Being consultant...

094-962-2558

ตั้งราคา แบบนอกตำรา

ปกติแล้วการตั้งราคาขายสินค้าตามหลักทฤษฏีทั่ๆ ไปมักจะโฟกัสไปที่ 3 กลยุทธ์ คือ ตั้งราคาตามต้นทุน ตั้งราคาตามลูกค้า และตั้งราคาตามคู่แข่ง ซึ่งใน 3 กลยุทธ์นี้ก็แบ่งย่อยไปตามเทคนิคของผู้ขายแต่ละรายจนดูเหมือนเป็นการตั้งราคาที่ไม่ได้อยู่ใน 3 กลุ่มหลัก ลองมาดูกันว่ามีรูปแบบไหนบ้าง

ตั้งราคาตามรูปแบบการตลาด

1) การตั้งราคาสำหรับกรณีลดแลกแจกแถม - มีให้เห็นเยอะ และมักมีแทบทุกๆ ประเภทสินค้า อาจจะทำให้ขาดทุนได้เหมือนกัน
2) ตั้งราคาแบบให้ก่อนรับทีหลัง - มักจะเป็นสินค้าประเภทเว็บไซต์ แอพลิเคชั่น อาจจะรวมถึงการทดลองใช้บริการก่อนจะซื้อ หรือสมัครสมาชิกด้วย
3) การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น - มักจะใช้กับสินค้าและบริการประเภท ตั๋วเครื่องบิน ที่พัก เพราะอาศัยฤดูกาลและธรรมชาติในการสร้างจุดขาย
4) การจ่ายเป็นเป็นประจำ - เป็นสินค้าที่ต้องมีการสมัครสมาชิก และลูกค้าต้องการใช้ต่อเนื่องระยะยาว เช่น เครือข่ายโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต นิตยสารไม่ว่าจะแบบออนไลน์หรือออฟไลน์
5) การตั้งราคาแบบสูงๆ ไว้ก่อน - ส่วนมากใช้กับสินค้าเทคโนโลยี และสินค้าที่เป็นกระแสนิยม
6) การตั้งราคาแบบล่อตาล่อใจ - ลักษระการตั้งราคาให้ถูกกว่าคู่แข่ง แล้วนำเสนอสินค้าที่ควรจะซื้อคู่กัน
7) การตั้งราคาแบบหลอกหล่อ - ซอยสินค้าเป็นส่วนย่อยๆ ให้แยกซื้อ และเมื่อรวมแพคก็มีแจก มีแถมซึ่งรวมแล้วผู้ขายมักจะได้กำไรกว่าการที่ลูกค้าซื้อแบบแยก หรือบางทีผู้ซื้อก็ไม่อยากสั่งซื้อหลายๆ รอบ โดยยอมจ่ายทีเดียวแม้ว่าจะแพงกว่าก็ตาม

ตั้งราคาแบบจิตวิทยา

1) ตั้งราคาที่ดึงดูดใจ - มีการวิจัยพบกว่าการกำหนดราคาที่ลงท้ายด้วยเลข 9 หรือ .99 นั้นช่วยเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าได้มากขึ้น เพราะเวลาที่สมองของมนุษย์คำนวนราคาเราจะสร้างภาพจินตนาการไว้ที่เลขด้านหน้าจุด ดังนั้น ราคา $2.99 ผู้ซื้อก็จะรู้สึกว่า ราคามันคือเลข 2 แต่ถ้าเป็นราคา $3.00 คนซื้อก็จะดูเลข 3 ทำให้รู้สึกว่าต่างกันมาก
2) ตั้งราคาที่คำนวนง่าย - เหมาะสำหรับสินค้าที่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น และสินค้าที่ตามกระแส แต่ก็ต้องดูด้วยว่า ราคาเหมาะสมรึเปล่า โดยเฉพาะเมื่อมีคนที่ขายเหมือนๆ กัน
3) ตั้งราคาที่อ่านออกเสียงแล้วจำนวนพยางค์น้อยกว่า - เพราะการอ่านที่สั้นกว่า ก็ทำให้ผู้ซื้อไม่ต้องคิดเยอะ
4) แยกค่าขนส่งจากราคาหลัก - ตามหลักจิตวิทยาราคาสินค้าที่แยกกับค่าขนส่งจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าของเราถูกกว่าคู่แข่ง แม้ว่าการรวมค่าขนส่งเข้ากับราคาสินค้าไปเลย และบอกว่าฟรีค่าขนส่ง
5)เสนอการจ่ายเงินแบบเป็นงวด - สินค้ามีราคาสูงๆ ทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อยาก การจ่ายเงินแบบเป็นงวดจะได้ผลดีกว่า และทำให้ผู้ซื้อมองว่าสินค้าราคาถูกว่าราคาจริง
6) แสดงราคาสินค้าด้านมุมล่างซ้าย ของป้ายราคา - สมองคนวางตำแหน่งตัวเลขเหมือนไม้บรรทัด การวางราคาไว้ด้านล่างให้ความรู้สึกว่าราคาไม่สูง
7) ใช้ตัวหนังสือเล็กๆ เข้าไว้ - ตามหลักจิตวิทยาแล้ว ขนาดตัวหนังสือที่เล็กจะทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าราคาไม่ได้แพงมาก
8) ใช้จำนวนคนเข้ามาช่วย - สร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อกลุ่มใหม่ด้วยการแสดงจำนวนผู้ซื้อ หรือผู้ใช้ (Social Validation คือ การนำจำนวนคนที่ใช้สินค้ามาโฆษณา) หรือการเชิญชวน เช่น “มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ…” จะทำให้คนที่อ่านรู้สึกยิ่งใหญ่ขึ้นมา และโดนเชิญชวนไปโดยง่าย กับลูกค้าประเภทที่ชอบการกลมกลืนไปกับสังคม (อาจจะไม่ได้ผลกับกลุ่มที่ชอบนำเทรนด์นะ)

 


ที่มา :
7 รูปแบบการตั้งราคา ที่จะทำให้กำไรของคุณพุ่งกระฉูด แปลโดย Krissanawat Kaewsanmuang จาก Andrew Blackman วันที่ 1 ธ.ค. 2016
8 เทคนิคเด็ด ตั้งราคาสินค้าให้ยอดขายพุ่ง ด้วยหลักจิตวิทยา !! โดย VadiForte วันที่ 22 พ.ค. 2015

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *