Daily Archives: January 3, 2014

ธุรกิจห้าดาวต่างประเทศตั้งเป้าเติบโต 25-30% ต่อปี วางกลยุทธ์เชิงรุก เร่งขยายสาขา
นายซานจีฟ แพนท์ รองกรรมการผู้จัดการผู้จัดการอาวุโส บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ในรอบปีที่ผ่านมาถือว่าธุรกิจห้าดาวที่เข้าไปทำตลาดในต่างประเทศ ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม พม่า บังกลาเทศ กัมพูชา ลาว จีน และมาเลเซีย ถือว่าได้รับการตอบรับอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดียและเวียดนาม ถือว่าสามารถขยายโมเดลธุรกิจเกินเป้าที่ตั้งไว้ จากการตอบรับอย่างดีของผู้บริโภค และผู้ที่สนใจทำธุรกิจร่วมกับห้าดาว คาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าตลาดอินเดียและเวียดนามจะสามารถขยายเป็นประเทศละ 1,000 สาขา พร้อมการเติบโตเฉลี่ยปีละ 25-30%
“ต้องถือว่าจากจุดเริ่มต้นของธุรกิจห้าดาวอินเดียเมื่อปลายปีที่แล้ว ที่ตั้งเป้าไว้ 50 สาขา แต่ด้วยการตอบรับที่ดีของผู้บริโภคและผู้สนใจทำธุรกิจร่วมกับเรา ทำให้ปัจจุบันธุรกิจห้าดาวในเมืองบังกาลอร์และเชนไนสามารถขยายถึง 75 สาขา เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคิดเป็นสัดส่วนของผู้ที่มาลงทุนทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ 75% และธุรกิจที่เราดูแลเอง 25%” นายซานจีฟ
สำหรับปี 2014 ธุรกิจห้าดาวอินเดียตั้งเป้าขยายให้ครบ 250 สาขา เพราะจัดเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตอีกมาก จากจำนวนประชากรที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยวางแผนขยายถึง 1,000 สาขา ภายใน 5 ปี โดยจะเข้าไปทำตลาดในหัวเมืองใหญ่ๆ ของอินเดีย 10-12 เมือง ในส่วนของธุรกิจห้าดาวเวียดนาม ปัจจุบันที่มีอยู่ 200 สาขา ตั้งเป้าว่าในปี 2014 จะขยายถึง 350 สาขา และเพิ่มเป็น 1,000 สาขา อีก 5 ปีข้างหน้า และเกือบ 100% เป็นโมเดลธุรกิจแบบแฟรนไชส์.

ดร.การดี ม.ธรรมศาสตร์ ฉายภาพทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ที่ถูกจับตาเป็นพิเศษในฐานะ The Call Center/BPO Hub

ธุรกิจบริการ Business Process Outsourcing (BPO) เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรธุรกิจ เพราะช่วยให้บริษัทมีความคล่องตัวในการบริหาร การใช้ความเชี่ยวชาญจากภายนอกที่สามารถให้บริการที่มีคุณภาพ ช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีนัยสำคัญ

ธุรกิจ BPO ในอาเซียนถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะอัตราการเติบโตสูง มีขีดความสามารถในการให้บริการสูง และที่สำคัญ ค่าจ้างต่างๆนับว่ายังถูกมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

ในการจัดอันดับ Top 100 Outsourcing Destinations Ranking and Report Overview ในปี 2013 ปรากฏว่าในรายชื่อเมืองที่มีความโดดเด่นด้านธุรกิจ outsourcing และมีความน่าสนในการทำธุรกิจนี้ ปรากฏว่ามีเมืองจากประเทศในอาเซียนถึง 14 เมืองด้วยกัน และอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ถึง 7 เมือง

ได้แก่ Manila, Cebu City, Davao City, Santa Rosa, Laguna, lloilo City, Bacolod City, Baguio City โดยเมือง Manila อยู่ในอันดับ 3 ของโลก และ Cebu City อยู่อันดับ 8 ของโลก ส่วนกรุงเทพฯก็ติดอันดับ Top 100 นี้ด้วยและอยู่อันดับที่ 83 ของโลก

ฟิลิปปินส์โดดเด่นเรื่อง BPO เราอาจจะรู้จักฟิลิปปินส์ในฐานะประเทศส่งออกแรงงานบริการขั้นสูง เช่น พยาบาล และแม่บ้าน ซึ่งนับว่าเป็นรายได้หลักของประเทศ ขณะเดียวกันฟิลิปปินส์ก็ใช้ประโยชน์จากการเป็นแรงงานที่มีศักยภาพและมีทักษะด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี มีค่าจ้างแรงงานถูกกว่าประเทศในแถบตะวันตก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างในสหรัฐฯ ค่าจ้างชาวฟิลิปปินส์น้อยกว่าถึง 5 เท่า

ดังนั้น หลายประเทศในแถบตะวันตกจึงให้ความสนใจและนิยมจ้างงานในธุรกิจ BPO โดยเฉพาะธุรกิจประเภทให้บริการข้อมูลลูกค้าทางโทรศัพท์ หรือ คอลเซ็นเตอร์ ธุรกิจให้บริการออกแบบซอฟต์แวร์และไอที

ในปี 2011 ธุรกิจ BPO สร้างรายได้ให้กับประเทศกว่า 9 พันล้านเหรียญดอลลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.8 ของ GDP เมื่อมาดูข้อมูลส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ BPO ของฟิลิปปินส์ ก็พบว่าธุรกิจคอลเซ็นเตอร์ มีสัดส่วนสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 61 ของมูลค่าธุรกิจ BPO และมีการเติบโตของรายได้ร้อยละ 15 ต่อปี หากมองย้อนไปธุรกิจคอลเซ็นเตอร์ในฟิลิปปินส์ได้เริ่มต้นตั้งแต่ในปี 2000 ในกรุงมะนิลาหรืออาจเรียกได้ว่ากรุงมะนิลาเป็น “The Call Center/BPO Hub” ก็ว่าได้ และธุรกิจ BPO ที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมา คือ การบริการ Back-Office & Shared Service ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็นร้อยละ 18.5

คอลเซ็นเตอร์ ฟิลิปปินส์แซงหน้าอินเดีย ถ้ามองธุรกิจ BPO ในภาพรวมฟิลิปปินส์กำลังไล่หลังประเทศอินเดียมาติดๆ แต่ถ้าในธุรกิจ คอลเซ็นเตอร์ ฟิลิปปินส์ได้ก้าวนำหน้าประเทศอินเดียไปแล้วทั้งจำนวนพนักงานและมูลค่าทางเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์มีพนักงานคอลเซ็นเตอร์ประมาณ 400,000 คน ในขณะที่อินเดียมี 350,000 คน

ในปี 2012 ฟิลิปปินส์มีรายได้จากธุรกิจคอลเซ็นเตอร์คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2016 ฟิลิปปินส์ จะมีรายได้จากธุรกิจคอลเซ็นเตอร์คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.5 หมื่นล้านดอลลลาร์ และจะก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 8 แสนคน ในทางกลับกันการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ทำให้เกิดปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน ฟิลิปปินส์กำลังเร่งเต็มสูบในการสร้างแรงงานด้านเทคโนโลยีเพื่อป้อนเข้าสู่ธุรกิจนี้

รัฐบาลฟิลิปปินส์เองก็ให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการในธุรกิจ BPO อย่างจริงจัง ส่งผลให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย เช่น AT&T, JPMorgan Chase, Expedia, Citibank, HP และ Oracle หันมาใช้บริการ Business Process Outsourcing ในฟิลิปปินส์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

* รายงาน / ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์

Operations Management Department Thammasat Business School

Facebook / Twitter: karndee

www.karndee.com

– See more at: http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/552740#sthash.eqLi6NYG.dpuf

Brand, Branding

 

“แบรนด์” หรือ “ตราสินค้า” ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้เป็นอย่างมาก

กรุงเทพธุรกิจจัดหลักสูตร “Branding in Action” วันศุกร์และเสาร์ที่ 7, 8, 14, 15, 21, 22 มีนาคม 2557

 

“แบรนด์” หรือ “ตราสินค้า” ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถสร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้เป็นอย่างมาก

– จะทำอย่างไรให้แบรนด์แกร่ง

– จะทำอย่างไรให้แบรนด์เป็นที่จดจำ

– จะทำอย่างไรให้แบรนด์เติบโต

 

กรุงเทพธุรกิจแนะนำหลักสูตรด้านการสร้างและการจัดการแบรนด์สินค้าจากสุดยอดกูรูอันดับ 1

ของประเทศไทย คุณดลชัย บุณยะรัตเวช กับหัวข้อ “Branding in Action”

 

นอกจากนี้ คุณดลชัย บุณยะรัตเวช และทีมแบรนด์กูรูเดนท์สุ พลัส เปิดห้องปฏิบัติการเข้มข้น Brand Therapy เพื่อเสริม

สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง พร้อมชี้แนะแผนสร้างแบรนด์ให้ไปใช้ได้จริงอย่างประสบความสำเร็จ

 

เนื้อหา

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2557

Differentiation & Energized Differentiation

พัฒนาตัวตนของแบรนด์ที่ไม่แปรเปลี่ยนด้วยกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง พร้อมเสริมพลังให้ความแตกต่างสดใหม่อย่าง

ยั่งยืน

 

วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2557

Sustaining Relevancy

เรียนรู้กลยุทธ์การเจาะลึกความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแบบถึงแก่นอย่างแท้จริง

 

วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2557

Creativity in Branding & How to Manage Intangible

Aspects of the Brand

ศิลปะในการแสดงออกของแบรนด์ในทุกมิติการสร้างสรรค์พร้อมศาสตร์แห่งการบริหารจัดการคุณค่าของแบรนด์ให้ถ่าย

ทอดออกมาอย่างเป็นรูปธรรม

 

วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2557

Brand Interaction with Audience

กลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์ของแบรนด์ในการสร้างสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับกลุ่มเป้าหมาย และแพร่ขยายสู่การสร้างสังคมของคนรัก

แบรนด์

 

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2557

Well-Equipped Branding Strategy for AEC

ติดอาวุธขยายแบรนด์สู่เออีซี

 

วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2557

Brand Health Check

เจาะวิเคราะห์สุขภาพแบรนด์เชิงลึกเพื่อเสริมพลังแบรนด์ให้ทะยานไกลเหนือคู่แข่งในทุกสมรภูมิการแข่งขัน

 

บรรยายโดย

1. ดลชัย บุญยะรัตเวช

นักสร้างแบรนด์มือหนึ่งของเมืองไทยประธานบริษัท (Chairman)  บริษัท เดนท์สุ พลัส จำกัด

2. พงศ์ศักดิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท Dentsu Plus จำกัด

3. วรวุฒิ วรกาญจน์

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ (Chief Strategy Officer) บริษัท Dentsu Plus จำกัด

4. สุบรรณ โค้ว

ประธานเจ้าหน้าบริหารฝ่ายความคิดสร้างสรรค์ (Chief Creative Officer)บริษัท Dentsu Plus จำกัด

5. กิตติภัต ลลิตโรจน์วงศ์

นักวางแผนกลยุทธ์ทางด้านแบรนด์อาวุโส(Senior Brand Strategist)  บริษัท  Dentsu Plus จำกัด

6. วรางค์สุบรรณรัตน์

นักวางแผนกลยุทธ์อาวุโส (Senior Brand Strategist)

7. ชนินทร์ วิศาลบูชนีย์

ผู้อำนวยการทบวงการสร้างแบรนด์ Director of M.O.B. (Ministry of Branding)

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

อบรม  วันศุกร์และเสาร์ที่ 7, 8, 14, 15, 21, 22 มีนาคม 2557

สถานที่  บันยันทรี สาทรใต้

อัตรา   95,000 บาท (ยังไม่รวม VAT 7%)

เบอร์   0-2338-3705-7, 086-313-1903

ดูข้อมูลหลักสูตรได้ที่ http://www.nation-education.com/enews/Branding-Mar7/Outline.pdf

กรอกใบสมัครที่ http://goo.gl/LHq2q

www.facebook.com/Panyaturakij

1. เพื่อให้รับรสชาติซูชิให้ได้เต็มที่ที่สุด จงกินปลาตามลำดับที่ถูกต้อง

หลักการจริงๆแล้วคือ เริ่มกินจากปลาที่รสชาติอ่อนก่อน แล้วค่อยไล่ไปหาปลาที่รสชาติที่เข้มข้นมากขึ้นต่อๆไป การกินเรียงลำดับแบบนี้จะทำให้ปลาที่รสชาติเข้มข้นกว่า เช่น ปลาทูน่ามันๆ ไม่ไปกลบปลาที่รสชาติอ่อนกว่าอย่างปลาสีแดง ดังนั้นลำดับการกินที่ถูกต้องจะเป็นดังนี้

  1. เริ่มจาก ปลาสีขาว
  2. ตามด้วย ปลาสีเงิน
  3. ต่อด้วย ปลาสีแดง
  4. แล้วค่อยกินปลาที่มีรสเข้มข้นขึ้น เช่น แซลมอลและไข่ปลาแซลมอล
  5. กินปลาที่มันที่สุด เป็นอย่างสุดท้าย
  6. ไข่เป็นของหวาน
  7. การสั่งพวก rolls แบบธรรมดาๆ เช่น ทูน่า เป็นสัญญานบอกว่า คุณกำลังจบการสั่งอาหาร

2. อย่าถูตะเกียบ

ถ้าคุณอยู่ที่ร้านอาหารญี่ปุ่นการถูตะเกียบหลังจากดึงแยกคู่ออกมาถือเป็นการกระทำที่หยาบคายมากๆ ถึงแม้คุณตั้งใจจะถูเพื่อเอาเสี้ยนไม้ออก แต่มันเป็นการบอกเชฟเป็นนัยๆว่า “อุปกรณ์กินอาหารของคุณนั้นเป็นของไม่ดีราคาถูกๆ”

3. วิธีการจิ้มซูชิกับซอสถั่วเหลืองอย่างถูกต้อง

อย่าจุ่มซูชิลงในถ้วยซอสจนเปียกโชก ให้จิ้มแค่นิดเดียวพอ ไม่งั้นคุณจะไม่ได้ลิ้มรสชาติที่แท้จริงของปลาเลย เทคนิคการจิ้มซูชิที่ถูก คือ

  1. คีบซูชิด้วยตะเกียบ
  2. พลิกกลับด้าน
  3. จิ้มซอสถั่วเหลืองด้านเนื้อปลา อย่าใช้ด้านที่เป็นข้าวจิ้ม

ใช้ตะเกียบไม่เป็น? ไม่มีปัญหา! คุณสามารถใช้มือหยิบซูชิกินได้ซึ่งนั่นเป็นวิธีการกินซูชิแบบดั้งเดิมในญี่ปุ่น!

4. ขิงดองมีไว้เพื่ออะไร?

ขิงดองมีไว้ให้กิน “ล้างปาก” เพื่อปรับความรู้สึกในการรับรส กินขิงดองก่อนจะกินซูชิแบบถัดไป

5. เผ็ดร้อนวาซาบิ

ถ้าคุณกินวาซาบิแล้วรู้สึกว่าเผ็ดเกินไปให้หยุดหายใจทางปาก แล้วสลับไปหายใจผ่านทางจมูกทันที ทำแบบนี้แล้วอาการเผ็ดจะหายไปอย่างรวดเร็ว

6. การกินซุป

คุณสามารถื่มมิโสะจากถ้วยได้ทันทีโดยซดจากถ้วยเลย แต่ไม่ควรกินมิโสะเป็นของกินเล่น ให้กินหลังจากกินอาหารจานหลักเสร็จแล้ว

7. ทูน่า กับ โอโทโร่มันๆ เป็นปลาชนิดเดียวกันหรือไม่?

ใช่แล้ว! ทั้งคู่มาจากปลาชนิดเดียวกัน แต่เป็นเนื้อคนละส่วน ดังนี้

  • se-kami เนื้อสีแดงมีมัน
  • se-naka เนื้อสีแดงที่ดีที่สุด
  • se-shimo สีแดง+ไขมันเล็กน้อย
  • hara-shimo ไขมัน+สีแดงเล็กน้อย
  • hara-naka-chu-toro ทูน่ามันๆ
  • hara-kami-oh-toro ทูน่าส่วนที่มันสุดๆ

8. ซูชิดีสำหรับคุณ

ยกเว้นการกินโรลทอดเยอะๆพร้อมกับจิ้มมายองเนส นั่นไม่ดีนะ! ซูชิเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เมื่อคุณมองหาอะไรที่เรียบง่ายที่ประกอบด้วยอาหารทะเลและข้าว จริงๆแล้วไม่มีอะไรที่ี่เป็นการกินซูชิที่ผิด ถ้าคุณกินแล้วอร่อยนั่นก็น่าจะหมายความว่าคุณกินถูกวิธีแล้วหละ 🙂

ที่มา – 8 things worth knowing about eating sushi by ilovecoffee.jp

กรุงเทพฯ 3 ม.ค. – ททท.นัดประชุมผู้ประกอบการท่องเที่ยวสัปดาห์หน้า เตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์ สืบเนื่องจากการนัดชัตดาวน์กรุงเทพฯ 13 ม.ค.นี้

นายศุกรีย์ สิทธิวนิช รองผู้ว่าการฝ่ายสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวถึงกรณี กปปส.ประกาศชัตดาวน์กรุงเทพฯ ในวันที่ 13 มกราคมนี้ ว่า ในส่วนของ ททท.มีหน้าที่เตรียมพร้อมทุกสถานการณ์ โดยในสัปดาห์หน้าจะนัดประชุมหารือกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรมไทย ฯลฯ โดยมีนายธวัชชัย อรัญญิก ผู้ว่าการ ททท. เป็นประธาน เพื่อพิจารณาว่าควรต้องปรับแผนหรือทำอะไรอย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อภาพลักษณ์ของประเทศ รวมถึงการให้ข้อมูลข่าวสารแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทยแล้ว หรือที่กำลังจะเข้ามา ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานราชการต่างๆ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลที่ชัดเจน สำหรับประเทศต่างๆ ที่ประกาศเตือนนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาประเทศไทยนั้น จนถึงขณะนี้ยังอยู่ที่ 40 ประเทศ. – สำนักข่าวไทย

 

 

บริษัท เวก้า อินเตอร์เทรด แอนด์ เอ็กซิบิชั่น จำกัด (ดูไบ) สร้างชื่อโดดเด่นในงานมหกรรมแสดงสินค้าและวัฒน ธรรมนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาหรับ “โกลบอลวิลเลจ ดูไบ” (Global Village Dubai 2013-2014) จัด ณ ดูไบแลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ โดยจัดโซน “หมู่บ้านไทย 2556-2557” นำผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการไทยกว่า 240 ราย มาออกร้าน กล่าวคือ รวมอาณาจักรมหัศจรรย์เมืองไทยทุกมิติ ทั้งศูนย์นวดแพทย์ไทยมาตรฐานโลก ศูนย์แพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย ของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเวชภัณฑ์ไทย โชว์ผลงานหัตถกรรมจากเมืองไทยกว่า 70,000 ชนิด นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านไทยยังมีศูนย์รวมอาหารไทยเลิศรสนานาชนิดครั้งแรกในดูไบ

กลยุทธ์ในการเข้าสู่ตลาดอินโดนีเซีย

  • ในการเข้าสู่ตลาดอินโดนีเซีย บริษัทไทยจะต้องเริ่มจากการศึกษาตลาด เพื่อให้ทราบถึงลักษณะของตลาด และศักยภาพของตลาดสำหรับสินค้าที่ต้องการนำเข้ามาในตลาดอินโดนีเซีย
  • สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่จะต้องนำเข้ามาโดยผ่านผู้นำเข้าหรือผู้กระจายสินค้า(Distributors) ก่อนที่จะไปถึงผู้ค้าปลีก (Retailers) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหารายชื่อผู้นำเข้า/ผู้กระจายสินค้าในอินโดนีเซียก่อน ซึ่งผู้กระจายสินค้าดังกล่าวจะต้องสามารถเข้าถึงผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ๆ ในอินโดนีเซียได้ อันได้แก่ Carrefour Hero Hypermart และ Alfamart เป็นต้น
  • สำหรับสินค้าประเภทวัตถุดิบพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมจะสามารถจำหน่ายแก่อุตสาหกรรมผู้ใช้โดยตรงหรือโดยผ่านตัวแทนท้องถิ่นก็ได้ ดังนั้นบริษัทไทยจึงควรตั้งสำนักงานผู้แทน (Representative office) ในอินโดนีเซียเพื่อดูแลตลาด และการบริการหลังการขายก็มีความสำคัญสำหรับลูกค้า
  • การจำหน่ายสินค้าให้แก่รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจในอินโดนีเซีย บริษัทไทยควรมีสำนักงานตัวแทนที่จะประสานกับทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งส่วนใหญ่การซื้อสินค้าของรัฐบาล (Government procurement) จะดำเนินการโดยผ่านการประมูล ซึ่งผู้ยื่นประมูลจะต้องเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของอินโดนีเซีย โดยต้องเป็นบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทต่างชาติที่ร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นเท่านั้น
  • การจำหน่ายสินค้าให้แก่รัฐบาลนั้น โดยส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยบริษัทที่มีประสบการณ์ยาวนานกับทางรัฐบาล (Long experienced partners) ดังนั้นการร่วมประสานธุรกิจกับบริษัทท้องถิ่นที่สามารถเข้าถึงและมีประสบการณ์ยาวนานกับทางภาครัฐจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการจำหน่ายสินค้าให้รัฐบาล

ไบโอดีเซล

1. อินโดนีเซียผลิตไบโอดีเซลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จาก 781 ล้านลิตรในปี 2553 เป็น 1.52 พันล้านลิตรในปี 2554 โดยใช้บริโภคภายในร้อยละ 10 และส่งออกร้อยละ 90 โดยในปี 2553 ส่งออกไบโอดีเซล ประมาณ 563 ล้านลิตร และในปี 2554 ส่งออกประมาณ 1.22
พันล้านลิตร ตลาดยุโรปเป็นตลาดส่งออกไบโอดีเซลสำคัญของอินโดนีเซีย

2. กรมอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน (EBTKE) ของอินโดนีเซียพยายามส่งเสริมให้ใช้ไบโอดีเซลภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น

  1. สั่งการให้สถานีบริการของ Pertamina และบริษัทน้ำมันต่างชาติ เช่น SHELL, TOTAL และ PETRONAS
    จำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซลที่ไม่ได้อุดหนุน ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2555
  2. กำหนดให้บริษัทในธุรกิจเหมืองแร่ ใช้น้ำมันไบโอดีเซล อย่างน้อย ร้อยละ 2 ของพลังงานที่ใช้ เริ่มตั้งแต่ เดือน ก.ค. 2555
  3. บริษัทน้ำมัน Pertamin เพิ่มสัดส่วนการผสมน้ำมันไบโอดีเซลที่ไม่อุดหนุนจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 7.5 เริ่มตั้งแต่เดือน ก.พ. 2555
  4. พลังงานและสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบร่วมกันที่จะอุดหนุนน้ำมันไบโอดีเซลที่ 3,000 รูเปียห์ต่อลิตร
    และอุดหนุนเอทานอลที่ 3,500 รูเปียห์ต่อลิตรในปี 2556
  5. นำเสนอสูตรคำนวณราคา biofuel ใหม่ โดยให้อ้างถึงถึงราคาและปัจจัยในท้องถิ่นมากขึ้น

 

เอทานอล

3. อินโดนีเซียผลิต บริโภค และนำเข้าเอทานอล เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเคมี (chemical industries) เป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง เช่น ประเทศไทย แนวโน้มการผลิต การบริโภค และการส่งออกในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2549 สามารถผลิตได้ 163 ล้านลิตร (คิดเป็นร้อยละ 78 ของกำลังการผลิตเต็มศักยภาพที่ระดับ 209 ลิตร) และบริโภคภายในจำนวน
114 ล้านลิตร ส่งออกจำนวน 33 ล้านลิตร ไม่มีการนำเข้า ในปี 2555 สามารถผลิตได้ 220 ล้านลิตร (คิดเป็นร้อยละ 90 ของกำลังการผลิตเต็มศักยภาพที่ระดับ 245 ล้านลิตร) และบริโภคจำนวน 135 ล้านลิตร ส่งออก 85 ล้านลิตร และนำเข้า 0.8 ล้านลิตร ปัจจุบัน อินโดนีเซียมี บริษัทผลิตเอทานอล เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเคมีจำนวน 13 แห่ง โดยผู้ผลิตรายใหญ่ 4 ลำดับแรก ได้แก่ บ. Molindo, Medco, Indo Acidatama และ Sugar Group สามารถผลิตรวมกันได้ร้อยละ 75 ของกำลังการผลิตทั้งหมด อย่างไรก็ดี การนำเข้าเอทานอลในอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ กล่าวคือ หลังจากการนำเข้าเป็นครั้งแรกในปี 2550 เป็นจำนวน 2.6 ล้านลิตร ต่อมาการนำเข้าก็ลดลงทุกปี เนื่องจากกำลังการผลิตภายใน สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตอินโดนีเซียคาดการณ์ว่าในปี 2556 อาจต้องนำเข้าเอทานอลประมาณ 1 ล้านลิตร เพราะอุตสาหกรรมเคมีขยายตัวอย่างต่อเนื่องในขณะที่กำลังการผลิตจากหลายแห่งเริ่มคงที่ และบราซิลเป็นแหล่งนำเข้าเอทานอลที่สำคัญของอินโดนีเซีย

4. อินโดนีเซียหยุดการผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่งตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ซึ่งการใช้เอทานอลเป็นส่วนผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อการขนส่งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ Pertamina เป็นผู้จัดจำหน่าย (distributor) หลักแต่โรงงานที่ผลิตเอทานอล เพื่อผสมน้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่ง ซึ่งมีประมาณ 4 โรงงานในปี 2551 ต้องหยุดการผลิตเพราะรัฐบาลอุดหนุนน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) จึงทำให้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ไม่มี margin และไม่สามารถแข่งขันกับน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ ในท้องตลาดได้ อย่างไรก็ดี แนวโน้มการผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงอาจปรับตัวดีขึ้นบ้าง เพราะกระทรวงพลังงานและทรัพยากร แร่ธาตุ และสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบร่วมกันที่จะเงินอุดหนุนเชื้อเพลิงจากเอทานอล 3,500 รูเปียห์/ลิตร ตั้งแต่ปี 2556 (ตามข้อ 2) และหากกระทรวงการคลังอนุมัติการปรับสูตรการคิดคำนวณราคา biofuel ก็น่าจะกระตุ้นให้เกิดการผลิตเอทานอลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมขนส่งเพิ่มขึ้นเป็นถึง 20-30 ล้านลิตร/ปี

5. อินโดนีเซียกำลังเพิ่มกำลังการผลิตเอทานอล โดยในปี 2553 มีการสร้างโรงกลั่นเพิ่มเติมหลายแห่ง อาทิ บริษัท PT. Perkebunan Nusantara X ซึ่งเป็นกิจการรัฐวิสาหกิจสร้างโรงกลั่น 1 แห่ง กำลังการผลิตประมาณ 36 ล้านลิตร/ปี และบริษัท Molindo (เอกชน) สร้าง โรงกลั่นผลิตได้ประมาณ 55 ล้านลิตร/ปี โดยทั้งสองบริษัทนี้จะใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบในการผลิต และจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2556 เป็นต้นไป บริษัท Celenese ซึ่งเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกาจะสร้างโรงกลั่น 4 แห่งให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 โดยใช้วัตถุดิบจากถ่านหินความร้อนต่ำซึ่งอินโดนีเซียมีทรัพยากรประเภทนี้มาก และราคาไม่ค่อยผันผวนเหมือนกากน้ำตาล หากเสร็จจะสามารถกลั่นเอทานอลได้ประมาณ 1.3 พันล้านตัน/ปี/โรง ทั้งนี้ ผลผลิตโดยรวมในประเทศน่าจะเริ่มเพิ่มขึ้นจากระดับการผลิตปัจจุบันตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป แต่ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเคมี ไม่ใช่อุตสาหกรรมขนส่ง บริษัท Medco ซึ่งเป็นเอกชนอินโดนีเซียประกอบกิจการพลังงาน เริ่มประกาศหาผู้ร่วมทุนสร้างโรงกลั่นเอทานอลมาตั้งแต่กลางปี 2555 แต่จนกระทั่งปัจจุบันบริษัทยังไม่สามารถหาผู้ร่วมทุนได้ ทั้งนี้ ประเทศไทยประสงค์จะส่งออกเอทานอลส่วนเกินมาจำหน่ายที่อินโดนีเซีย ก็จะต้องผ่าน บ. Pertamina ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักเพียงผู้เดียว

6. อินโดนีเซียใช้ดัชนีราคาเอทานอลของไทย คือ Argus Index (Thailand) (ประกาศโดย Argus ซึ่งเป็น Media ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับราคาประเมินในธุรกิจพลังงาน) เป็น benchmark ซึ่งนำมาใช้ในสูตรการคิดคำนวณราคาเอทานอลในประเทศโดยมีกระทรวงพลังงานและทรัพยากรแร่ธาตุอินโดนีเซียเป็นผู้กำหนด ปัจจุบัน สูตรการคิดคำนวณคือ Bioethanol = Argus Index (Thailand) x 780 kg/m3 x 1.05 แต่ขณะนี้ อยู่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาแก้ไขสูตรการคิดคำนวณ โดยมีแนวโน้มจะเปลี่ยนการใช้ดัชนีราคาเดิมเพื่อให้สอดรับกับต้นทุนที่แท้จริงในการผลิตเอทานอลในอินโดนีเซียซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากราคากากน้ำตาลที่ผันผวน และอาจคิดคำนวณสูตรที่อ้างอิงจากดัชนีท้องถิ่นไม่ใช่ดัชนีของไทย (Argus Index)

 

แหล่งข้อมูล:  สอท. ณ กรุงจาการ์ตา (มีนาคม 2556)

“ปีม้า จะเป็นปีแห่งการเดินทางของบอลลูนอาร์ท เราจะออกเดินทาง จะไม่อยู่แค่ที่ที่เราอยู่ แต่จะไปในทุกๆ ที่ ไปด้วยม้าของเราเอง ที่ไหนยังไม่รู้จักเรา เราจะไปอยู่ตรงนั้น และโตแบบก้าวกระโดดได้เหมือนม้า”

คำประกาศจาก “ภูมิใจ โลหะพรหม” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บอลลูนอาร์ท จำกัด ธุรกิจจัดจำหน่ายและตกแต่งสถานที่ด้วยลูกโป่ง เจ้าแรกในไทย ที่เปิดให้บริการมานานถึง 21 ปี (ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2535)

ม้าของพวกเขาเริ่มออกเดินทาง หลังได้ไอเดียธุรกิจจากการไปต่างประเทศ แล้วเห็นว่ามีการนำลูกโป่งมาใช้จัดกิจกรรม ตกแต่งตามงานอีเว้นท์อยู่เยอะมาก ซึ่งเวลานั้นบ้านเรายังนิยมตกแต่งสถานที่ด้วยดอกไม้และป้ายโฆษณา ขณะที่ลูกโป่งยังถูกมองว่าเป็นแค่ “ของเล่น”

“ไอเดียใหม่” ไฉไลกว่า เลยน่าจะทำตลาดเมืองไทยได้

จึงได้เริ่มต้นธุรกิจเล็กๆ ขึ้น โดยไม่มีหน้าร้าน มีแต่ทีมงานอยู่ 3-4 คน ที่มีทักษะด้านการใช้ลูกโป่งในการตกแต่งโดยเฉพาะ แล้วเริ่มจับตลาดอีเว้นท์เป็นหลัก

แต่จะทำให้ของใหม่ เปิดตลาดเมืองไทยได้ ก็ต้องเริ่มจากทำความเข้าใจกับลูกค้า ทำอย่างไรที่คนจัดงานจะเห็นความสำคัญของลูกโป่ง ว่าสามารถ “สร้างความแตกต่าง” และดึงดูดความสนใจของผู้คนได้ แล้วจะทำอย่างไรคนถึงจะยอมจ่ายเงิน ให้กับของที่เขาคิดว่า “ราคาไม่กี่บาท” ด้วยเงินหลักร้อย หลักพัน หรือกระทั่งหลักหมื่น หลักแสนได้

“เราไม่ได้ขายแค่ลูกโป่ง แต่ขายไอเดีย ที่เข้ากับคอนเซ็ปต์ของลูกค้า”

นั่นคือจุดขายของงานบริการที่มากไปกว่าแค่ “ลูกโป่ง” แต่เป็นการพัฒนา “ความคิดสร้างสรรค์” ใส่ลงไปในการทำงานทุกครั้ง เพื่อรับกับโจทย์ความต้องการของลูกค้า

ลูกโป่งตกแต่ง (Balloon decorate) ของบอลลูนอาร์ท จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมใหญ่ๆ ที่หลายครั้งก็กลายเป็น “จุดขาย” สำคัญของงานด้วยซ้ำ แม้แต่งานกาลาดินเนอร์สุดหรู พวกเขาก็เนรมิตบรรยากาศคูลๆ ให้ได้

และเพื่อทำให้ลูกค้ารู้จักมากขึ้น และรู้ว่าลูกโป่งยังมีอะไรอีกเยอะมาก เลยเปิดหน้าร้านของตัวเอง ชื่อ “บอลลูนอาร์ททูโก” (Balloonart2go) ขึ้นในปี 2540 เป็นร้านจำหน่ายลูกโป่งที่ปลุกกระแสให้ลูกโป่งเป็นของขวัญ เหมือนร้านดอกไม้

“ตอนนั้นเราเป็นร้านลูกโป่งร้านแรก ก็เป็นอะไรที่แปลกแหวกแนว เลยมีรายการมาถ่ายทำ เพื่อโปรโมทการให้ลูกโป่งเป็นของขวัญวันวาเลนไทน์ จุดกระแสการให้ลูกโป่งเป็นช่อของขวัญให้เกิดขึ้น”

ทำไมลูกโป่งถึง “ได้ใจ” กว่าดอกไม้ ภูมิใจ บอกว่า เพราะจุดขายคือ “คุณค่า” ที่ผู้รับได้รับ โดยลูกโป่งมีข้อความสื่อความหมายได้ มีดีไซน์น่ารักน่าชัง เดินไปไหนคนเห็นก็สะดุดตา ที่สำคัญ ด้วยคอนเซ็ปต์ขายไอเดีย และดีไซน์ วันนี้ลูกโป่งของพวกเธอ เลยมีทั้ง ลูกโป่งอัดเสียงได้ ร้องเพลงได้ เต้นระบำได้ แถมเรียงเป็นตัวอักษรประกาศความพิเศษสุดๆ กับผู้รับได้อีกด้วย

บอลลูนอาร์ททูโก มีลูกโป่งหลากหลายรูปแบบ โดยผลิตจากโรงงานในประเทศ 70% และนำเข้าอีก 30%

เพราะเป็นม้า ธุรกิจเลยหยุดวิ่งไม่ได้ ที่มาของการพัฒนาสู่ตลาดเป่าลม “บอลลูนเซิร์ฟ” (balloon Serv) สื่อโฆษณาเป่าลม จำพวกท่อผ้าเป่าลม บอลลูนลอยฟ้า บอลลูนโฆษณา เรียกว่าทำทุกอย่างที่เห็นโอกาส เพื่อเพิ่มกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น

“อย่างอสังหาริมทรัพย์ใหม่อยากเชิญชวนให้ทุกคนมา แต่ไม่มีใครรู้หรอกว่าโครงการของคุณอยู่ไหน การมีบอลลูนลอยฟ้า ที่โครงการ ก็จะทำให้ทุกคนทราบพิกัดของโครงการได้ เราก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากตรงนี้ โดยทุกวันนี้อะไรก็ตามที่มีลม เราทำหมด”

เวลาเดียวกับการขายความคิดสร้างสรรค์ คือ พัฒนาบริการที่ดี ใช้ของมีคุณภาพ และรับผิดชอบต่อลูกค้า เช่นการใช้แก๊สฮีเลียมซึ่งเป็นแก๊สที่ไม่ติดไฟในการเป่าลม แม้จะมีราคาสูง แต่ก็เลือกใช้เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า

ธุรกิจบนความรับผิดชอบจึงค่อยๆ เติบโตขึ้น จากรายได้หลักแสนก็ขยับสู่หลักล้าน ด้วยโอกาสธุรกิจ ที่คนทำบอกว่า
“ตลาดยังกว้างมาก และยังมีอีกเยอะมากที่เขาไม่รู้จักเรา เป็นเหมือนทรัพย์สมบัติที่รอเราให้เข้าไปหา”

ที่มาของการทำตลาด เพื่อเจาะให้ถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น ตั้งแต่นำเสนอผลงานไปยังบริษัทออแกไนซ์ต่างๆ เพื่อให้มีไอเดียไปเสนอต่อลูกค้า สำหรับบอลลูนของขวัญ ก็ใช้วิธีลงโฆษณาตามสื่อต่างๆ จนมาปี 2543 เมื่อคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทกับชีวิตผู้คนมากขึ้น เลยเริ่มทำเว็บไซต์ขึ้น (www.balloonart2go.com )ในปีที่ผ่านมาก็ได้ลองใช้ Google AdWords การโฆษณาผ่าน Google สร้างโอกาสธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

“การใช้โฆษณากับ Google ทำให้ได้ลูกค้าที่เขาต้องการเรา เขาจะเข้าหาเราเอง วิธีนี้สามารถวัดผลได้ และเห็นฟีดแบคกลับมาชัดเจนด้วย ที่สำคัญคือ ทำให้รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเราคือใครกันแน่” คนทำสำเร็จบอกเราว่า การจะทำเรื่องนี้ได้ขอให้ลงมาศึกษาด้วยตัวเอง และลงไปในรายละเอียด โดยไม่แนะนำระบบ “จ้างทำ” เพราะนั่นจะไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้

ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน เวลาเจอสถานการณ์ไม่อำนวย อย่าง น้ำท่วม การชุมนุมทางการเมือง คนไม่อยากเที่ยว ไม่อยากไปงาน คงจะกระทบกับธุรกิจเอามากๆ แต่ใครจะเชื่อว่าท่ามกลางอุปสรรคเหล่านี้ พวกเขายังทำรายได้ในปี 2555 ถึง 30 ล้านบาท โตจากปีก่อนหน้าแบบ “เท่าตัว”

และปี 2556 ที่หลายคนยัง “วิกฤติ” แต่บอลลูนอาร์ทก็ยังลอยลมทำรายได้แตะ 50 ล้านบาทได้ กับเป้าหมายปีม้านี้ ที่จะโตแบบ “ก้าวกระโดด” ขยายสาขาจาก 5 สาขา เป็น 10 สาขา และขยายครบทุกจังหวัดใน 5 ปี ให้ได้!

“เราไม่ใช่ไม่เคยเจอวิกฤติ แต่วิกฤติทำให้เราเห็นโอกาส จากที่เคยอยู่แค่กรุงเทพ ก็เริ่มขยายสาขาไปต่างจังหวัด เริ่มไปรับงานในต่างจังหวัดมากขึ้น ซึ่งโอกาสจากตรงนี้ ทำให้เราได้ผลลัพธ์กลับมาเป็นเท่าตัว และไม่สั่นคลอนไปกับวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเราไม่ได้โชคดีนะ..แต่เราแค่สร้างมัน”

ความโชคดีที่ไม่ได้มาจากฟ้าประทาน แต่อาศัยการ “ลงมือทำ” ล้วนๆ ทั้งการสร้างทีมงาน สร้างผู้นำ พัฒนาคน ให้มีความคิดสร้างสรรค์และสนุกกับงาน ส่งไปแข่งขันในต่างประเทศเพื่อสร้างความภาคภูมิใจและได้คนเก่งกลับสู่บริษัท และทรัพยากรนับ 60 ชีวิต ที่แข็งแกร่งเหล่านี้ก็คือ ผู้นำความยิ่งใหญ่และยั่งยืนมาสู่ธุรกิจของพวกเขาในอนาคต

“สำหรับปีหน้าในฐานะผู้ประกอบการคนหนึ่ง ไม่มีอะไรต้องกังวล อยู่ที่ธุรกิจของคุณ คุณแค่ทำของคุณให้ดีขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เรามีตอนนี้ยังไม่ดีตรงไหน ก็ไปอุดตรงนั้น ส่วนที่ทำดีอยู่แล้ว ก็ทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นๆ ไป ที่สำคัญต้องสร้างคน ทำให้เขามีโอกาส แล้วก็เติบโต เพราะเราคงทำคนเดียวไม่ได้ แต่ต้องวิ่งไปพร้อมๆ กัน”

หนึ่งมุมคิดของคนทำธุรกิจ ที่ยังเชื่อมั่นว่า “ปีม้า” จะเป็นปีแห่งการเดินทาง เพราะม้าที่ดีย่อมไม่กินหญ้าที่เดิม แต่ต้องไปแสวงหาโอกาสใหม่ที่ไกลขึ้น พร้อมโตแบบก้าวกระโดดด้วย “แรงม้า” จากพลังทีมงานของพวกเขา

…………………..
Key to success
ก้าวกระโดดแบบบอลลูนอาร์ท
๐ พัฒนาธุรกิจไม่หยุดนิ่ง ทำทุกสิ่งที่เป่าลมได้
๐ ขายไอเดีย ดีไซน์ รับคอนเซ็ปต์ของลูกค้า
๐ อดทน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ธุรกิจจึงเป็นที่ยอมรับ
๐ ไม่ก้มหน้ารับวิกฤติ แต่พร้อมพลิกเป็นโอกาส
๐ สร้างคน สร้างทีม ไม่มีผู้นำ แต่ต้องวิ่งไปพร้อมกัน
๐ ออกเดินทางไกลเหมือนม้า ไปให้ไกลกว่าจุดเดิม

 

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สื่อมวลชนจีนได้สรุปข่าวเด่นทางด้านเศรษฐกิจของจีนในปี 2556 ซึ่ง BIC เห็นว่าสามารถพาผู้อ่านมาทบทวนและทำความเข้าใจกับสภาพเศรษฐกิจของจีนในปี 2556 โดยขอนำเสนอ (ตามลำดับเวลาของข่าว) ดังนี้

1. ครม.จีนออกมาตรการคุมเข้มตลาดอสังหาริมทรัพย์

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 56 คณะรัฐมนตรีจีนได้ประกาศมาตรการ 5 ประการ เพื่อควบคุมตลาดอสังหาริมทรัพย์จีนที่มีแนวโน้มเกิดฟองสบู่มากขึ้น โดยเรียกว่า กฎแห่งรัฐ 5 ประการ (国5条) หลังจากนั้น เมืองใหญ่ต่าง ๆ อาทิ กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ และเมืองเซินเจิ้น ก็ทยอยออกมาตรการอย่างเข้มงวด เพื่อพยายามเพิ่มจำนวนที่ดินในการก่อสร้างบ้านสำหรับตลาดมวลชน (mass market) นอกจากนั้น ยังเพิ่มเงินดาวน์สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 จากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 70 อีกทั้งนครเซี่ยงไฮ้ยังเพิ่มกฎระเบียบ ที่ทำให้คนต่างถิ่นเข้ามาซื้อบ้านหลังใหม่ในเมืองได้ยากขึ้นอีกด้วย นับว่าเป็นเรื่องที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแบบผสมผสานระหว่างชีวิตความเป็นอยู่กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวพุ่งเป้าไปที่การยับยั้งการเก็งกำไรจากการซื้อขายบ้าน

2. จีนยุบ “กระทรวงการรถไฟ” จัดตั้งเป็นบริษัทแทน

เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 56 จีนได้ประกาศยุบกระทรวงการรถไฟ และจัดตั้งกรมการรถไฟแห่งประเทศจีนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคมนาคมจีน และจัดตั้งบริษัทการรถไฟแห่งประเทศจีนเพื่อดำเนินกิจการในรูปแบบธุรกิจ รองรับหน้าที่เดิมของกระทรวงการรถไฟ การยุบกระทรวงการรถไฟครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในมาตรการการลดจำนวนหน่วยงานระดับกระทรวง และเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาล

3. ครม.จีนเร่งลดขั้นตอนการตรวจสอบและการอนุมัติการบริหาร

เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 56 คณะรัฐมนตรีจีนได้ประกาศยกเลิกขั้นตอนการตรวจสอบและการอนุมัติการบริหาร 117 รายการ หลังจากนั้น ยังวางแผนส่งเสริมการปฏิรูประบบการลงทะเบียนของบริษัทเพื่อผ่อนปรนเงื่อนไขของการลงทะเบียนให้มีความสะดวกมากขึ้น

4. ตลาดเงินทุนจีนขาดเงินสด อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้น

ในเดือนมิถุนายน ตลาดเงินทุนจีนได้เกิดภาวะสภาพคล่องหดตัวเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตลาดหุ้นจีนดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 4 ปี

5. ธนาคารกลางจีนยกเลิกมาตรการต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 56 ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะปล่อยการควบคุมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างรอบด้าน โดยยกเลิกมาตรการต่ำ

สุดที่เป็น 0.7 เท่าของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และปล่อยให้สถาบันการเงินกำหนดเอง ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของระบบดอกเบี้ยเงินกู้ของจีนที่เริ่มปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด

6. บริษัทหลักทรัพย์Everbrightเกิดปัญหาของระบบ

เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 56 บริษัทหลักทรัพย์ Everbright ยอมรับเกิดปัญหาในระบบทำให้ดัชนีหุ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ภายใน 1 นาที ซึ่งทำให้บริษัทถูกปราบเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 523 ล้านหยวน จากหน่วยงานการควบคุมตลาดหลักทรัพย์

7. จีนจัดตั้งเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้อย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 56 ทางการจีนได้จัดพิธีเปิดตัวเขตทดลองการค้าเสรีจีน (เซี่ยงไฮ้) อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งสำคัญของจีน ที่สะท้อนถึงการเปิดกว้างสู่สากลด้วยนโยบายลดการ “คุมเข้ม” ลงตามลำดับขั้น โดยตามแผนเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ รัฐบาลจะลดการแทรกแซงตลาดและขยายขอบเขตการลงทุนให้กว้างมากขึ้น รวมทั้งสร้างสรรค์การเปิดเผยธุรกิจการเงินเป็นต้น

8. บริษัท Alibaba ลงทุนร่วมมือกับบริษัทกองทุนหลักทรัพย์ ส่งเสริมธุรกิจการเงินทางอินเตอร์เน็ต

เมื่อวันที่ 9 ต.ค. บริษัทAlibaba ประกาศลงทุน 1,180 ล้านหยวนในบริษัทกองทุนหลักทรัพย์ ทั้งสองบริษัทได้ร่วมมือกันส่งเสริมผลิตภัณฑ์กองทุน (余额宝) ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ของธุรกิจการเงินผ่านทางอินเตอร์เน็ต

9. การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 ครั้งที่ เจาะลึกการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 9 – 11 พ.ย. 56 การประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) ชุดที่ 18 ครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง โดยมีนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และในการชุมครั้งนี้ได้อนุมัติ “ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการปฏิรูปเชิงลึกที่ครอบคลุม” ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางปฏิบัติฉบับใหม่ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของจีนโดยเฉพาะการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ

10. กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีจีนออกใบอนุญาติ 4 G

เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 56 กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีจีนได้ออกใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ 4G ให้บริษัท China Mobile บริษัท China Unicom และบริษัท China Telecom ซึ่งแสดงว่า จีนได้เริ่มก้าวเข้าสู่ยุค 4G แล้ว

อย่างไรก็ดี 10 ข่าวเด่นทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2556 ได้ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลจีนชุดใหม่กำลังพาจีนก้าวสู่การปฏิรูปเพื่อให้ตลาดมีความเสรีมากขึ้นและเปิดเผยต่อสากลกว้างขวางมากขึ้น ขอให้ผู้อ่านทุกท่านติดตามข่าวสารของ BIC อย่างที่ผ่านมานะคะ/ครับ

Last Update : 26 ธันวาคม 2556
โดย : น.ส.บุษกร หลี่
แหล่งข้อมูล : www.hexun.com (和讯网) (26 ธันวาคม 2556)

ราชบัณฑิตยสถานเตรียมบรรจุคำ”เกรียน-การเมืองบนถนน-กดไลค์-ขั้นเทพ-ซุปตาร์- มังกรการเมือง-มาคุ-เว้นวรรค-สุดซอย”ลงในคลังคำ หลังสังคายนาระบบฐานข้อมูลจัดทำพจนานุกรมครั้งใหญ่ ใช้เป็นฐานข้อมูลเจอปัญหามีกรรมการกว่า 90 คณะทำให้จัดพิมพ์ล่าช้า

 

p18db4jtsvifeo61kga1p01rak5

เมื่อวันที่ 2 มกราคม นายอุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ ประธานคณะกรรมการการจัดทำฐานข้อมูลคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า ขณะนี้พบว่าคลังคำและแหล่งข้อมูลจากตำราหรือหนังสือสาขาวิชาต่างๆ ของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อจัดทำพจนานุกรม หรือสารานุกรมสาขาต่างๆ มีจำนวนน้อยมาก เนื่องจากปัจจุบันการจัดรวบรวมคำศัพท์และข้อมูลต่างๆ ในการจัดทำพจนานุกรมนั้นต้องพึ่งคณะกรรมการที่ทำงานวิชาการมีอยู่ประมาณ 90 คณะ จึงกังวลว่าในอนาคตหากขาดคณะกรรมการหรือว่าผู้เชี่ยวชาญไปบางคณะ งานของราชบัณฑิตอาจจะต้องสะดุดและไม่สามารถผลิตหนังสืออ้างอิงและมีแหล่ง ข้อมูลที่ทันสมัยได้ ที่ผ่านมาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเก็บคำที่มีอยู่ในภาษาไว้เป็นจำนวน น้อยมาก มีเพียงประมาณ 37,000 คำเท่านั้น ทั้งๆ ที่มีคำที่ใช้ในภาษาไทยจำนวนหลายแสนคำ

นายอุดมกล่าวว่า ที่สำคัญในอดีตการจัดทำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานล่าช้ามาก ตลอดระยะเวลาเกือบ 80 ปีมีการปรับปรุงครั้งใหญ่เพียง 4 ครั้ง คือ ฉบับปี 2493 ฉบับปี 2525 ฉบับปี 2542 และฉบับปี 2554 นับว่าน้อยมาก รวมถึงการจัดพิมพ์พจนานุกรมแต่ละครั้งก็ใช้เวลานาน ทุกครั้งที่มีการจัดพิมพ์ จำเป็นต้องระดมนักวรรณศิลป์ทุกคนในราชบัณฑิตยสถานให้ช่วยกันตรวจสอบความถูก ต้องและพิสูจน์อักษรคำต่างๆ ในพจนานุกรม ทำให้งานต่างๆ ต้องหยุดทันที ดังนั้นราชบัณฑิตยสถานมีมติว่าให้จัดทำโครงการจัดทำฐานข้อมูลคำในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ที่สำคัญการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลคำศัพท์และคลังคำที่จะใช้ ในการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานในอนาคต จัดเก็บคำศัพท์ที่เกิดขึ้นใหม่

“หลังจากนี้คณะกรรมการการจัดทำฐาน ข้อมูลคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานชุดนี้ต้องเร่งจัดทำหลักเกณฑ์และขอบ เขตการจัดเก็บคำศัพท์ที่จะคัดเลือกและเก็บในฐานข้อมูลที่อยู่ระหว่างการ ดำเนินการ เพื่อให้สะดวกในการนำคำศัพท์มาใช้ในการชำระพจนานุกรมและจัดทำพจนานุกรมคำ ใหม่ เป็นการพยายามรวบรวมคำศัพท์ใหม่ ศัพท์วัยรุ่น และคำสแลง ที่นำเสนอผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่อต่างๆ วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลและคำศัพท์ สำนวนที่ใช้กันแพร่หลายและติดปาก ที่สำคัญคือคำศัพท์เหล่านั้นเป็นคำศัพท์ที่ยังไม่ได้บรรจุอยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อย่างไรก็ตามคาดว่าการดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในปี 2557 นี้” นายอุดมกล่าว

นายอุดมกล่าวอีกว่า ตามแผนงานเดิม ช่วงต้นปี 2557 ราชบัณฑิตยสถานต้องจัดพิมพ์พจนานุกรมรวบรวมคำศัพท์ใหม่ ศัพท์วัยรุ่นที่ทันยุคสมัย และคำสแลงรวมถึงสำนวนที่ใช้จนติดปากกันอย่างแพร่หลาย ที่ผ่านมาพิมพ์มาแล้ว 3 เล่ม ส่วนเล่มที่ 4 ก็ได้รวบรวมแล้วบางส่วน แต่ก็มีมติเห็นตรงกันว่าให้ชะลอการจัดพิมพ์เล่มที่ 4 ไว้ก่อน เพื่อรอระบบฐานข้อมูลดังกล่าวและเกณฑ์การคัดเลือกคำที่เป็นมาตรฐาน เพราะที่ผ่านมาการคัดเลือกคำศัพท์ใหม่ยังไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน รวมถึงเรื่องความหมายของคำก็ยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน ดังนั้นจึงให้ชะลอการจัดทำพจนานุกรมคำศัพท์ใหม่

ส่วนคำศัพท์ที่จัดเก็บไว้ประมาณ 1,000 คำก็จะนำมาไว้ในฐานข้อมูลที่กำลังจัดทำ อาทิ คำว่า

เกรียน – พฤติกรรมก่อกวนและชอบละเมิดกฎระเบียบ

การเมืองบนถนน – การเล่นการเมืองนอกสภา

กดไลค์ – ไอคอน like หรือชอบ เป็นรูปชูหัวแม่มือหนึ่งข้าง

ขั้นเทพ – ดียิ่ง เก่งอย่างยิ่ง

ซุปตาร์ – นักแสดงหรือนักร้องที่มีคนชื่นชอบจำนวนมาก

มังกรการเมือง – นักการเมืองที่มีประสบการณ์การเมืองยาวนาน

มาคุ – อึมครึม วังเวง

เว้นวรรค – ลาออกจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่หรือยุติบทบาทชั่วคราว

สุดซอย – จากความหมายเดิมคือ ถึงที่สุดจนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ก็อย่างที่ทราบกันว่าช่วงปลายปี 2556 ที่ผ่านมาคำว่า สุดซอย ถูกนำมาใช้ในทางการเมือง

ดังนั้นก่อนที่จะนำคำศัพท์มาบรรจุในฐานข้อมูลก็จะมีการปรับเปลี่ยนความหมาย และคัดเลือกคำที่ทันสมัย รวมถึงคำที่กำลังนิยม ทั้งนี้หากจัดทำระบบฐานข้อมูลก็จะทำให้การชำระพจนานุกรมสามารถทำได้รวดเร็ว เพราะมีคำศัพท์ที่คัดเลือกไว้แล้ว ส่วนคำศัพท์ใหม่ก็จะมีความหลากหลายและคัดเลือกตรงตามหลักเกณฑ์มากขึ้น ที่สำคัญคำไหนที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ แต่ก็สามารถค้นหาความหมาย เพื่อนำไปอ้างอิงได้

– See more at: http://home.truelife.com/detail/3063665#sthash.ckDJmdxx.dpuf