเงินเดือนให้นั้น ส่วนมากเกิดจากสถานการณ์บังคับ คือลูกน้องมีข้อต่อรองที่เป็นต่อ เช่น จะยกทีมออก หรือลาออกไปอยู่กับคู่แข่ง ลำพังหัวหน้าหรือบริษัทเองไม่มีความคิดที่จะเพิ่มรายจ่ายในส่วนนี้หรอก โดยเฉพาะในสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างนี้

แต่ถ้าบริษัทมีนโยบายให้คุณเป็นหัวหน้า ช่วยคัดเลือกว่าจะส่งเสริมพนักงานคนไหน คุณจะทำอย่างไรดี เพราะถ้าเลือกไม่ดี ได้คนไม่เหมาะสมมา (หรือเอาคนของตัวเองขึ้นมา) ผลงานย่อมไม่ได้ตามที่ต้องการแน่ และคนดีๆ คนอื่นอาจจะหมดกำลังใจทำงาน การบริหารเกิดความยุ่งยาก ไม่มีใครให้คามร่วมมือ เกิดความระส่ำระสายแบ่งพวกแบ่งฝ่ายไปทั่วองค์กร
การเลือกโปรโมตคนนอกจากจะดูที่นิสัยใจคอ และบุคลิกภาพเหมาะกับตำแหน่งแล้ว ความรู้ความสามารถที่พร้อมจะทำงานนั้นได้เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง   คนที่จะขึ้นมาเป็นหัวหน้าหรือรับผิดชอบงานใหญ่โตนั้น จะต้องวิเคราะห์งานเป็น สามารถคิดงานใหม่ สานงานเก่า ไม่ใช่รอคำสั่งอย่างเดียว    สามารถทำงานประจำและงานจรจนสำเร็จลุล่วงตามที่ได้รับมอบหมาย ไม่ใช่พอเป็นหัวหน้างานแล้วทำตัวยุ่งจนงานไม่เสร็จสักอย่าง อย่าลืมว่าตำแหน่งสูงขึ้นก็ต้องรับผิดชอบงานกว้างขึ้น ต้องบริหารเวลาเป็น เพราะจะมีงานนอกเหนือความรับผิดชอบมาให้ทำอยู่เรื่อยๆ
         หัวหน้างานควรผ่านการทำงานชนิดนั้นมาก่อน จะได้รู้ว่าทำอย่างไร มีรายละเอียด ขั้นตอนอย่างไรบ้าง ต้องรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร ไม่ใช่เอาใครจากที่ไหนมาก็ไม่รู้ ยิ่งประเภทจอมโปรเจกต์ วาดฝันสวยหรูแต่ไม่เคยลงมือทำนะ จะทำให้ลูกน้องหรือผู้ร่วมงานอึดอัดใจเปล่า ๆ        หัวหน้างานต้องทำงานเป็นทีม รู้วิธีดึงความสามารถของลูกน้องมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับงาน รู้จักพูดจูงใจคน นอกจากนี้ต้องประสานงานกับฝ่ายอื่นได้ดี ไม่ดูถูกคนอื่น ยกย่องให้เกียรติทุกคน ไม่ใช่ดีแต่แผนกของตัวเอง เข้าข้างแต่แผนกของตัวเอง แต่ไม่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือฝ่ายอื่น พายเรือคนละทิศแบบนี้สักวันบริษัทก็ตรงอยู่ตรงนั่นเอง    
         คนจะเป็นใหญ่เป็นโตต้องรู้จุดดีจุดด้อยของตัวเอง พร้อมจะหาคนมาช่วยเสริมจุดด้อยโดยไม่รู้สึกเสียหน้า คนที่เอาแต่เขม่นหรือหมั่นไส้คนที่เก่งกว่า ไม่สมควรให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าเด็ดขาด เพราะจะทำให้ลูกน้องเก่งๆ หนีหมด
หัวหน้างานต้องมองภาพรวมเป็น รู้เป้าหมายใหญ่คืออะไร เป้าหมายรองอยู่ไหน ไม่ใช่มองแต่ผลสำเร็จเล็กๆ แคบๆ ในส่วนของตนเท่านั้น ต้องสนับสนุนงานส่วนอื่นที่จะทำให้เป้าหมายใหญ่บรรลุผลสำเร็จร่วมกันด้วย    ยิ่งตัวคุณเองซึ่งมีหน้าที่เลือกคนมาโปรโมตด้วยแล้ว ต้องมองทั้งภาพกว้างภาพไกล รอบคอบและยุติธรรม มองประโยชน์ขององค์กรเป็นที่ตั้ง จะได้เลือกคนไม่ผิด    คนที่จะขึ้นมาเป็นหัวหน้างานหรือรับผิดชอบงานใหญ่ได้นั้น จะต้องวิเคราะห์งานเป็นสามารถคิดงานใหม่สานงานเก่า ไม่ใช่รอแต่คำสั่งอย่างเดียว

เกาให้ถูกที่คันกับการบริหารองค์กร

หัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคลากรในองค์กรต่างๆไม่ได้อยู่ที่ประสิทธิภาพของเครื่องมือหรือวิธีการที่นำมาใช้ในการพัฒนาเท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรได้พัฒนาบุคลากรถูกที่ถูกจุดหรือไม่ ถ้าจะพูดง่ายๆแบบภาษาชาวบ้านก็คือ เกาถูกที่คันหรือไม่ หลายองค์กรได้นำเอาเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่สุดท้ายปัญหาการบริหารคนก็ยังคงมีอยู่เหมือนกัน เพราะจัดยาไม่ตรงกับโรคหรือไม่ก็ไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร  สรุปได้ว่า การบริหารที่สำคัญในการร่วมงานกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือการบริหารใจลูกทีม ซึ่งทำได้ไม่ยาก ไม่ต้องลงทุน แต่คนเป็นหัวหน้าต้องมีใจให้ลูกน้องก่อน ตามด้วยการหมั่นสื่อสาร เพื่อสร้างความผูกพันทางใจอย่าให้จืดจาง  การบริหารใจ(คนอื่น)ทำไม่ยากอย่างที่คิด แต่ต้องเริ่มที่ใจ (ตัวเอง) ก่อน

วันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

ความ สำเร็จในชีวิตไม่ใช่การที่ไม่เคยพ่ายแพ้ หากแต่เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ล้มลง

ผู้บริหารที่ครองใจ..ลูกน้อง

การบริหารงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ต้องผู้บริหารต้องสามารถครองใจผู้ใต้บังคับบัญชา      ซึ่งจะต้องมีการปรับตัวเข้าหากันทั้งสองฝ่ายทั้งในตัวของผู้บริหารเองและต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของคนซึ่งนั่นคือผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณเองที่ต้องดูแลและเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและสิ่งที่สำคัญคือต้องปฏิบัติต่อลูกน้องของเรา ซึ่งจะกล่าวไปแล้วลูกน้อง ก็คือ ลูกและน้องของเรา ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทั้งการปลูกฝังเลี้ยงดูที่เราไม่สามารถจะเดาใจ หรือจะใช้วิธีการเดียวกันมาปฏิบัติเหมือนกันหมดทุกคน
ได้ เพราะทุกคนจะมีความต้องการ อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง ที่แตกต่างกันไป จึงต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราผู้บริหารที่ดี จึงไม่ควรบริหารงานโดยยึดความพึงพอใจของตนเอง เป็นคนเจ้าอารมณ์ โมโห ฉุนเฉียวง่าย ทำงานอย่างมีสติสัมปชัญญะในการประกอบการอาชีพ นั่นก็คือรู้ว่าตนเองกำลังทำอะไรมีความสำนึกในความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น จึงมีคำกล่าวที่ว่า ถ้าเราอยากมี นายที่ดี ลูกน้องของเราก็อยากมีเหมือนกัน เราไม่ชอบ นายแบบไหนลูกน้องเราก็ไม่ชอบเหมือนกัน

 การเป็นผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีการยึดหลัก ธรรมบท 10 เป็นหลักในการปฏิบัติตนเพื่อสร้างความเชื่อถือ ศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ ธรรมบท 10 ที่ผู้นำพึงมี ได้แก่
กาย 3. ได้แก่

1. การไม่ฆ่าสัตว์ 2. ไม่ลักทรัพย์ 3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
วาจา 4. ได้แก่ 1. ไม่พูดปด 2. ไม่พูดหยาบ 3. ไม่พูดส่อเสียด 4. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
ใจ 3. ได้แก่ 1. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ผู้อื่น-โลภะ 2. ไม่ผูกอาฆาต-โทสะ 3.มีความเห็นถูกต้อง-โมหะ
            ดังนั้น จะเห็นได้ว่าองค์กรที่ประสบความสำเร็จ มักจะคำนึงถึงเป้าหมายความสำเร็จ 3 ส่วน คือ เป้าหมายขององค์กร ของส่วนงานและของส่วนตัวหรือส่วนบุคคล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารใจคนให้ได้ หากไม่ได้ใจแล้วโอกาสที่จะได้รับความร่วมมือจึงเป็นไปได้ยาก จึงของแนะนำเทคนิคการครองใจเพื่อสร้างงานและสร้างความสำเร็จเพื่อใช้เป็นนาวปฏิบัติสำหรับผู้บริหารที่ต้องการความสำเร็จ
เทคนิคการครองใจ ที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติต่อลูกน้อง ดังนี้คะ
1. ต้องมีภาวะผู้นำสูง กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก กล้าให้การสนับสนุนเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าให้แก่ลูกน้อง ให้ความเป็นธรรม ไม่ลำเอียง อย่าเป็นผู้แบ่งพรรคแบ่งพวกเสียเอง ควรสร้างวัฒนธรรม การประจบด้วยผลงาน มากกว่าการประจบสอพลอ เพื่อขอเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง
2. การสั่งการและมอบหมายงานควรใช้มธุรสวาจา มีความสุภาพ ให้เกียรติผู้อื่นรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะอย่างตั้งใจ มีความอ่อนหวาน และให้กำลังใจ อย่าติ หรือตำหนิลูกน้องต่อหน้าผู้คนจำนวนมากหรือในที่สาธารณชนโดยเด็ดขาด และต้องกล่าวชมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเขาทำงานได้ดี
3. รักษาน้ำใจของลูกน้องและเพื่อนร่วมงานอย่าแก้ไขงานหนังสือบ่อยๆ ควรดูให้เสร็จในคราวเดียว แก้ซ้ำๆ ซากในหนังสือฉบับเดียวหากเกิดจากเราแก้ไขหรือเพิ่มเติมไม่ครบถ้วนก็จะต้องขอโทษเขา เพราะความผิดพลาดเกิดจากเรา ที่เป็นเหตุทำให้เขาต้องพิมพ์ใหม่ทำใหม่
4. รู้จักใช้งานด้วยความเกรงใจ และเข้าใจถึงความจำเป็นส่วนตัว เช่น ลูกน้องบ้านอยู่ไกล ก็ไม่ควรไม่ใช้งานในเวลาใกล้เลิกงานเพราะนอกจากคุณภาพของงานจะไม่ดีแล้วยังสร้างความกดดันให้แก่ลูกน้องอีกด้วย
5. ใช้คนให้เหมาะกับงาน(put the right man on the right job) ใครถนัดอะไรชอบอะไรให้เขาทำ เขาจะทำอย่างเต็มที่เพราะมีความสุขในการทำงานและสิ่งที่ได้คือผลงานจะออกมาดี หากให้ทำงานที่เขาไม่ถนัดไม่มีประสบการณ์ในด้านนั้นๆ มาก่อนนอกจากผลงานจะไม่เกิดแล้ว ยังต้องเสียทั้งเงินและเวลาอีกด้วย
6. อย่าทำลายบรรยากาศในการทำงานด้วยการระเบิดอารมณ์ใส่ลูกน้อง ต้องพิจารณาความผิดนั้น โดยแก้ไขที่ตนเอง ต้องเลิกนิสัย วางท่า วางอำนาจ จนใหญ่คับห้อง นอกจากไม่ได้ใจแล้วยังถูกนินทาลับหลังเสมอ จะขอความร่วมมือจากใครก็จะได้รับการปฏิเสธทันที
7. หากลูกน้องทำผิดในด้านใด ไม่ควรต่อว่าในทันที ต้องมาตรวจสอบดูว่า เราสั่งผิดหรือไม่ หากไม่เป็นเพราะเราสั่งผิด แต่เป็นเพราะเขาทำไม่ถูกก็ต้องมาสอนงานและแนะนำให้ถูกต้องอย่าให้เขาทำเองคิดเองสุดท้ายงานก็กกไม่ประสบความสำเร็จสักที
8. หากเอกสารที่ผ่านเราไปเกิดผิดพลาด ไม่ควรโทษลูกน้อง เพราะเราเองก็มีส่วนผิดเหมือนกัน ที่ปล่อยให้เอกสารนั้นผ่านเราไป โดยมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อย่าเซ็นต์ผ่านไปโดยไม่มีการตรวจสอบ หากผิดพลาดขึ้นมาจำไว้เลยว่า คุณนั่นแหล่ะคือคนแรกที่จะถูกตำหนิก่อนใคร
9. ทำตัวเป้นครูที่ดี แม่ที่ดี ต้องกล้าพูดกล้าสอน ในสิ่งที่ดี และเป็นตัวอย่างที่ดีหากผู้บริหารทำผิดระเบียบของหน่วยงานเสียเองแล้วคุณจะไปว่ากล่าวลูกน้องได้อย่างไร ดังนั้น จะสอนคนอื่นต้องสอนตัวเองให้ดีก่อน
10. ต้องปกป้อง สนับสนุน ลูกน้องที่ดีเมื่อเขาทำงานให้เราอย่างเต็มที่การพิจารณาความดี ความชอบก็ต้องเต็มร้อย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานและเมื่อใดเขาทำผิดก็ต้องตักเตือนลงโทษลูกน้องที่ทำผิดอย่าปล่อยไว้ จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ดีไปเพราะทำผิด ก็ไม่ถูกลงโทษ จึงเป็นเยี่ยงอย่างแก่คนอื่นให้นำไปปฏิบัติบ้าง
11. ไปร่วมงานส่วนตัวของลูกน้องตามโอกาสอันควร เช่น งานศพญาติ งานบวช งานแต่ง
12. มีอารมณ์ขันอยู่เสมอ แต่ไม่พร่ำเพรื่อ วางตัวให้เหมาะสมกับการเป็นหัวหน้า อย่าพูดส่อเสียด สองแง่สองง่าม
13. เป็นผู้ประสานรอยร้าวและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว
14. หมั่นพัฒนาตนเอง และเรียนรู้งานอยู่เสมอ ให้สมกับเป็นหัวหน้า มีใช่ต้องถามลูกน้องอยู่เรื่อยๆ จะปฏิเสธว่าตนเองไม่รู้ไม่ถนัดไม่ได้ เพราะเราเป็นหัวหน้ามิใช่ลูกน้อง ลูกน้องไม่รู้  เราต้องสอนงาน   หากเราไม่รู้ซะเองจะสอนงานใครได้ล่ะ จึงต้องรีบไขว่ขว้าหาความรู้อยู่เสมอ และต้องคิดเสมอว่า ไม่มีสิ่งใดจะยากเกินกว่าความสามารถของเรา
        หากท่านสมารถปฏิบัติได้ครบทั้ง 14 ข้อ  รับรองได้ว่าจะต้องเป็นผู้บริหารที่รักใคร่ของลูกน้องทุกคน.....เพราะท่านสามารถครองงานและครองใจได้อย่างเป็นผลสำเร็จยิ่ง และผลงานที่ท่านคาดหวังไว้ เขาจะทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจให้กับงานอย่างเต็มที่

11 พฤติกรรมแห่งความล้มเหลว

ในโลกของการบริการทุกอย่างที่ต้องทำให้ เป็นจริงให้ได้ แต่อะไรที่ไม่ทำให้เกิดขึ้นจริงนั้นหมายความว่า ล้มเหลวและความล้มเหลวนี้อาจจะเป็นวังวนใจชีวิตของคุณไปตลอดก็ได้ และแน่นอนว่าหากคุณไม่จัดการมันให้สำเร็จมันก็อาจจะนำมาซึ่งความล้มเหลวไป เรื่อย ๆ และวันนี้จะขอเสนอ พฤติกรรม 11 ข้อ แห่งความล้มเหลวที่ผู้บริหาร CEOs ต้องเจอ ได้แก่

1. ผู้บริหารที่หยิ่งผยอง หมายความว่า เป็นผู้บริหารที่มักจะมองเฉพาะตัวเองที่เป็นฝ่ายถูกแต่เพียงผู้เดียว ผู้อื่นนั้นผิดหมด ซึ่งอาจเกิดจาก ความฉลาดเหนือผู้อื่นที่มักจะทำให้คนเราตาบอกได้เสมอ และส่วนใหญ่เขาก็จะได้รับบทเรียนที่เกิดจากความมั่นใจของตนเองมากเกินไป และความเชื่อในความคิดของตนเองเป็นใหญ่แบบไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งนำไปสู่ความหายนะ

2. ผู้บริหารตีบทแตก เป็นพวกที่ชอบทำให้ตัวเองเป็นจุดเด่นเสมอนั่นคือ การสร้างภาพให้ดี การเป็นผู้บริหารแบบตีบทแตกนั้น ต้องเป็นพวก ที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ หรือด้วยการกระทำที่มากเกินปกติ ซึ่งชวนให้นึกว่าการแสดงที่นอกเหนือไปจากบท หากนำมาใช้ ในองค์กรความเป็นคนตีบทแตก จะกลายเป็นบุคลิกที่คอยทำลายตัวเองไปในทันที เพราะว่ามันจะคอยลดบทบาทของคนอื่น และจะสูญเสียศักยภาพในการมองเห็นว่ารอบข้างนั้นเกิดอะไรขึ้น

3. ผู้บริหารอารมณ์แปรปรวน เป็นผู้บริหารที่เอาใจยากพอดู เพราะอารมณ์ของจะมาอารมณ์ไหนในแต่ละวันมันย่อมเป็นเรื่องที่ติดลบ อย่างแน่นอน เพราะพนักงานมักจะลังเลที่จะติดต่อคุยกับคุณ ไม่อยากเข้าใกล้ แต่ถ้าหนักเข้า อาจจะต้องหาวิธีรับอารมณ์แปรปรวนของคุณ

4. ผู้บริหารรอบคอมเกินจำเป็น หากการตัดสินใจที่กำลังจะมาถึง อาจเป็นการตัดสินใจครั้งแรกของคุณ บางทีคุณก็รอบคอบมากเกินไป ดูกังวลไปซะทุกเรื่อง เพราะคำพูดและการกระทำมันบ่งบอกถึงอนาคตขององค์กร และการที่คุณระมัดระวังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คุณต้อง ไม่ทำให้ความระมัดระวังที่เป็นความรอบคอบนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความระแวงซึ่งมันคือ ความรอบคอบเกินจำเป็นในการเป็นผู้นำระดังสูง เพราะหากคุณกลัวการตัดสินใจว่าจะทำผิดพลาดเกินไป แล้วข้อมูลหรือที่ปรึกษานั้นได้ให้คำแนะนำที่ไปคนละทิศคนละทางกับความคิดของคุณ คุณก็จะยิ่งกังวลมากขึ้นไปอีก นั่นคือคุณไม่ยอมตัดสินในอะไรเลย หากคุณปล่อยเวลาสำหรับการคิดนั้นมากเกินไป ก็มีค่าเท่ากับศูนย์เปล่า

 

5.     ผู้บริหารที่ไว้ใจแต่ตัวเองเท่านั้น เป็นผู้บริหารที่ไม่เคยไว้ใจใครเลย นั่นคือการทำลายอาชีพของคุณ และองค์กรเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อคุณเก่งคุณก็ล้มได้ ส่วนความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันมักก่อให้เกิดสภาพการทำงานแบบประธานาธิบดีนิ กสัน โดยการแพร่กระจาย ความไม่ไว้วางใจคนอื่นไปสู่คนอื่น ๆ ต่อ ๆ ไป มันเหมือนการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ซึ่งองค์กรที่อยู่ในสภาวะการแข่งขันต้องเคลื่อนให้ไว สู่การเป็นหากลด้วยจำนวนที่มีหลากหลายชนชั้น เชื่อชาติ อุปนิสัยใจคอ และวันที่แตกต่างกัน เพราะถ้าหากองค์กรใดไม่มีความไว้วางใจ ซึ่งกันและกันแล้วมักจะอยู่ไม่ได้

6. ผู้บริหารที่ไม่ยอมสุงสิงกับใคร หากคุณเป็นคนที่เก็บตัวอยู่ในโลกส่วนตัวของคุณเพียงคนเดียว คุณแบ่งแยกตัวเองออกจากสังคมและไม่ยอมรับรู้โลกภายนอก เช่น การเพิกเฉยต่อความขัดแย้งต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรแบนี้จะมีการเลียนแบบและทำตามจนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร เพราะฉะนั้นการสื่อสารจะเกิดความบกพร่องและขาดความจงรักภักดี ซึ่งต้องระวังในเรื่องนี้ให้มาก 

7. ผู้บริหารนอกคอกและแหกกฎ เป็นการประพฤติตัวไม่เหมาะสมแก่ลูกน้อง ซึ่งคุณอาจจะบอกว่ากฎระเบียบต่าง ๆ นั้นเป็นเพียงแค่แนวทาง ไม่ใช่สิ่งที่คุณยึดมั่นหรือถือมั่นว่าจะต้องทำตาม และยิ่งถ้าคุณเป็นผู้บริหารที่ชอบทำตัวให้เด่นแบบยินดีที่จะดับด้วยการแหกกฎ ประหลาดและไร้วินัย โดยนิสัยนี้จะส่งผลให้คุณไม่สามารถปกครององค์กรหรือลูกน้องได้ เพราะตัวคุณเองยังไม่อยู่ในกฎเลยแล้วค้นอื่นจะไม่เป็นอย่างคุณได้อย่างไร

 8. ผู้บริหารที่นึกสนุกในการทำตัวให้ต่างจากคนอื่น การทำตัวให้แตกต่างจากคนอื่นบางครั้งมันก็เป็นเรื่องดีแต่ก็ไม่ต้องถึงกับ ประหลาดจนคนอื่นรับไม่ได้ เพราะมันออกจะเป็นปัญหาซะมากกว่า เนื่องจากธรรมชาติของความไม่เหมือนใครมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความคิด สร้างสรรค์ แต่เอาเข้าจริงมันกลายเป็นสิ่งที่ทำลายตัวเองด้วยความที่ไม่สามารถจัดลำดับ ความสำคัญขององค์กรและทีมเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น ความแปลกประหลาดเช่นนี้หากได้นำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ย่อมดีแต่หากใช้ไม่เป็น มันก็จะเป็นบทเรียนราคาแพง เพราะอาจจะทำให้องค์กรคุณนั้นประสบกับความหายนะได้

 9. ผู้บริหารที่ต่อต้านด้วยความเงียบสงัด พฤติกรรมที่ต่อต้านอย่างเงียบ ๆ นี้ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้สงบนะครับซึ่งก็เหมือนกับการดื้อเงียบ เช่น การไม่กล้าต่อต้านความคิดเจ้านายที่คิดผิด ๆ เพราะไม่เป็นประโยชน์และจะพาลทำให้อนาคตไม่ราบรื่นนัก พฤติกรรมที่กล้าคิดแต่ไม่กล้าทำหรือการแสดงออกนี้เป็นภัยเงียบที่กัดกร่อม องค์กรจนทุกคนขยาด เพราะฉะนั้นเราควรร่วมสร้างวัฒนธรรมที่กล้าคิดกล้าทำในเรื่องที่สมควรและ เหมาะกับบริษัทจะดีกว่า

 10. ผู้บริหารจุกจิก เป็นผู้บริหารที่ดีในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้บริหารอย่างนี้ชอบการจัดการเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ ๆ แล้วก็ไม่สามารถทำได้ดีนัก ซึ่งการมองภาพใหญ่สำคัญกว่ามองภาพที่ลงในรายละเอียด ซึ่งคุณไม่มีทางประสบความสำเร็จด้วยการมองภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ คิดเล็กจะไปสู้อะไรกับคิดใหญ่ เพราะนั่นเท่ากับคุณลืมปรัชญาความเป็นผู้นำไปหมด การคิดเล็กคิดน้อย หรือใส่ใจในรายละเอียดมากเกินไป ซึ่งผู้บริหารบางคนพาลูกน้องไปเลี้ยงข้าวที่ร้านอาหาร แต่ตัวผู้บริหารนั้นชอบย้ายไปนั่งตรงนั้นที ตรงนู้นที ขยับไปเรื่อย ๆ จนทำให้คนอื่น ๆ ในร้านคิดว่าใครเป็นผู้บริหารหรือใครเป็นลูกน้องไปซะแล้ว

 11. ถ้าคุณอยากเป็นผู้ชนะใจทุกคนในองค์กร ผู้บริหารแบบนี้ไม่ใช่ว่าดีนะ เพราะการเอาในลูกน้องก็ควรเอาใจจนมากนัก ขอบเขตเพราะคุณไม่สามารถนั่นในใจคนทั้งองค์กร คนที่ชอบวิธีการบริหารของคุณก็มี ไม่ชอบก็มาก เป็นเร่องปกติธรรมดายิ่งต้องเปลี่ยนแปลงอะไร ๆ ในองค์กรดีโดยคุณสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำมาซึ่งประโยชน์ส่วนรวม แล้วคุณต้องยอมคนที่ต่อต้านกับคุณอีกด้วย เพาระฉะนั้นการที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องพุ่งเข้าไปทำให้ ฝ่ายตรงข้ามถูกใจก่อน เพราะนั่นเป็นการดักการบริหารของเหล่า CEO หลาย ๆ คนมาแล้ว       การเป็นผู้บริหารหรือ CEOs ได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และจากพฤติกรรมทั้ง 11 ข้อที่กล่าวมา พอที่จะบอกถึงแง่มุมมองจริง ๆ ซึ่งสามารถที่จะคอยเตือนสติว่าต้องไม่ล้มเหลวอีก