Monthly Archives: October 2011

10 วิธีในการมีความสุขในการทำงาน

10 วิธีมีความสุขในการทำงานวีณา บุญแสงสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การทำงานเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิต ช่วงเวลาหนึ่งในสามของแต่ละวันที่เราต้องอยู่ที่ทำงาน คงจะดีที่สุดหากคุณได้ทำงานที่ดีและมีความสุข แต่ถ้างานที่ทำอยู่ทำให้คุณรู้สึกท้อแท้และเสียสมดุลในชีวิต วิธีการเหล่านี้อาจช่วยให้คุณพบความสุขในการทำงานขึ้นมาได้บ้าง1.เลือกที่จะมีความสุขในการทำงาน เลือกที่จะมีความสุขในงาน อาจฟังดูง่ายแต่ทำยาก คิดด้านบวกในงานที่ทำอยู่ ทำในส่วนที่คุณชอบหลีกเลี่ยงจากคนที่คิดลบ ช่างว่าช่างนินทาคนอื่น หาเพื่อนร่วมงานที่คุณชอบและใช้เวลาว่างร่วมกับการเลือกจะช่วยให้คุณมีกำหนดประสบการณ์ที่กว้างขวางมากขึ้น อย่าลืมว่าคุณเลือกได้ที่จะมีความสุขในการทำงาน

2.ทำบางสิ่งที่คุณรักทุกๆวันคุณอาจจะไม่ได้รักงานที่คุณทำและอาจไม่เชื่อว่าจะหาสิ่งที่รักได้จากงานที่ทำอยู่ แต่เชื่อเถอะว่าคุณทำได้ ลองหันกลับมาค้นหาตัวเองว่า คุณสนใจอะไร คุณถนัดอะไร หาบางอย่างที่คุณรู้สึกว่าทำแล้วสนุก หากคุณทำได้อย่างนี้ทุกๆวัน งานที่คุณทำอยู่ก็คงไม่แย่เสียเลยทีเดียว

3.พัฒนาตัวเองสู่ความเป็นมืออาชีพคนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพก็คือคุณ หากต้องการคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจง ก็ควรขอความช่วยเหลือโดยตรงจากหัวหน้าของคุณนั่นเอง

4.แสดงความรับผิดชอบและรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในการทำงานบางคนรอที่จะให้หัวหน้าเป็นผู้ป้อนความรู้ บอกกล่าวเล่าแจ้งข่าวสารความเป็นไปต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่หัวหน้ามักจะไม่ว่าง มีงานมาก และบางครั้งหัวหน้าก็อาจไม่รู้ว่าคุณไม่รู้ คุณควรค้นหาข้อมูลที่จำเป็นเพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาเครือข่ายข้อมูลข่าวสารและใช้ประโยชน์จากมัน คุณควรกระตือรือร้นที่จะร่วมประชุมกับหัวหน้าสัปดาห์ละครั้งและตั้งคำถามต่างๆเพื่อที่จะเรียนรู้

5. ขอทราบข้อมูลย้อนกลับหากคุณอยากรู้ว่าผลงานที่ทำเสร็จแล้วนั้น หัวหน้าคิดอย่างไร คุณก็ควรถามเขา บอกให้เขารู้ว่าคุณอยากรู้ความคิดเห็นของเขาที่มีต่องานของคุณ คุยกับลูกค้าของคุณด้วย หากคุณให้บริการเขาดี ผลตอบกลับ ก็น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ อย่าลืมว่าคุณคือผู้รับผิดชอบต่อความก้าวหน้าของตัวคุณเอง

6.รับปากเฉพาะสิ่งที่คุณทำได้หนึ่งในหลายๆสาเหตุที่ทำให้เครียดจากงานและขาดความสุขก็คือไม่สามารถรักษาคำพูดที่ให้ไว้กับบางคน ใช้เวลามากไปกับการขอโทษขอโพยที่ทำไม่ได้ตามที่รับปากไว้ และมัวกังวลถึงสิ่งที่จะตามมาแทนที่จะทำงานนั้นให้เสร็จ คุณควรสร้างระบบการจัดการและวางแผนเพื่อจะทำงานให้ได้ตามที่สัญญาไว้ อย่าอาสา ถ้าคุณไม่มีเวลาพอ หากคุณมีภาระงานมากเกินกว่าที่จะทำไหว คุณก็ควรร้องขอความช่วยเหลือจากหัวหน้า

7.หลีกเลี่ยงทุกอย่างที่เป็นด้านลบเมื่อคุณเลือกที่จะมีความสุขในการทำงานก็หมายถึงการหลีกเลี่ยงจากการพูดคุยเรื่องลบๆ การนินทาว่าร้าย และคนที่ขาดความสุข ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะไม่ว่าคุณจะรู้สึกในด้านบวกขนาดไหนคนที่คิดลบก็อาจทำให้จิตใจคุณหวั่นไหวได้ อย่าปล่อยให้เขาทำคุณจิตตก วิธีง่ายๆอย่างหนึ่งที่ช่วยให้มีอารมณ์  ด้านบวก ก็คือการร้องเพลงหรือฟังเพลงในรถเวลาอยู่บนเส้นทางไปทำงาน ถ้าคุณยังไม่เคย ลองเริ่มต้นวันนี้ก็ยังไม่สาย

8.ฝึกความกล้าแบบมืออาชีพถ้าคุณเป็นเหมือนคนอื่นๆส่วนใหญ่ที่ไม่ชอบความขัดแย้ง คุณก็จะไม่ได้ฝึกให้มีประสบการณ์เรื่องความขัดแย้ง ดังนั้นคุณจึงคิดว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอันตรายและทำให้เจ็บปวด แต่ถ้าคุณทำดีๆ ความขัดแย้งสามารถช่วยให้คุณบรรลุภารกิจในการทำงานและเป้าหมายของคุณได้ ความขัดแย้งยังช่วยให้คุณตอบสนองลูกค้าและสร้างสรรค์สินค้าที่ประสบความสำเร็จได้

9. หาเพื่อนการได้สนุกสนานกับเพื่อนร่วมงานที่ชอบพอกันเป็นประสบการณ์ในการทำงานที่มีความสุข คุณควรใช้เวลาที่จะรู้จักพวกเขา คุณอาจจะชอบและสนุกกับพวกเขา เครือข่ายเพื่อนร่วมงานนี้จะเป็นแหล่งสนับสนุนให้คุณ

10. หากทำทุกอย่างที่กล่าวมาแล้วยังล้มเหลว การมองหางานใหม่ก็อาจทำให้คุณยิ้มได้หากทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่ทำให้คุณมีความสุขในการทำงานขึ้นมาได้ ก็คงถึงเวลาที่ต้อง

ประเมินตัวคุณและงานของคุณ อย่าปล่อยให้ชีวิตคุณเสียเวลาไปกับงานที่คุณเกลียดและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เป็นมิตร เชื่อว่า เทคนิคและวิธีการหาความสุขในการทำงานของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันไป

ความล้มเหลวของผู้บริหาร

ทำไมฉันถึงบริหารงานได้ล้มเหลว   เป็นคำถามที่ผู้บริหารหลายคนอาจเคยเฝ้าถามหาเหตุผลกับตัวเอง ถึงสาเหตุว่าทำไมตนเองถึงไม่ประสบความสำเร็จในการบริหาร หรือไม่ได้ผลลัพธ์เท่าที่ตนเองคาดหวังไว้ แน่นอนว่าเรื่องแบบนี้คงไม่ใช่เพราะโชคชะตาหรือเหตุบังเอิญที่เกิดขึ้น หากแต่เกิดจากความผิดพลาดที่เกิดจากตัวคุณเองบางประการที่คุณอาจมองข้าม ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจเป็น     ความล้มเหลวทางด้านความรู้-ความเข้าใจ ทั้งในของด้านนโยบายและวิธีการปฏิบัติ หากคุณขาดหรือไม่มีความรู้ทางเนื้อหาวิชาที่จำเป็นเพียงพอ หรืออาจเป็นเรื่องของการขาดประสบการณ์ ตลอดจนขาดความรู้ทางด้านกฏหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ก็อาจเป็นช่องโหว่ที่ทำให้การบริหารงานของคุณนั้นไม่เป็นไปตามเป้าวัตถุประสงค์ก็เป็นได้   ผู้บริหารล้มเหลวทางบุคลิกภาพ  เรื่องนี้เป็นความล้มเหลวทางด้านส่วนบุคคลล้วน ๆ อาจเป็นทางด้านบุคลิกภาพหรือความน่าเชื่อถือของคุณ บุคลิกภาพส่วนบุคคลนั้นมีความสำคัญพอ ๆ กับความรู้ ความล้มเหลวทางด้านบุคลิกภาพมีสาเหตุมาจากขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนไปถึงการไม่มีความสามารถในการตัดสินใจ เพราะเกิดความกลัวว่าจะเกิดความผิดพลาด ผู้บริหารบางคนขาดความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่กระจายความรับผิดชอบให้กับผู้ร่วมงานและไม่สามารถวิเคราะห์และประเมินผู้ ร่วมงานได้ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก

ผู้บริหารที่มีปัญหาของตนเองอยู่   ปัญหาส่วนตัวของผู้บริหาร หรือปัญหาทางด้านจิตใจ อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารงาน    หากผู้บริหารรู้จักแก้จุดอ่อนเหล่านี้ และพยายามพัฒนาศักยภาพของตน ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาก็คือ การพยายามแก้จุดอ่อนของตัวเอง เช่นหาความรู้หรือศึกษาในเรื่องที่คุณกำลังดำเนินงานอยู่ให้ถ่องแท้ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนพัฒนาบุคลิกภาพตัวเองและสะสางปัญหาที่อาจทำให้มีผลกระทบต่อการทำงานของคุณ รับรองว่าอีกไม่นานสถานการณ์ในเรื่องการบริหารของคุณ      ต้องมีทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน ก่อนจากกันในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

หนทางยาวไกลนับหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นด้วยก้าวแรกก่อนเสมอ

นิทาน สายลมและแสงตะวัน

ดิฉันมีเรื่อง สายลมและดวงตะวัน มาเล่าให้ฟัง

เรื่องก็มีอยู่ว่า  สายลมแวะผ่านมาทักทายดวงตะวันในสายวันหนึ่งที่ท้องฟ้าค่อนข้างมืดครึ้ม   ทั้งคู่คุยกันได้ไม่นานนัก ก็เกิดการโต้เถียงกันขึ้น  เพราะต่างคนก็คิดกันว่า ตนคือผู้ทรงพลังมากที่สุด    ในขณะที่กำลังโต้เถียงกันอยู่นั้นเอง  บังเอิญมีเด็กชายคนหนึ่งเดินผ่านมา   ทั้งสองจึงตกลงกันว่า  ผู้ที่สามารถทำให้เสื้อคลุมของเด็กชายคนนั้นหลุดออกไปได้   จะกลายเป็นผู้ชนะ   และเป็นผู้ที่ทรงพลังมากที่สุดไปทันที   สายลม เป็นฝ่ายเริ่มต้นก่อนด้วยการพัดกระหน่ำอย่างรุนแรงที่สุดเท่าที่ตนจะสามารถทำได้   หวังจะให้เสื้อคลุมของเด็กชายหลุดออกจากร่างไป    แต่ยิ่งสายลมพัดแรงมากขึ้นเท่าใด  เด็กชายก็ยิ่งออกแรงดึงเสื้อให้กระชับตัวมากขึ้นเท่านั้น  
จนสายลมเริ่มเหนื่อยอ่อน……… หมดกำลัง……………และต้องหยุดพัดไปในที่สุด
คราวนี้จึงเป็นโอกาสของ ดวงตะวัน บ้าง
มันค่อย ๆ โผล่ออกมาจากกลุ่มเมฆ   แล้วสาดแสงอันแรงร้อน……ส่องไปยังร่างของเด็กชายคนนั้น   แสงตะวันทำให้เด็กน้อยเริ่มรู้สึกร้อนขึ้น……ร้อนขึ้น……..ร้อนขึ้น
แต่ดวงตะวันก็ยังคงสาดแสงต่อไปไม่หยุดยั้ง
จนในที่สุด เด็กชายทนร้อนต่อไปไม่ไหว  จึงต้องถอดเสื้อคลุมออกจากตัว   ดวงตะวันจึงหันไปยิ้มให้สายลม  ก่อนที่จะบอกว่า  "ฉันคือผู้ชนะ"   นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า…….
การใช้ความรุนแรงไม่สามารถทำให้ได้มาซึ่งชัยชนะเสมอไป……….

11 พฤติกรรมแห่งความล้มเหลว

ในโลกของการบริการทุกอย่างที่ต้องทำให้ เป็นจริงให้ได้ แต่อะไรที่ไม่ทำให้เกิดขึ้นจริงนั้นหมายความว่า ล้มเหลวและความล้มเหลวนี้อาจจะเป็นวังวนใจชีวิตของคุณไปตลอดก็ได้ และแน่นอนว่าหากคุณไม่จัดการมันให้สำเร็จมันก็อาจจะนำมาซึ่งความล้มเหลวไป เรื่อย ๆ และวันนี้จะขอเสนอ พฤติกรรม 11 ข้อ แห่งความล้มเหลวที่ผู้บริหาร CEOs ต้องเจอ ได้แก่

1. ผู้บริหารที่หยิ่งผยอง หมายความว่า เป็นผู้บริหารที่มักจะมองเฉพาะตัวเองที่เป็นฝ่ายถูกแต่เพียงผู้เดียว ผู้อื่นนั้นผิดหมด ซึ่งอาจเกิดจาก ความฉลาดเหนือผู้อื่นที่มักจะทำให้คนเราตาบอกได้เสมอ และส่วนใหญ่เขาก็จะได้รับบทเรียนที่เกิดจากความมั่นใจของตนเองมากเกินไป และความเชื่อในความคิดของตนเองเป็นใหญ่แบบไม่ลืมหูลืมตา ซึ่งนำไปสู่ความหายนะ

2. ผู้บริหารตีบทแตก เป็นพวกที่ชอบทำให้ตัวเองเป็นจุดเด่นเสมอนั่นคือ การสร้างภาพให้ดี การเป็นผู้บริหารแบบตีบทแตกนั้น ต้องเป็นพวก ที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ หรือด้วยการกระทำที่มากเกินปกติ ซึ่งชวนให้นึกว่าการแสดงที่นอกเหนือไปจากบท หากนำมาใช้ ในองค์กรความเป็นคนตีบทแตก จะกลายเป็นบุคลิกที่คอยทำลายตัวเองไปในทันที เพราะว่ามันจะคอยลดบทบาทของคนอื่น และจะสูญเสียศักยภาพในการมองเห็นว่ารอบข้างนั้นเกิดอะไรขึ้น

3. ผู้บริหารอารมณ์แปรปรวน เป็นผู้บริหารที่เอาใจยากพอดู เพราะอารมณ์ของจะมาอารมณ์ไหนในแต่ละวันมันย่อมเป็นเรื่องที่ติดลบ อย่างแน่นอน เพราะพนักงานมักจะลังเลที่จะติดต่อคุยกับคุณ ไม่อยากเข้าใกล้ แต่ถ้าหนักเข้า อาจจะต้องหาวิธีรับอารมณ์แปรปรวนของคุณ

4. ผู้บริหารรอบคอมเกินจำเป็น หากการตัดสินใจที่กำลังจะมาถึง อาจเป็นการตัดสินใจครั้งแรกของคุณ บางทีคุณก็รอบคอบมากเกินไป ดูกังวลไปซะทุกเรื่อง เพราะคำพูดและการกระทำมันบ่งบอกถึงอนาคตขององค์กร และการที่คุณระมัดระวังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คุณต้อง ไม่ทำให้ความระมัดระวังที่เป็นความรอบคอบนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความระแวงซึ่งมันคือ ความรอบคอบเกินจำเป็นในการเป็นผู้นำระดังสูง เพราะหากคุณกลัวการตัดสินใจว่าจะทำผิดพลาดเกินไป แล้วข้อมูลหรือที่ปรึกษานั้นได้ให้คำแนะนำที่ไปคนละทิศคนละทางกับความคิดของคุณ คุณก็จะยิ่งกังวลมากขึ้นไปอีก นั่นคือคุณไม่ยอมตัดสินในอะไรเลย หากคุณปล่อยเวลาสำหรับการคิดนั้นมากเกินไป ก็มีค่าเท่ากับศูนย์เปล่า

 

5.     ผู้บริหารที่ไว้ใจแต่ตัวเองเท่านั้น เป็นผู้บริหารที่ไม่เคยไว้ใจใครเลย นั่นคือการทำลายอาชีพของคุณ และองค์กรเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อคุณเก่งคุณก็ล้มได้ ส่วนความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันมักก่อให้เกิดสภาพการทำงานแบบประธานาธิบดีนิ กสัน โดยการแพร่กระจาย ความไม่ไว้วางใจคนอื่นไปสู่คนอื่น ๆ ต่อ ๆ ไป มันเหมือนการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ซึ่งองค์กรที่อยู่ในสภาวะการแข่งขันต้องเคลื่อนให้ไว สู่การเป็นหากลด้วยจำนวนที่มีหลากหลายชนชั้น เชื่อชาติ อุปนิสัยใจคอ และวันที่แตกต่างกัน เพราะถ้าหากองค์กรใดไม่มีความไว้วางใจ ซึ่งกันและกันแล้วมักจะอยู่ไม่ได้

6. ผู้บริหารที่ไม่ยอมสุงสิงกับใคร หากคุณเป็นคนที่เก็บตัวอยู่ในโลกส่วนตัวของคุณเพียงคนเดียว คุณแบ่งแยกตัวเองออกจากสังคมและไม่ยอมรับรู้โลกภายนอก เช่น การเพิกเฉยต่อความขัดแย้งต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรแบนี้จะมีการเลียนแบบและทำตามจนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร เพราะฉะนั้นการสื่อสารจะเกิดความบกพร่องและขาดความจงรักภักดี ซึ่งต้องระวังในเรื่องนี้ให้มาก 

7. ผู้บริหารนอกคอกและแหกกฎ เป็นการประพฤติตัวไม่เหมาะสมแก่ลูกน้อง ซึ่งคุณอาจจะบอกว่ากฎระเบียบต่าง ๆ นั้นเป็นเพียงแค่แนวทาง ไม่ใช่สิ่งที่คุณยึดมั่นหรือถือมั่นว่าจะต้องทำตาม และยิ่งถ้าคุณเป็นผู้บริหารที่ชอบทำตัวให้เด่นแบบยินดีที่จะดับด้วยการแหกกฎ ประหลาดและไร้วินัย โดยนิสัยนี้จะส่งผลให้คุณไม่สามารถปกครององค์กรหรือลูกน้องได้ เพราะตัวคุณเองยังไม่อยู่ในกฎเลยแล้วค้นอื่นจะไม่เป็นอย่างคุณได้อย่างไร

 8. ผู้บริหารที่นึกสนุกในการทำตัวให้ต่างจากคนอื่น การทำตัวให้แตกต่างจากคนอื่นบางครั้งมันก็เป็นเรื่องดีแต่ก็ไม่ต้องถึงกับ ประหลาดจนคนอื่นรับไม่ได้ เพราะมันออกจะเป็นปัญหาซะมากกว่า เนื่องจากธรรมชาติของความไม่เหมือนใครมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความคิด สร้างสรรค์ แต่เอาเข้าจริงมันกลายเป็นสิ่งที่ทำลายตัวเองด้วยความที่ไม่สามารถจัดลำดับ ความสำคัญขององค์กรและทีมเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น ความแปลกประหลาดเช่นนี้หากได้นำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ย่อมดีแต่หากใช้ไม่เป็น มันก็จะเป็นบทเรียนราคาแพง เพราะอาจจะทำให้องค์กรคุณนั้นประสบกับความหายนะได้

 9. ผู้บริหารที่ต่อต้านด้วยความเงียบสงัด พฤติกรรมที่ต่อต้านอย่างเงียบ ๆ นี้ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้สงบนะครับซึ่งก็เหมือนกับการดื้อเงียบ เช่น การไม่กล้าต่อต้านความคิดเจ้านายที่คิดผิด ๆ เพราะไม่เป็นประโยชน์และจะพาลทำให้อนาคตไม่ราบรื่นนัก พฤติกรรมที่กล้าคิดแต่ไม่กล้าทำหรือการแสดงออกนี้เป็นภัยเงียบที่กัดกร่อม องค์กรจนทุกคนขยาด เพราะฉะนั้นเราควรร่วมสร้างวัฒนธรรมที่กล้าคิดกล้าทำในเรื่องที่สมควรและ เหมาะกับบริษัทจะดีกว่า

 10. ผู้บริหารจุกจิก เป็นผู้บริหารที่ดีในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้บริหารอย่างนี้ชอบการจัดการเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ ๆ แล้วก็ไม่สามารถทำได้ดีนัก ซึ่งการมองภาพใหญ่สำคัญกว่ามองภาพที่ลงในรายละเอียด ซึ่งคุณไม่มีทางประสบความสำเร็จด้วยการมองภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ คิดเล็กจะไปสู้อะไรกับคิดใหญ่ เพราะนั่นเท่ากับคุณลืมปรัชญาความเป็นผู้นำไปหมด การคิดเล็กคิดน้อย หรือใส่ใจในรายละเอียดมากเกินไป ซึ่งผู้บริหารบางคนพาลูกน้องไปเลี้ยงข้าวที่ร้านอาหาร แต่ตัวผู้บริหารนั้นชอบย้ายไปนั่งตรงนั้นที ตรงนู้นที ขยับไปเรื่อย ๆ จนทำให้คนอื่น ๆ ในร้านคิดว่าใครเป็นผู้บริหารหรือใครเป็นลูกน้องไปซะแล้ว

 11. ถ้าคุณอยากเป็นผู้ชนะใจทุกคนในองค์กร ผู้บริหารแบบนี้ไม่ใช่ว่าดีนะ เพราะการเอาในลูกน้องก็ควรเอาใจจนมากนัก ขอบเขตเพราะคุณไม่สามารถนั่นในใจคนทั้งองค์กร คนที่ชอบวิธีการบริหารของคุณก็มี ไม่ชอบก็มาก เป็นเร่องปกติธรรมดายิ่งต้องเปลี่ยนแปลงอะไร ๆ ในองค์กรดีโดยคุณสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำมาซึ่งประโยชน์ส่วนรวม แล้วคุณต้องยอมคนที่ต่อต้านกับคุณอีกด้วย เพาระฉะนั้นการที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องพุ่งเข้าไปทำให้ ฝ่ายตรงข้ามถูกใจก่อน เพราะนั่นเป็นการดักการบริหารของเหล่า CEO หลาย ๆ คนมาแล้ว       การเป็นผู้บริหารหรือ CEOs ได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และจากพฤติกรรมทั้ง 11 ข้อที่กล่าวมา พอที่จะบอกถึงแง่มุมมองจริง ๆ ซึ่งสามารถที่จะคอยเตือนสติว่าต้องไม่ล้มเหลวอีก

คุณเป็นผู้นำ...แบบไหน

ผู้นำที่ดี ต้องสามารถสร้างแรงจูงใจให้คนในทีมทำงานด้วยความเต็มใจ เต็มประสิทธิภาพ และมีความสุขในการทำงาน จึงจะเป็นการทำงานที่เกิดประสิทธิผลสูงสุด ผู้นำที่ดีจึงควรมีคุณสมบัติดังนี้

o                    ต้องมีความคิดริเริ่ม

ถ้า ต้องการให้สิ่งใด ๆ "เกิดขึ้น" ผู้นำที่ดีจะเริ่มต้น "ทำให้มันเกิดขึ้น" เมื่อทีมงานเห็นผู้นำของเขาเป็นผู้ริเริ่มแล้ว คงไม่ใช่เรื่องยากที่พวกเขาจะคิดเช่นนั้นด้วย

o                    รับฟังความคิดเห็น

ผู้นำที่ดีมักจะตั้งคำถามเพื่อให้ทีมงานได้มีโอกาสในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด เห็นกันเสมอ เช่น มีวิธีใดบ้างที่เราสามารถใช้เพื่อจุดประกายให้พนักงานของเราตื่นเต้นกับการ เพิ่มปริมาณการขายแต่ละครั้ง

o                    เป็นผู้นำจากแถวหน้า

คนในทีมของคุณต้องการกำลังใจมากกว่าการถูกกำหนดกฎเกณฑ์หรือถูกแก้ไข ดังนั้นจง "เป็น" ในสิ่งที่คุณต้องการจะเห็น หากคุณต้องการให้คนของคุณมีความคิดแง่บวกมากขึ้น...จงเป็นคนที่คิดในแง่บวก

o                    ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้กับการเป็นผู้นำที่แท้จริง

การเป็นผู้นำไม่ใช่พรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด หากแต่มาจากการเรียนรู้และฝึกฝน อ่านหนังสือเกี่ยวกับความเป็นผู้นำ รับการอบรมเรื่องความเป็นผู้นำ และพูดคุย แลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นผู้นำอยู่เสมอ

o                    จัดการกับข้อตกลง ไม่ใช่จัดการที่ตัวบุคคล

โดยพื้นฐานแล้ว เราไม่สามารถบริหารจัดการตัวบุคคลได้ แต่สิ่งผู้นำทำ คือการบริหารข้อตกลง โดยการทำข้อตกลงกับสมาชิกในทีมในลักษณะผู้ใหญ่กับผู้ใหญ่ และเมื่อได้ตกลงกันแล้วพนักงานในทีมก็ไม่จำเป็นต้องถูกบริหารอีก สิ่งที่จะได้รับการบริหารจัดการคือข้อตกลงเท่านั้น

o                    นำผู้อื่นด้วยความกระตือรือร้น

เมื่อคุณต้องการให้สมาชิกในทีมทำอะไรบางอย่าง จงแสดงความกระตือรือร้นในสิ่งที่คุณต้องการจะบอกกับพวกเขาความกระตือรือร้น สามารถส่งทอดไปยังผู้อื่นได้ หากคุณตื่นเต้นกับความคิดของคุณ คนอื่นก็จะตื่นเต้นไปด้วย

o                    เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงาน

การจูงใจที่ได้ผล คือการที่ผู้นำลงไปมีส่วนร่วมในการทำงาน ผู้นำที่ดีมักจะพูดว่า "รวมผมเข้าไปด้วย ขอผมร่วมด้วย" ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดจิตวิญญาณของการมีส่วนร่วม เมื่อทีมงานเห็นจิตวิญญาณในตัวผู้นำ พวกเขาก็มีแรงจูงใสที่จะทำเช่นนั้นด้วย

o                    เรียนรู้ว่าอะไรไม่ใช่การเป็นผู้นำ

การทำตัวเจ้ากี้เจ้าการและกดดันผู้อื่น มิใช่สิ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ หากคุณทำตัวเช่นนั้น คุณเป็นได้แค่นักปกครองที่ชอบกดขี่ แต่ไม่ใช่ผู้นำ เพราะคุณไม่เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ว่า เราทุกคนเป็นนักคิด ไม่ใช่หุ่นยนต์  

นึกถึงตอนที่คุณเป็นลูกน้อง ผู้นำแบบใดที่คุณอยากทำงานด้วย...จงเป็นผู้นำในแบบนั้น ก่อนจากกันในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

ท้อแท้ได้แต่อย่าท้อถอย อิจฉาได้แต่อย่าริษยา พักได้แต่อย่าหยุด

นิทาน ใบไม้

วันนี้ดิฉันมีเรื่อง นิทานใบไม้  มาเล่าให้ฟัง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...  ครั้งนั้นดอกไม้และใบไม้ยังไม่ได้รวมอยู่บนต้นเดียวกันอย่างเช่นทุกวันนี้   หากแยกกันอยู่  อีกทั้งเหล่าใบไม้ก็ไม่ได้มีแต่สีเขียว    หากแต่มีหลากหลายสีสันงดงามนัก    ทว่าดอกไม้กลับมีเพียงสีขาวสีเดียวเท่านั้น   เวลานั้นใบไม้รวมอยู่กับหมู่ใบไม้ด้วยกัน เต็มไปด้วยความร่าเริง  สนุกสนาน และเป็นอิสระ   ต่างจากดอกไม้ที่อยู่อย่างเงียบเหงา เดียวดาย   แม้จะอยู่รวมกัน  คุยกับหมู่ดอกไม้ด้วยกัน
แต่ดอกไม้แต่ละดอกต่างมีความคิด และวาดฝันเป็นของตัวเอง
เธอเฝ้ารอบางสิ่งบางอย่างที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร
บางครั้งที่เธอมองไปที่ใบไม้  แล้วนึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของสีสันสวยงามนั้นบ้าง  แต่ดอกไม้ดอกเล็กนั้น   มีเสียงเบาเกินกว่าที่จะเรียกใบไม้ให้หันมา    กระทั่งวันหนึ่ง...ใบไม้นึกเบื่อ
สีสัน ของตัวเองขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล   พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นดอกไม้น้อยสีขาวบริสุทธิ์ดอกหนึ่งเข้า   ใบไม้ไม่รู้จักสีขาวมาก่อน………….. เขาไม่รู้ว่าสีขาวเป็นอย่างไร   เพราะใบไม้ต่างก็มีสีสันกันทุกใบ   ใบไม้เกิดหลงใหลในความอ่อนหวานละมุนละไมของดอกไม้น้อยในทันที   และในขณะเดียวกัน  ใบไม้ก็มองเห็นความเหงาแฝงอยู่ในความอ่อนหวานนั้นด้วย   เขาจึงเข้าไปถามเธอว่า...
"ดอกไม้ เธอช่างมีสีขาวสวยเหลือเกิน  แต่ทำไมเธอจึงดูเงียบเหงาอย่างนี้เล่า"   ดอกไม้น้อยแหงนมองใบไม้กิ่งใหญ่แข็งแรงก่อนจะตอบกลับไปว่า    "สีขาวซีดอย่างนี้หรือสวย  ฉันอยากจะมีสีสันอย่างเธอบ้างจัง   มันคงจะทำให้ฉันมีชีวิตชีวาขึ้นมาก" 
ใบไม้ได้ฟังแค่นั้นก็รู้สึกราวกับว่ามันเป็นหน้าที่ของเขาที่จะต้องช่วยเหลือ   ดูแล และปกป้อง ดอกไม้น้อยดอกนี้  เขาจึงบอกเธอไปว่า .………  "มาซิดอกไม้ ฉันช่วยเธอได้นะ  ถ้าเพียงเธอมาอยู่กับฉัน  ฉันจะทำให้เธอมีชีวิตชีวาขึ้นเอง"  ดอกไม้น้อยไม่รอช้ารีบตอบตกลงในทันที  เมื่อดอกไม้ไปอยู่กับใบไม้แล้ว  เขาก็ให้การดูแลเธออย่างดีตามสัญญา   ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำเพื่อเธอ  ถ่ายทอดออกมาเป็นสีสันสวยงามให้กับดอกไม้    แล้ววันหนึ่ง
เมื่อดอกไม้น้อย มองลงไปในลำธาร   เธอก็เห็นเงาตัวเองเปลี่ยนเป็นดอกไม้สีสวยที่มีชีวิตชีวา  หากเมื่อเหลียวไปมองที่ใบไม้เล่า  เขากลับกลายเป็นสีเขียวเพียงสีเดียว ทว่าดูอบอุ่นยิ่งนัก    ดอกไม้น้อยเห็นดังนั้น จึงถามใบไม้ไปว่า "ใบไม้  นี่ฉันแย่งสีสันในชีวิตเธอมารึเปล่านะ"
ใบไม้ยิ้มแล้วตอบกลับไปว่า  "ไม่หรอก  ทุกวันนี้เธอคือสีสันในชีวิตฉัน   ฉันไม่ต้องการสีสันอะไรอีกแล้ว  ฉันมีเพียงความสบายใจที่ได้เห็นเธอมีความสุข"   จากนั้นเป็นต้นมาดอกไม้กับใบไม้ก็อยู่ร่วมกันเป็นต้นไม้ที่อบอุ่น   บนรากของความรักที่หยั่งลึกลงไปในผืนดินของหัวใจ   ด้วยเหตุนี้ ใบไม้จึงมีสีเขียว….. สีเขียวที่มองแล้วให้ความรู้สึกสบายตา  เพราะเมื่อใดที่เรามองดูสีเขียว  เราจะรับรู้ได้ถึงความสบายใจของใบไม้  ที่เห็นดอกไม้น้อยของเขามีความสุข   ส่วนดอกไม้ขาวที่แสดงถึงความบริสุทธิ์ อ่อนหวานละมุนละไมนั้น   เธอคงไม่อยากให้ความรู้สึกเหล่านี้หายไป  จึงยังคงมีดอกไม้สีขาวให้เราเห็นมาจนทุกวันนี้ด้วยเช่นกัน... นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า   เราอาจจะหาความหมายของทุกสิ่งมาตลอดชีวิต  แล้ววันหนึ่งเราก็พบว่า
เพียงแค่มีบางสิ่ง………….ชีวิตก็มีความหมายแล้ว

คุณเป็นผู้นำแบบไหน

คะ  ผู้นำหรือผู้บริหารนั้นมีหลายประเภท การได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้นำที่แตกต่างบุคลิกกัน อาจช่วยให้คุณในฐานะนักบริหารและเป็นผู้นำขององค์กรเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง และบทบาทที่ผู้อื่นหรือลูกน้องปฏิบัติตอบต่อคุณได้ โดยวันนี้ขอยกตัวอย่างของผู้นำบางประเภท ลองมาดูว่าคุณเป็นผู้นำแบบไหน และคุณอยากจะปรับตัวเองให้เป็นผู้นำลักษณะแบบไหนบ้าง

1. ผู้นำแบบบุรุษเหล็ก / สตรีเหล็ก (Strongman)
         เป็นผู้นำที่ใช้คำสั่งหรือคำแนะนำเป็นเครื่องมือทำให้เกิดอิทธิพลต่อผู้ตาม ผู้นำแบบนี้ใช้อำนาจที่มากับตำแหน่งของตน ด้วยวิธีข่มขู่ให้เกรงขาม นิยมที่จะใช้คำสั่งที่ลงไปข้างล่างให้ลูกน้องหรือคนอื่นจำต้องยินยอมปฏิบัติตามอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ พฤติกรรมที่พบเห็นบ่อยในผู้นำแบบนี้ได้แก่ การออกคำสั่ง การบอกวิธีปฏิบัติ การกำหนดเป้าหมายเอง การข่มขู่ การตำหนิ การคาดโทษ เป็นต้น ตัวอย่างที่ชัดเจนของผู้นำแบบนี้ ก็คือ ผู้นำเผด็จการทหารที่ใช้อำนาจด้วยวิธีตะเพิดข่มขู่ให้ลูกน้องเกิดความเกรงกลัว

2. ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactor)
         เป็นผู้นำที่ใช้รางวัล (rewards) เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนกับการปฏิบัติตามของผู้ตามรางวัลหรือผลประโยชน์แลกเปลี่ยน จึงเป็นอาวุธสำคัญที่ทำให้ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตามให้ยินยอมปฏิบัติตาม ดังนั้น พฤติกรรมที่เห็นบ่อยของผู้นำแบบนี้ก็คือ การให้รางวัลเป็นวัตถุเป็นเงิน รางวัลพิเศษต่าง ๆ เมื่อพบว่าลูกน้องขยัน ทุ่มเทเอาใจใส่ในการทำงาน มีผลงานดี มีความภักดีต่อหัวหน้าหรือต่อหน่วยงาน ตลอดจนการช่วยสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้าด้านหน้าที่การงานถ้าลูกน้องคนนั้น สามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่หัวหน้ากำหนดไว้ เป็นต้น

3. ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (Visionary hero)
         เป็นผู้นำที่ใช้บุคลิกภาพและความสามารถพิเศษ (charisma) ของตนเป็นเครื่องมือ เกิดอิทธิพลกระตุ้น เกิดแรงบันดาลใจแก่ผู้ตามให้อยากทำตามอย่าง ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาต่อตัวผู้นำ ผู้นำแบบนี้บางคนก็เรียกว่า ผู้นำโดยบารมี จุดเด่นส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำที่มีศิลปะในการพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังมองเห็นภาพได้ชัดเจน และเชื่อว่าภาพในอนาคตที่ผู้นำพูดถึงนั้นสามารถไปได้ถึงแน่นอนเนื่องจากผู้นำเป็นนักคิด นักพูดและนักวาดฝันถึงอนาคตที่เป็นไปได้ เราจึงเรียกผู้นำแบบนี้ว่า ผู้นำแบบนักวิสัยทัศน์ (visionary hero) ผู้นำแบบนี้มีบุคลิกกล้าคิดกล้าทำ กล้าเปลี่ยนแปลง กล้าท้าทายต่อสิ่งใหม่ ๆ แม้ว่าจะกระทบต่อตำแหน่งสถานภาพตนเองหรือคนอื่นก็ตาม ถ้าเชื่อว่าสิ่งที่ทำนั้นทำให้สังคมส่วนรวมดีขึ้น จึงเป็นผู้นำที่สามารถยกระดับคุณธรรมของลูกน้องให้สูงขึ้นจากทำงานเพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียว มาเป็นการมุ่งการได้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอีกด้วย ผู้นำแบบนี้คนมักยกย่องเหมือนวีรบุรุษ เช่น มหาตมะคานธี ผู้กอบกู้เอกราชให้อินเดีย มาร์ตินลูเธอร์ คิง ผู้นำที่ต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนผิวดำ มิให้ถูกรังเกียจและแบ่งแยกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจากสังคม เป็นต้น แต่ก็มีข้อระวัง ถ้าผู้นำแบบนี้ไร้จริยธรรม ก็จะใช้พลังประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาตนไปดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนตัวจนต้องพบความหายนะ เช่น กรณีของ อะด๊อฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมันเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น จึงเป็นผู้นำวิสัยทัศน์แบบจอมปลอม

4. ผู้นำแบบชั้นยอด (Super Leader)
         เป็นผู้นำที่มุ่งพัฒนาผู้ตาม เพื่อให้สามารถนำตนเอง จนในที่สุดผู้ตามก็แปรสภาพไปเป็นผู้นำโดยอัตโนมัติ มีบางคนเรียกผู้นำแบบนี้ว่าผู้นำแบบมอบอำนาจเบ็ดเสร็จ” (empowering leader) ผู้นำแบบนี้มีจุดเด่นที่สามารถเรียกว่า ชั้นยอดก็เพราะเป็นผู้ที่ยึดเอาจุดแข็งของผู้ตามเป็นสำคัญ เป็นผู้นำที่เข้าใจนำคนอื่นให้เขารู้จักนำตัวเอง (lead others to lead themselves) รูปแบบของผู้นำชั้นยอดก็คือ พยายามให้กำลังใจช่วยเสริมแรงของผู้ตามให้คิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ให้รู้จักรับผิดชอบของตน ให้มั่นใจในตนเอง ให้รู้จักการกำหนดเป้าหมายด้วยตนเอง ให้มองโลกเชิงบวก มองเห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย มองวิกฤตเป็นโอกาส และรู้จักการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นต้น ผู้นำแบบนี้กับผู้ตามมีความสมดุลด้านอำนาจระหว่างกันค่อนข้างดี ซึ่งแตกต่างจากผู้นำแบบอื่นที่ยึดผู้นำเป็นหลัก แต่ผู้นำแบบนี้กลับยึดที่ผู้ตามเป็นหลัก ผลที่คาดหวังจากการใช้แบบภาวะผู้นำชั้นยอด ก็คือความผูกพันของผู้ตามต่องาน / หน่วยงานจะเพิ่มมากขึ้น ผลเชิงจิตวิทยาก็คือ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ownership) เกิดขึ้น และที่สำคัญคือ ผู้ตามได้พัฒนาทักษะในการนำตนเองตลอดจนความรู้สึกเป็นผู้นำตนเองหรือการเป็นนายตัวเองได้ในที่สุด

เคล็ด(ไม่)ลับในการจัดการตนเอง

เมื่อเราต้องก้าวเดินไป ไม่ว่าจะย่างเท้าซ้าย หรือเท้าขวาไปข้างหน้าก่อนกันนั้นก็ไม่สำคัญเท่ากับการที่รู้ว่าตนเองควรจะเดินไปทิศทางไหน ดังนั้น วันนี้เราขอนำเสนอเคล็ด(ไม่)ลับให้ตนเองก่อนการเดินทางอันยิ่งใหญ่ที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น

1.ลงมือเขียน  เริ่มต้นด้วยการลงมือเขียนเป้าหมายที่อยากทำเป็นลายลักษณ์อังษร เพื่อแสดงความตั้งใจ และสร้างข้อผูกมัดให้ทำให้สำเร็จ เราเชื่อว่าไม่มีอะไรยากเกิน ถ้าเราตั้งใจลงมือทำ ไม่แน่ความสำเร็จอาจไม่ไกลเกินเอื้อมคุณก็ได้ 2.ชัดเจนในสิ่งที่ทำ
เวลาคิดเป้าหมาย ขอให้คิดเฉพาะเจาะจงเข้าไว้ สิ่งที่คิดต้องมีความเป็นไปได้ และเป็นไปในทางสร้างสรรค์ มุ่งไปให้ชัดเจนในสิ่งที่จะทำ ไม่ใช่สิ่งที่ขาดตกบกพร่อง ไร้ความสามารถ หรือเป็นสิ่งที่ไม่ชอบ 3.คิดสิ่งที่ดีๆคิดถึงผลดีเข้าไว้เพื่อจูงใจตัวเอง ใคร่ครวญถึงสิ่งที่ดี ๆ ที่จะได้รับเมื่อทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ ซึ่งจะย้ำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่สำคัญกับตัวเองมากขึ้น และสมมติความรู้สึกดูว่าจะรู้สึกอย่างไร ถ้าทำในสิ่งที่เราตั้งเป้าไว้ได้สำเร็จ 4.ตั้งเป้าหมายให้สูงเข้าไว้ อย่าตั้งเป้าหมายให้ต่ำเกินไป อย่ากลัวที่จะล้มเหลว หรือเพียงเพราะว่าไม่อยากที่จะเหนื่อยเกินไป ลองตั้งให้เกินความคาดหมายไปสักเล็กน้อย แต่อยากมากจนไม่มีหวังเลย เพราะนั้นเท่ากับว่าไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

 5. วิเคราะห์ว่ามีอุปสรรคใดบ้าง ให้พิจารณาทางเลือกและอุปสรรคมีอะไรบ้างที่จะทำให้เป้าหมายที่ไว้นั้นสำเร็จด้วยดี และวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา อะไรที่จะเข้ามาขัดขวางสร้างปัญหา คุณลองถามตัวเองด้วยเหตุผลเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจ6. ลำดับความสำคัญก่อนหลัง เมื่อเราตั้งเป้าหมายแล้ว ให้จัดลำดับความสำคัญ และไล่เรียงสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับก่อน หลัง อย่างไรก็ตาม ควรวางแผนเป็นขั้นเป็นตอนอย่างละเอียด รวมถึงคิดแผนสำรองเผื่อมีปัญหาเกิดขึ้นด้วย 7.เตรียมตัวให้พร้อม
ถามตัวเองว่ามีทักษะความรู้ ความสามารถอะไรอยู่แล้วบ้าง และมีอะไรเพื่อที่จะเสริมเข้าไปอีก มีอะไรที่ต้องเปลี่ยนแปลง วิจารณ์และประเมินตัวเองด้วยความเป็นจริง  8. กำหนดเงื่อนไขเวลา
ระบุวันที่ที่จะต้องทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้สำเร็จ ถ้าไม่กำหนด เราก็คงจะไม่รู้ว่างานจะเสร็จเมื่อไหร่  สุดท้ายความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อคุณลงมือทำ และปฏิบัติอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่งโดยเด็ดขาด
  ก่อนจากกันในวันนี้ ดิฉันขอฝากคำคมไว้ว่า

อันตรายที่สุดสำหรับชีวิตคนเรา คือ การคาดหวัง

นิทาน แมวกับสุนัขจิ้งจอก

วันนี้นี้ดิฉันมีเรื่อง แมวกับสุนัขจิ้งจอก มาเล่าให้ฟัง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วในยุคที่สัตว์ทุกตัวยังพูดได้อยู่
ครั้งนั้นแมวกับสุนัขจิ้งจอกเป็นเพื่อนกัน  อยู่มาวันหนึ่งทั้งแมวและสุนัขจิ้งจอกมีโอกาสโคจรมาพบกันเข้า  ต่างตัวก็พูดคุยกันถึงปัญหาที่มันเจออยู่ในแต่ละวัน  เจ้าแมวบ่นขึ้นว่า
"เพื่อนเอ๋ย ฉันนะแสนจะหน่ายกับการที่ต้องคอยวิ่งหนีคู่ปรับอยู่เรื่อยเลย "  
สุนัขจิ้งจอกได้ยินดังนั้นก็ต้องถาม "อ้าว ! ทำไมล่ะ"
 "แหม ถ้าไม่หนี  ฉันก็โดนมันฆ่าตายไปแล้วน่ะซิ"  
แมวตอบ ไม่รู้ว่านึกในใจว่าไม่น่าถามเลยหรือเปล่านะคะ
"โธ่เอ๋ย  เรื่องจิ๊บจ๊อยเนี่ยนะ ฉันน่ะไม่เคยต้องมากังวลเลย"   สุนัขจิ้งจอกได้ทีโม้ให้แมวฟังซะเลย
"ไอ้ฉันน่ะ มีเล่ห์เหลี่ยมมากมายที่จะหลอกหล่อมัน ก่อนที่มันจะลงมือทำร้ายฉัน"    
 ระหว่างที่พูดคุยกันอยู่ เพื่อนเกลอทั้งสองก็พากันเดินเรื่อย ๆ เข้าไปในป่าลึก สองข้างทางจะมีต้นไม้ใหญ่ที่มีนกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พวกนกต่างส่งเสียงจุ๊บจิ๊บ ๆ พูดคุยกันอย่างมีความสุข
"นี่ เจ้าแมวน้อย ฉันจะแสดงเล่ห์เหลี่ยมของฉันให้แกดูซัก 2-3 อย่างไหมล่ะ"
สุนัขจิ้งจอกพูดยังไม่ทันขาดคำ ก็มีเสือตัวหนึ่งเดินผ่านมายังบริเวณนั้น  เจ้าแมวเห็นดังนั้นก็รีบวิ่งจู๊ดขึ้นไปหลบอยู่บนต้นไม้อย่างเคย ส่วนเจ้าสุนัขจิ้งจอก มัวแต่คิดว่าจะหลอกเสืออย่างไรดี ตัวเองถึงจะเอาตัวรอดได้  มัวแต่ชักช้ากว่าจะคิดออก ก็โดนเจ้าเสือจับกินเป็นอาหารไปซะแล้ว  นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
"การคุยโม้โอ้อวด  ไม่เคยให้ผลดีกับใคร"

การนำแนวคิดแบบพอเพียงมาใช้กับการบริหารคน

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง      เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

การที่จะปรับประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เหมาะสถานการณ์ และสำคัญที่ กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยมีความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญ เมื่อนำกลับมาวิเคราะห์ใช้กับองค์กรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนา บุคลากรล้วนต่างให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกันทั้ง 2 แนว ทางต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ความสำคัญเรื่องความมั่นคงของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ และยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรเต็มที่ตามศักยภาพของตน โดยการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลสำเร็จ จะต้องอาศัยหลักการสำคัญ 3 ประการ ในการประเมินความเป็นไปได้ต่าง ๆ และการตัดสินใจ ดังนี้คือ

1. พอประมาณ คือความพอดี ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป หมายถึงการรู้จักให้โอกาสแก่บุคคลองค์กร ในสิ่งที่สมควรได้ หรือตามความสามารถของพนักงานอย่างแท้จริง และรู้จักให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองด้วยตนเองด้วย เพื่อให้บุคลากรสามารถพึ่งตนเองได้ด้วยเช่นกัน

2. มีเหตุผล การคำนึงเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การใช้เหตุผลในการบริหารคน และการตัดสินใจต่าง ๆ อย่างรอบคอบมากกว่าใช้อารมณ์ส่วนตัว และเป็นธรรม

3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้น ในทางดีหรือร้าย แต่ก็ยังคงสามารถรักษามาตรฐานความเป็นกลางในการบริหารคนเอาไว้ได้ อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถนำหลักปรัชญาพอเพียง มาปฏิบัติกับการบริหารบุคลากรได้ คือการให้คุณค่ากับบุคลากร และทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นร่วมกันและเท่าเทียมกัน

 ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การพัฒนาคนบนฐานความเชื่อว่า การพัฒนาหมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้คนมีโอกาสในการที่จะปรับปรุงตนเอง และพัฒนาศักยภาพให้สามารถมีชีวิตที่มีคุณภาพสร้างสรรค์ มีเสรีภาพและมีศักดิ์ศรีที่สำคัญ ความพอเพียงนั้น คือความพอดี ซึ่งมีความเชื่อว่าการพัฒนาต้องมีความยั่งยืนเสมอภาค เคารพธรรมชาติและใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยความระมัดระวังไม่มากหรือน้อยจน เกินไปในทุกเรื่องและมุ่งหวังประโยชน์ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ซึ่งข้อดีของการนำแนวคิดแบบพอเพียงมาใช้กับการบริหารคน ถือเป็นการให้ความพอดีทั้งกับองค์กรและตัวของบุคลากรเอง